นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน
หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น
ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม
อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Mckeown, 2008) และในหลายสาขา
เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น
จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ
เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ
ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า
หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก
เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น
และเป็นที่มาสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
นวัตกรรมเป็นหัวข้อหลักในการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และวิศวกรรม และหากพูดกันแบบภาษาชาวบ้านแล้ว
คำว่า 'นวัตกรรม' มักจะหมายถึงผลลัพธ์ของกระบวนการ
และในฐานะที่นวัตกรรมมักจะได้รับการยกย่องว่าเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจ
ปัจจัยที่นำไปสู่นวัตกรรม มักได้รับความสำคัญจากผู้ออกนโยบายว่าเป็นเรื่องวิกฤติ
ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในสาขาใดสาขาหนึ่ง
มักจะเรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกในสาขานั้น ไม่ว่าจะเป็นในนามบุคคล หรือองค์กร
ในบริบทขององค์กร
เราอาจเชื่อมโยงนวัตกรรมเข้ากับสมรรถนะ และ การเติบโต ด้วยการพัฒนาประสิทธิภาพ
ความสามารถในการผลิต คุณภาพ จุดยืนด้วยความสามารถในการแข่งขัน ส่วนแบ่งการตลาด ฯลฯ
องค์กรทุกองค์กรสามารถสร้างนวัตกรรมได้ อาทิเช่น โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย และรัฐบาลท้องถิ่น
มีผู้ให้ความหมายไว้มากมาย ในยุคแรกๆ
จะพูดถึงอะไรที่เป็นสิ่งใหม่ๆ เท่านั้น ต่อมา โรเจอร์ ได้เริ่มกล่าวถึง
การแพร่กระจายของนวัตกรรมด้วย Diffusion of Innovation อย่างไรก็ดี
คำจำกัดความที่ดูเหมือนจะครอบคลุมที่สุด คือ Invention + Commercialization
หรือ ต้องมีการนำสิ่งประดิษฐ์ที่คิดว่าใหม่
ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง ทั้งทางธุรกิจ หรือ ทางสังคม
ทั้งนี้รูปแบบของนวัตกรรม ก็สามารถแบ่งออกเป็นได้ตามรูปแบบ (Product,
Service, Process) หรือ อาจแบ่งตามระดับความใหม่ก็ได้
ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ Incremental, Modular,
Architectural และ Radical Innovation Teerapon.T (2008) กล่าวถึง Innovation หรือ นวัตกรรมว่า
อาจหมายถึง สิ่งประดิษฐ์ หรือ สิ่งใหม่ ที่ต้องสร้างให้เกิด Value Creation
คือ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้นั่น
นวัตกรรม – นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง ความหมายของนวัตกรรมและนวัตกรรมการศึกษา
นวตกรรม หรือ นวกรรม มาจากคำว่า
“นว” หมายถึง ใหม่
“กรรม” หมายถึง การกระทำ
เมื่อนำสองคำนี้มารวมกัน เป็น นวตกรรม หรือนวกรรม จึงหมายถึงการกระทำ ใหม่
ๆ ซึ่งในที่นี้มีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของคำนี้ไว้ดังนี้
โดยสรุปแล้ว นวัตกรรมหมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ
ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมให้ดีขึ้นและเมื่อนำมาใช้งานก็ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษาเราก็เรียกว่านวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรมในองค์กร
ในบริบทขององค์กร เราอาจเชื่อมโยงนวัตกรรมเข้ากับสมรรถนะ และ การเติบโต ด้วยการพัฒนาประสิทธิภาพ ความสามารถในการผลิต คุณภาพ จุดยืนด้วยความสามารถในการแข่งขัน ส่วนแบ่งการตลาด ฯลฯ องค์ทุกองค์กรสามารถสร้างนวัตกรรมได้ อาทิเช่น โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย และรัฐบาลท้องถิ่น
ในบริบทขององค์กร เราอาจเชื่อมโยงนวัตกรรมเข้ากับสมรรถนะ และ การเติบโต ด้วยการพัฒนาประสิทธิภาพ ความสามารถในการผลิต คุณภาพ จุดยืนด้วยความสามารถในการแข่งขัน ส่วนแบ่งการตลาด ฯลฯ องค์ทุกองค์กรสามารถสร้างนวัตกรรมได้ อาทิเช่น โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย และรัฐบาลท้องถิ่น
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
“นวัตกรรมการศึกษา (Educational
Innovation )” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา
และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย
ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว
และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer
Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive
Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต
[Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm)
“นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational
Innovation) หมายถึง
การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ
รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา
เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน
และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
ความสำคัญของนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ ทั้งนี้เนื่องจากในโลกยุคโลกาภิวัตต์โลกมีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ
การศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปล่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
อีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน
การเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษาที่จะนำมาใช้เพ่อแก้ไขปัญหาทางการศึกษาในบางเร่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกัน จำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น
การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย
การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ
ขึ้นมาเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
เช่น เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
กล่าวโดยสรุป นวัตกรรมการศึกษาเกิดขึ้นตามสาเหตุใหม่ ๆ
ดังต่อไปนี้
1) การเพิ่มปริมาณของผู้เรียนในระดับชั้นประถมศกษาและมัธยมศึกษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องหานวัตกรรมใหม่ ๆ
มาใช้ เพื่อให้สามารถสอนนักเรียนได้มากขึ้น
2) การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว
การเรียนการสอนจึงต้องตอบสนองการเรียนการสอนแบบใหม่ ๆ
ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วและเรียนรูบได้มากในเวลาจำกัดนักเทคโนโลยีการศึกษาจ่งต้องค้นหานวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้
3) การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น
ตามแนวปรัชญาสมัยใหม่ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
นวัตกรรมการศึกษาสามารถช่วยตอบสนองการเรียนรู้ตามอัตภาพ
ตามความสามารถของแต่ละคน เช่นการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI (Computer Assisted instruction) การเรียนแบบศูนย์การเรียน
4)
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีโทรคมนาคม
ที่ส่วนผลักดันให้
มีการใช้นวัตกรรมการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เช่น
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้คอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก
เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงคิดค้นหาวิธีการใหม่ ๆ
ในการประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเรียนรู้ ที่เรียกว่า
"Web-based Learning" ทำให้สามารถเรียนรู้ในทุกพี่ทุกเวลาสำหรับทุกคน (Sny where, Any
time for Everyone ) ถ้าหากผู้เรียนสามารถใช้อิเตอร์เน็ตได้
ขอบข่ายของนวัตกรรม
สำหรับนวัตกรรมการศึกษา อาจมีขอบข่ายในเรื่องอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
สำหรับนวัตกรรมทางการศึกษา อาจมีขอบข่ายในเรื่องอื่นๆ ดังต่อไปนี้
1.
การจัดการเรื่องการสอนด้วยวิธีการใหม่ๆ
2.
เทคนิควิธีการสอนแบบต่าง ๆ ที่ไม่เคยมีการทำมาก่อน
3.
การพัฒนาสื่อใหม่ ๆ
เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
4.
การใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาปรับใช้ในระบบการเรียนการสอนในระบบทางไกลและการเรียนด้วยตัวเอง
5.
วิธีการในการออกแบบหลักสูตรใหม่ๆ
6.
การจัดการด้านการวัดผลแบบใหม่
ในอนาคตมีแนวโน้มการเรียนการสอนไปในทางพึงประสงค์ เพราะมีสาเหตุดังต่อไปนี้
(สมพร
ชมอุตม์, 2532)
1. ปัจจุบันมีนวัตกรรมเกิดขึ้นใหม่ๆ ในทางการเรียนการสอน มีสื่อซึ่งผลิตออกมาอย่างไม่หยุดยั้ง ที่สหรัฐอเมริกามีบริษัทผลิตสื่อดัง ๆ
แข่งขันกันหลายบริษัทเช่น บริษัทคอมพิวเตอร์ แอปเปิล แมคอินทอช ไอบีเอ็ม ฮิวเล็กแพคการ์ด คอมแพค เป็นต้น
2. การเปลี่ยนวิธีการสอนแบบใหม่ ๆ
ซึ่งครูใช้กันอย่างกว้างขวางด้วยการเผยแพร่ทางโทรทัศน์
โดยผลิตรายการทางการเรียนการสอนออกมาเป็นเกมส์ ซึ่งผสมผสานกับวิชาการ ผู้เรียนเรียนอย่างสนุกสนานและมีความสนใจสูง
แถมยังเรียนได้ผลดีด้วย
3. มีสื่อหลากหลายซึ่งช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
4. มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพื่อให้เข้ากับสภาวะการณ์ในปัจจุบัน
5. คนสนใจทางการศึกษาเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้จากการศึกษานอกระบบ เช่น
มหาวิทยาลัยเปิด มีการเรียนการสอนโดยใช้วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์
สิ่งพิมพ์ตลอดจนการเรียนคอมพิวเตอร์
มีระบบการเรียนแบบการให้การศึกษาทบทวนความรู้เก่าที่ลืมไปแล้ว
(re-education)
6. ทรัพยากรการเรียนรู้เพิ่มขึ้น กล่าวคือ มีการผลิตสื่อออกมาหลาย ๆ รูปแบบและยังมี
นักวิชาการสาขาใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เช่น วิศวกรการจราจร (Traffic
Engineering) เพราะการสัญจรกลายเป็นเรื่องศาสตร์ที่ต้องศึกษากันอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง
วิศวกรจะต้องวางแผนการสร้างถนนหนทางว่าทำอย่างไรจึงทำให้การจราจรไม่ติดขัด หรือมีวิชาการใหม่ ๆ เช่น ปิโตรเคมี
สาขาเกษตรทางการประมง เป็นต้น
7. การวิจัยเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนมีเพิ่มขึ้นทั้งในและนอกประเทศ
8. ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนในระบบและนอกระบบ
มีความร่วมมือกันระหว่างเอกชนกับรัฐที่ประสานงานกันในเรื่องของการเรียนการสอน
ตลอดจนมีการฝึกอบรมทางวิชาการเพิ่มขึ้นทั้งฝ่ายของรัฐและเอกชน
การแพร่กระจายนวัตกรรมการศึกษา (Diffusion
of Innovation)
การแพร่กระจายนวัตกรรมเป็นกระบวนการในการถ่ายเทความคิด การปฏิบัติ
ข่าวสาร หรือพฤติกรรมไปสู่ที่ต่างๆ จากบุคคลหรือกลุ่มบุคลไปสู่กลุ่มบุคคลอื่นโดยกว้างขวาง
จนเป็นผลให้เกิดการยอมรับความคิดและการปฏิบัติเหล่านั้นอันมีผลต่อโครงสร้างและวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในที่สุด
นวัตกรรม
(Innovation decision process) ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นความรู้
(knowledge) เป็นขั้นตอนที่รับทราบว่ามีนวัตกรรมเกิดขึ้น และหาข่าวสารจนเข้าใจในนวัตกรรมนั้น ๆ
2.
ขั้นชักชวน (persuasion) เป็นขั้นตอนที่เกษตรกรมีทัศนคติต่อสิ่งใหม่
ๆ ในทางที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยต่อ "นวัตกรรม"
นั้น ๆ
3.
ขั้นตัดสินใจ (decision) เป็นขั้นที่เกษตรกรสนใจเข้าร่วมกิจกรรมที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแล้ว
และตัดสินใจว่าจะรับนวัตกรรมนั้นหรือไม่ แต่การตัดสินใจนั้นยังไม่ถาวรอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ภายหลัง
4.
ขั้นยืนยัน (confirmation)
เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการ ซึ่งเป็นการหาข้อมูลมาสนับสนุนการตัดสินใจของเขา
อาจมีระยะเวลายาวนาน จนกระทั่งยอมรับแนวความคิดใหม่ๆ ไปปฏิบัติเป็นการถาวรจริงๆ
นวัตกรรมมี
4 ประเภท
1. product innovation : การเปลี่ยนแปลงในผลิตภัณฑ์หรือบริการของ
2. Process innovation : การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือกระบวน
การนำเสนอผลิตภัณฑ์
3. Position innovation : การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสินค้าหรือบริการเป็นการเปลี่ยนตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ โดยการสร้างการรับรู้และความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ต่อลูกค้า
4. Paradigm innovation : การมุ่งให้เกิดนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงกรอบความคิด
ปัจจัยต่างๆ
ที่มีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมการศึกษา
การยอมรับนวัตกรรมของบุคคลในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
ๆ นั้น
อาจมีความแตกต่างกันทั้งทางด้านความรวดเร็วของการยอมรับนวัตกรรมว่าจะยอมรับช้าหรือเร็วกว่ากัน
และยังแตกต่างกันเกี่ยวกับจำนวนของผู้รับนวัตกรรมนั้นว่ามีมากหรือน้อย อีกทั้งการคงทนหรือความถาวรในการยอมรับนั้นด้วย
ผลของการยอมรับที่จะเกิดขึ้นในลักษณะต่างๆ นี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ หลายประการ
คือ
1.
ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะของนวัตกรรม
เนื่องจากนวัตกรรมเป็นสิ่งใหม่ที่กำเนิดมาจากงานวิจัย (Research) และการพัฒนา
(Development) รวมทั้งมาจากประสบการณ์ของผู้ใช้นวัตกรรมนั่นเอง
ดังนั้นนวัตกรรมแต่ละอย่างจึงมีลักษณะเฉพาะตัวซึ่งสามารถนำมาใช้แก้ไขปัญหาหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
ได้ตามสถานการณ์และความต้องการของผู้ใช้นวัตกรรมนั้น ๆ ซึ่งไม่จำเป็นที่นวัตกรรมซึ่งใช้ได้ผลดีในที่แห่งหนึ่ง
จะได้ผลดีในที่อื่น ๆ ด้วย ขึ้นอยู่กับว่านวัตกรรมนั้น ๆ
มีความเหมาะสมกับสถานการณ์
นั้น ๆ หรือไม่
ดังนั้นลักษณะของนวัตกรรมนั่นเองจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการโน้มน้าวใจ
(persuasion) ให้เกิดการยอมรับ
โดยนำไปใช้เป็นข้อมูลในการประเมินนวัตกรรมของผู้รับสาร
และตัดสินใจได้ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
คุณลักษณะของนวัตกรรมที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับ ได้แก่
1. ผลประโยชน์ที่ได้รับจากนวัตกรรม (Relation advantage) คือ
ระดับของการรับรู้หรือความเชื่อว่านวัตกรรมนั้นมีคุณสมบัติที่ดีกว่าความคิดหรือสิ่งที่มีอยู่เดิม ซึ่งถูกแทนที่ด้วยสิ่งใหม่
ถ้าหากนวัตกรรมนั้นมีข้อดีและให้ประโยชน์ต่อผู้ในนวัตกรรมนั้นมากเท่าใด ก็มีโอกาสที่จะมีผู้ที่ยอมรับมากขึ้น
ดังนั้นการพัฒนานวัตกรรมเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาหรือเพิ่นประสิทธิภาพการทำงานจึงต้องมีการศึกษาค้นคว้ามาอย่างดีให้ตรงกับความต้องการและเกิดประโยชน์จากผู้ใช้สูงสุดจึงจะมีการยอมรับอย่างรวดเร็ว
2.
การเข้ากันได้ดีกับสิ่งที่มีอยู่เดิม (Compatibility) การเข้ากันได้ คือ ระดับ
ของนวัตกรรมซึ่งมีความสอดคล้องกับคุณค่า
ประสบการณ์และความต้องการที่มีอยู่แล้วในตัวผู้รับ
นวัตกรรมนั้น ๆ ถ้าหากนวัตกรรมนั้นสามารถเข้ากันได้ดีกับสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาก็มีโอกาสได้รับการยอมรับได้ง่ายขึ้น
3. ความซับซ้อน (Complexity) ความซับซ้อมคือระดับของความเชื่อว่านวัตกรรมนั้นมีความยากต่อการเข้าใจและการนงไปใช้ นวัตกรรมบางอย่างสามารถทำความเข้าใจและนำมาใช้ได้ง่าย
ในขณะที่บางอย่างมีความซับซ้อนและเข้าใจยอมรับ
นวัตกรรมที่มีความซับซ้อนน้อยกว่ามีโอกาสที่จะได้รับการยอมรับมากกว่า
ความซับซ้อนของนวัตกรรมอาจเกิดจากกรรมวิธีที่ใช้ในการปฏิบัตินั้นมีความ
ยุ่งยาก
จำเป็นต้องอาศัยพื้นฐานความรู้ระดับสูงมาสนับสนุนจึงจะใช้งานได้ผล
อุปกรณ์ที่ใช้มีความยุ่งยากจนผู้ใช้อาจหมดความอดทนที่จะเรียนรู้
4.การทดลองได้ (Trailability) การทดลองได้คือระดับของนวัตกรรมที่สามารถ
มองเห็นผลจากการทดลองปฏิบัติเพื่อให้เห็นผลได้จริง อย่างน้อยภายใต้สภาพที่จำกัด ความคิดเหล่านี้สามารถทดสอบหรือทดลองได้อย่างเป็นขั้นตอนหรือเป็นช่วง
ๆ ไป ก็จะได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็ว
นวัตกรรมที่ไม่สามารถทดลองได้ก่อนมีโอกาสที่จะไดรับการยอมรับน้อยกว่า
1.
การสังเกตได้ (Observability) การสังเกตได้คือระดับของนวัตกรรมที่
สามารถมองเห็นกระบวนการในการปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม
สามารถสัมผัสและแตะต้องได้
จริง ๆ
การเสนอขายสินค้าที่เป็นแบบขายตรง (direct sale) ที่ได้รับผลสำเร็จสูงถึงแม้ว่าราคาจะค่อนข้างแพงก็เนื่องมาจากคุณสมบัติของนวัตกรรมในข้อนี้ คอ
สามารถนำมาให้ลูกค้าชมและสาธิตให้ดูว่าสินค้าชิ้นนี้มีข้อดีอย่างไร เป็นขั้น ๆ เมื่อดูแล้วลูกค้ามีความเห็นว่าดีจริงจึงจะซื้อ
สินค้านั้น
2. ปัจจัยเกี่ยวกับผู้รับนวัตกรรม
การที่บุคคลจะยอมรับนวัตกรรมหรือไม่
ปัจจัยหนึ่งก็คือตัวของผู้รับนวัตกรรมนั้นเอง เพราะถึงแม้ว่านวัตกรรมและเทคโนโลยีจะมีลักษณะที่ดีและเหมาะสมเพียงใด แต่ผู้รับนวัตกรรมนั้นไม่มีความพร้อมที่จะยอมรับและปฏิบัตินวัตกรรมนั้นก็ไร้ความหมาย
ปัจจัยเกี่ยวกับผู้รับนวัตกรรมนั้นได้แก่
สถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมและบุคคล
(socioeconomicstatus)
เช่น ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ฐานะทางสังคม
กับปัจจัยส่วนบุคคล เช่น อุปนิสัย บุคลิกภาพ เป็นต้น
3. ปัจจัยทางด้านระบบสังคม (social
system)
ระบบสังคม คือหน่วยที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาร่วมกัน เพื่อให้เกิดความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย
เมื่อพูดถึงระบบสังคมเราศึกษาไปถึงคุณสมบัติเฉพาะของบุคคลที่อยู่ในระบบนั้น ดังนั้นระบบสังคมจะประกอบไปด้วยความสัมพันธ์ที่เกิดระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคลหรือองค์กร
ซึ่งประกอบกันเป็นโครงสร้างของสังคม
4.
ปัจจัยทางด้านการติดต่อสื่อสาร
ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่า
การติดต่อสื่อสารเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และกระบวนการแพร่กระจายนวัตกรรมเป็นการติดต่อส่อสารประเภทหนึ่ง
กระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับข่าวสารที่เป็นแนวความคิดใหม่ ๆ ข่าวสารเหล่านี้จึงมีความแตกต่างจากข่าวสารทั่ว
ๆ ไป ในชีวิตประจำวันและเกี่ยวข้องกับระดับความเสี่ยงของผู้รับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นงานวิจัยด้านการติดต่อสื่อสารในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการแพร่กระจายนวัตกรรมจึงอาจศึกษาถึงส่วนประกอบในกระบวนการติดต่อสื่อสาร ได้แก่ แหล่งของข่าวสาร ข่าวสาร ช่องทางและผู้รับสาร ยกตัวอย่างเช่น
มีการศึกษาว่าแหล่งข่าวมีอิทธิพลอย่างไรในการยอมรับนวัตกรรมทางด้านความน่าเชื่อถือ
(credibility) ทักษะในการติดต่อสื่อสาร และฐานะทางสังคม
ข่าวสารที่เกี่ยวกับนวัตกรรมควรมีรูปแบบใดที่เหมาะสมกับผู้รับ
อิทธิพลของช่องทางหรือสื่อประเภทใดที่มีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมและมีผลในขั้นตอนใดมากที่สุด ตลอดจนศึกษาลักษณะของผู้รับสารที่เอื้ออำนวยต่อการยอมรับนวัตกรรมมากที่สุด เป็นต้น
ผลของการศึกษาจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนงาน
ในการส่งเสริมเผยแพร่นวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
แนวโน้มของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
มีผลทำให้มีความเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมและเทคโนโลยีในระยะที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันพบว่าประเด็นที่น่าสนใจที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะต่าง
ๆ ก่อให้เกิดนวัตกรรมประเภทต่าง ๆ ได้ดัง
ต่อไปนี้
1. การรวมตัวของสื่อ เมื่อคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาท
ทำให้มีการนำสื่อเข้ามาใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ในลักษณะสื่อประสม เช่น การใช้แผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ การใช้แผ่นซีดี-รอมบันทึก
ข้อมูล
เป็นต้น
สื่อขนาดเล็ก
สื่อหลายชนิดที่เป็นนวัตกรรมที่ใช้กันอยูในขณะนี้เป็นวัสดุและอุปกรณ์
ที่มีใช้กันมานานแล้วแต่ในปัจจุบันได้อาศัยเทคโนโลยีช่วยในการคิดค้นและพัฒนาให้มีขนาดเล็ก
ลงและใช้ได้สะดวกขึ้น เช่น กล้องถ่ายวีดิทัศน์ การผลิตแผ่นซีดี ฯลฯ
3. ความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนอกจากจะมีนาดเล็กลงแล้ว ยังมีสมรรถนะในการทำงานสูงกว่าเดิมมาก
สามารถบรรจุเนื้อที่บันทึกข้อมูลได้มาก ทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีราคาถูกลง
ทำให้โรงเรียนต่าง ๆ สามารถซื้อมาใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างทั่วถึง
ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
ปัจจุบันการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมทำให้ผู้เรียนในซึก
โลกหนึ่งสามารถเรียนรู้ไปได้พร้อมกับผู้เรียนอีกซีกโลกหนึ่ง
โดยที่ผุ้สอนและผู้เรียนไม่จำเป็นต้อง
อยู่สถานที่เดียวกันก็สามารถทำให้เกิดการเรียนการสอนร่วมกันได้โดยการสอนในลักษณะการประชุมทางไกลโดยวีดิทัศน์
(Video
Teleconference)
อินเทอร์เน็ต
และเวิร์ล ไวด์ เว็บ
อินเทอร์เน็ตเป็นข่ายงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
มากครอบคลุมไปทั่วโลกและให้บริการแก่ผู้ใช้ได้หลายสิบล้านคนทั่วโลกในบริการต่าง
ๆ กัน
6. ทางด่วนสารสนเทศ (Information
Superhighway) เป็นพื้นฐานโครงสร้างสารสนเทศที่เป็นแนวคิดในการที่จะนำข่ายงานคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงเชื่อมโยงบ้าน
โรงเรียน และสถานที่ทำงานต่าง ๆ ด้วยการใช้สื่อที่สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
โลกในยุคที่เรียกว่า
ยุคสารสนเทศหรือยุค IT นั้น
การพัฒนาทางด้านวิทยาการ
และเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ
มากมาย ทั้งด้าน การดำรงชีวิต วัฒนธรรม
สังคม และการติดต่อสื่อสาร
เป็นต้น ในแวดวงการศึกษาก็เช่นกัน
เทคโนโลยีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก
ได้แก่ การเรียนการสอน ตลอดจนการเรียนรู้ ของมนุษย์ ดังนั้นผลของเทคโนโลยีที่มีต่อการศึกษา
สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเด็น (พรเทพ เมืองแมน, 2539
: 24-25) ได้แก่
เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงวิถีของการเรียนรู้ สภาพการเรียนการสอนในปัจจุบัน
มีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยอำนวยความสะดวก ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ มากขึ้น
นั่นคือผู้สอนจากเดิมใช้เพียงชอล์คและกระดานดำ เปลี่ยนมาเป็นกระดานไวท์บอร์ด จอฉาย
มีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์อื่น ๆ
สนับสนุนการเรียนการสอน เช่น
เครื่องฉายภาพ ข้ามศีรษะ
สไลด์ วีดิทัศน์ และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ส่วนผู้เรียนเปลี่ยนจากการฟังคำบรรยายแล้วจด มาเป็นการค้นคว้าหาความรู้จากสื่อต่าง ๆ
ที่มีอยู่อย่างมากมาย ทั้งที่เป็นแหล่งความรู้ธรรมดา ได้แก่ห้องสมุด หรือจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเทคนิควิธีการในการเรียนการสอน
โดยผู้สอนเปลี่ยนวิธีสอนจากการบรรยาย
หรือถ่ายทอดโดยตรง
เป็นการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น โดยผู้สอนทำหน้าที่คอยชี้แนวทาง และแนะนำวิธีการเรียนให้แก่ผู้เรียน และในบางโอกาสผู้สอน
และผู้เรียนก็อาจเรียนรู้ร่วมกันก็ได้
เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมในการเรียนการสอน
จากบรรยากาศการเรียนการสอนที่มีเพียงห้องเรียนสี่เหลี่ยม
ผู้เรียนนั่งเป็นแถวหันหน้าเข้าหาผู้สอนและกระดานดำ
เปลี่ยนไปเป็นการที่ผู้เรียนค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง มีการทำงานเป็นกลุ่ม นอกจากนี้ภายในห้องเรียนอาจมีสื่อต่าง ๆ
เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับห้องสมุดและระบบอินเทอร์เน็ต
เพื่อให้ผู้เรียนค้นคว้าได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว และสามารถเลือกสื่อที่จะเรียน วิธีการเรียน ตลอดจนเวลาเรียนได้มากขึ้น
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก
ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป
อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ คือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded
School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า
เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน
ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก
และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่
ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้
เช่น
- ศูนย์การเรียน (Learning Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
- ศูนย์การเรียน (Learning Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา
แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์
เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา
ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี
ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน
บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง
การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น
นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible
Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์
4. ประสิทธิภาพในการเรียน
การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ
ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก
นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน
- การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน
นวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญของไทยในปัจจุบัน(2546)
นวัตกรรม เป็นความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ
ซึ่งนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวงการจะมีการคิดและทำสิ่งใหม่อยู่เสมอ
ดังนั้นนวัตกรรมจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ สิ่งใดที่คิดและทำมานานแล้ว
ก็ถือว่าหมดความเป็นนวัตกรรมไป โดยจะมีสิ่งใหม่มาแทน
ในวงการศึกษาปัจจุบัน
มีสิ่งที่เรียกว่านวัตกรรมทางการศึกษา หรือนวัตกรรมการเรียนการสอน
อยู่เป็นจำนวนมาก บางอย่างเกิดขึ้นใหม่ บางอย่างมีการใช้มาหลายสิบปีแล้ว
แต่ก็ยังคงถือว่าเป็น นวัตกรรม เนื่องจากนวัตกรรมเหล่านั้นยังไม่แพร่หลายเป็นที่รู้จักทั่วไป
ในวงการศึกษา
ความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยี
“เทคโนโลยี” เป็นความรู้หรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ใช้ประโยชน์กันอย่างแพร่หลาย
อย่างเช่น กล้องถ่ายรูปดิจิตอลในปัจจุบันที่ใช้อย่างแพร่หลาย
เรียกว่าเทคโนโลยี ส่วน “นวัตกรรม”
นั้นจะคล้าย ๆ กับเทคโนโลยี
แตกต่างกันตรงที่ว่าเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่
อาจจะดีไม่เท่าหลังจากที่กลายเป็นเทคโนโลยีแล้วและยังใช้กันไม่แพร่หลายนั่นเอง
เช่น กล้องถ่ายรูปโบราณ ๆ ในสมัยก่อนที่พึ่งริเริ่มประดิษฐ์
ความหมายของเทคโนโลยี
ความเจริญในด้านต่างๆ
ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน
เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ
โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว
ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ
และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น
และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ
จึงเรียกกันว่า “วิทยาศาสตร์ประยุกต์” หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า “เทคโนโลยี”
(boonpan edt01.htm)
เทคโนโลยีี
หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา
ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist)
(boonpan edt01.htm)
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational
Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง
ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ
3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan
edt01.htm)
สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ
เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์
ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม
เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น (boonpan
edt01.htm)
ดร.เปรื่อง กุมุท
ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า
เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล
วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน (boonpan
edt01.htm)
Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา
ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ
(boonpan edt01.htm)
นอกจากนี้เทคโนโลยีทางการศึกษา
เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้
เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง
ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก
จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์ เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจจะพิจารณาจาก
ความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ คือ
1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ตามความคิดรวบยอดนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่านี้ มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา
ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามความคิดรวบยอดนี้ ทำให้บทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษาแคบลงไป คือมีเพียงวัสดุ และอุปกรณ์เท่านั้น ไม่รวมวิธีการ หรือปฏิกิริยาสัมพันธ์อื่น ๆ เข้าไปด้วย ซึ่งตามความหมายนี้ก็คือ “โสตทัศนศึกษา” นั่นเอง
2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียน เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ หรืออุปกรณ์ แต่เพียงอย่างเดียว (boonpan edt01.htm)
1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ตามความคิดรวบยอดนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่านี้ มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา
ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามความคิดรวบยอดนี้ ทำให้บทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษาแคบลงไป คือมีเพียงวัสดุ และอุปกรณ์เท่านั้น ไม่รวมวิธีการ หรือปฏิกิริยาสัมพันธ์อื่น ๆ เข้าไปด้วย ซึ่งตามความหมายนี้ก็คือ “โสตทัศนศึกษา” นั่นเอง
2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียน เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ หรืออุปกรณ์ แต่เพียงอย่างเดียว (boonpan edt01.htm)
สารสนเทศ (information) [1] เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการ
และการเข้าประเภทข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น
สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย
ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค
ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุมข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมาย
ปัจจุบันผู้คนพูดเกี่ยวกับยุคสารสนเทศว่าเป็นยุคที่นำไปสู่ยุคแห่งองค์ความรู้หรือปัญญา
นำไปสู่สังคมอุดมปัญญา หรือสังคมแห่งสารสนเทศ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ
แม้ว่าเมื่อพูดถึงสารสนเทศ เป็นคำที่เกี่ยวข้องในศาสตร์สองสาขา คือ วิทยาการสารสนเทศ และ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งคำว่า "สารสนเทศ"
ก็ถูกใช้บ่อยในความหมายที่หลากหลายและกว้างขวางออกไป และมีการนำไปใช้ในส่วนของ เทคโนโลยีสารสนเทศ และ การประมวลผลสารสนเทศ
สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล
เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ สารสนเทศ จึงหมายถึง
ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้
สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี
การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เช่น
อาจจะมีการกำหนดให้ผู้ใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้
ข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุม
กำหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือการกระทำกับข้อมูลว่าจะกระทำได้โดยใครบ้าง
นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยไม่ได้ตั้งใจ
การจัดเก็บข้อมูลที่ดี จะต้องมีการกำหนดรูปแบบของข้อมูลให้มีลักษณะง่ายต่อการจัดเก็บ
และมีรูปแบบเดียวกัน ข้อมูลแต่ละชุดควรมีความหมายและมีความเป็นอิสระในตัวเอง
นอกจากนี้ไม่ควรมีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนเพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่เก็บข้อมูล
องค์ประกอบชองสารสนเทศ
องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
(United Nation of Education, Scientific and Culture Organization -
Unesco) กำหนดว่า ทรัพยากรสำคัญของโลกมีอยู่ 3 ประเภท คือ ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรมนุษย์ และทรัพยากรสารสนเทศ
จะเห็นได้ว่า สารสนเทศเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญเทียบเท่ากับทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์ ดังจะเห็นได้จากการประชุมทางวิชาการซึ่งจัดโดยองค์การ Unesco ได้สรุปว่า “สารสนเทศ เป็นรากฐานอันจำเป็นสำหรับความก้าวหน้าของอารยธรรมและสังคม เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างสรรค์หรือการใช้ทรัพยากร เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการตัดสินใจ เป็นองค์ประกอบที่จะต้องใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม” สารสนเทศจึงมีความสำคัญทุกภาคส่วน กล่าวคือ
1.สารสนเทศช่วยเสริมสร้างความสามารถของแต่ละประเทศในอันที่จะตักตวงประโยชน์จากความรู้ต่าง ๆ และวิธีการต่าง ๆ ที่ประสบผลสำเร็จมาแล้วจากที่อื่น
2.สารสนเทศช่วยสร้างความมีเหตุผลและระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาของแต่ละประเทศโดยอาศัยความรู้ที่มีอยู่แล้ว
3.สารสนเทศช่วยให้สังคมมีฐานความรู้ที่กว้างขวางยิ่งขึ้น สำหรับแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
4.สารสนเทศช่วยให้มีหนทางและวิธีการใหม่ ๆ ในการแก้ไขปัญหาทางเทคนิค มีทางเลือกที่จะตัดทอนปัญหาในอนาคตให้น้อยลง
5.สารสนเทศช่วยให้กิจกรรมทางเทคนิคในการผลิตและบริการได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
6.สารสนเทศทำให้ตัดสินใจได้ดีขึ้นทุกหน่วยงาน ทุกวงการและทุกระดับความรับผิดชอบ
จะเห็นได้ว่า นักบริหาร นักธุรกิจ นักอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา ตลอดจนบุคคลทั่วไป ต้องการสารสนเทศที่ถูกต้อง สมบูรณ์ รวดเร็ว และทันสมัยเพื่อใช้ในการวางแผน วางนโยบาย ตัดสินใจ วินิจฉัย สั่งการ ดำเนินงาน การพัฒนาความรู้ การพัฒนาบุคลิกภาพ รวมถึงการแก้ไขปัญหาสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ทั้งยังสามารถบริหารสารสนเทศ ในลักษณะของสินค้าสามารถซื้อขายได้ กลายเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินงาน ทั้งในภาคเอกชน รัฐบาล และรัฐวิสาหกิจ จึงกล่าวได้ว่าสังคมปัจจุบันต้องพึ่งพาสารสนเทศเพื่อการแข่งขันและการดำรงอยู่
จะเห็นได้ว่า สารสนเทศเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญเทียบเท่ากับทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์ ดังจะเห็นได้จากการประชุมทางวิชาการซึ่งจัดโดยองค์การ Unesco ได้สรุปว่า “สารสนเทศ เป็นรากฐานอันจำเป็นสำหรับความก้าวหน้าของอารยธรรมและสังคม เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างสรรค์หรือการใช้ทรัพยากร เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการตัดสินใจ เป็นองค์ประกอบที่จะต้องใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม” สารสนเทศจึงมีความสำคัญทุกภาคส่วน กล่าวคือ
1.สารสนเทศช่วยเสริมสร้างความสามารถของแต่ละประเทศในอันที่จะตักตวงประโยชน์จากความรู้ต่าง ๆ และวิธีการต่าง ๆ ที่ประสบผลสำเร็จมาแล้วจากที่อื่น
2.สารสนเทศช่วยสร้างความมีเหตุผลและระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาของแต่ละประเทศโดยอาศัยความรู้ที่มีอยู่แล้ว
3.สารสนเทศช่วยให้สังคมมีฐานความรู้ที่กว้างขวางยิ่งขึ้น สำหรับแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
4.สารสนเทศช่วยให้มีหนทางและวิธีการใหม่ ๆ ในการแก้ไขปัญหาทางเทคนิค มีทางเลือกที่จะตัดทอนปัญหาในอนาคตให้น้อยลง
5.สารสนเทศช่วยให้กิจกรรมทางเทคนิคในการผลิตและบริการได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
6.สารสนเทศทำให้ตัดสินใจได้ดีขึ้นทุกหน่วยงาน ทุกวงการและทุกระดับความรับผิดชอบ
จะเห็นได้ว่า นักบริหาร นักธุรกิจ นักอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา ตลอดจนบุคคลทั่วไป ต้องการสารสนเทศที่ถูกต้อง สมบูรณ์ รวดเร็ว และทันสมัยเพื่อใช้ในการวางแผน วางนโยบาย ตัดสินใจ วินิจฉัย สั่งการ ดำเนินงาน การพัฒนาความรู้ การพัฒนาบุคลิกภาพ รวมถึงการแก้ไขปัญหาสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ทั้งยังสามารถบริหารสารสนเทศ ในลักษณะของสินค้าสามารถซื้อขายได้ กลายเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินงาน ทั้งในภาคเอกชน รัฐบาล และรัฐวิสาหกิจ จึงกล่าวได้ว่าสังคมปัจจุบันต้องพึ่งพาสารสนเทศเพื่อการแข่งขันและการดำรงอยู่
ลักษณะสารสนเทศที่ดี
เนื้อหา
(Content)
•
ความสมบรูณ์ครอบคลุม (completen ess)
•
ความสัมพันธ์กับเรื่อง (relevance)
•
ความถูกต้อง (accuracy)
•
ความเชื่อถือได้ (reliability)
•
การตรวจสอบได้ (verifiability)
รูปแบบ
(Format)
•
ชัดเจน (clarity)
•
ระดับรายละเอียด (level of detail)
•
รูปแบบการนำเสนอ (presentation)
•
สื่อการนำเสนอ (media)
•
ความยืดหยุ่น (flexibility)
•
ประหยัด (economy)
เวลา
(Time)
•
ความรวดเร็วและทันใช้ (timely)
•
การปรับปรุงให้ทันสมัย (up-to-date)
•
มีระยะเวลา (time period)
กระบวนการ
(Process)
•
ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility)
•
การมีส่วนร่วม (participation)
•
การเชื่อมโยง (connectivity)
|
iนวัตกรรมทางการศึกษาต่างๆ
ที่กล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน
· E-learning
ความหมาย e-Learning เป็นคำที่ใช้เรียกเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่
ที่ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่แน่ชัด และมีผู้นิยามความหมายไว้หลายประการ ผศ.ดร.ถนอมพร
เลาหจรัสแสง ให้คำนิยาม E-Learning หรือ Electronic
Learning ว่า หมายถึง “การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ
นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์
ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯ”เช่นเดียวกับ
คุณธิดาทิตย์ จันคนา ที่ให้ความ หมายของ e-learning
่าหมายถึงการศึกษาที่เรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนตโดยผู้เรียนรู้จะเรียนรู้
ด้วยตัวเอง ารเรียนรู้จะเป็นไปตามปัจจัยภายใต้ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้สองประการคือ
เรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง และ การตอบสนองใน
ความแตกต่างระหว่างบุคคล(เวลาที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้)การเรียนจะกระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เนต
โดยผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาผ่านบริการ World
Wide Web หรือเวปไซด์ โดยอาจให้มีปฏิสัมพันธ์ (สนทนา โต้ตอบ
ส่งข่าวสาร) ระหว่างกัน จะที่มีการ เรียนรู้ ู้ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียน
ผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ
กระทำ ผ่านเครื่องมือสองลักษณะคือ
นักเทคโนโลยีการศึกษาได้แบ่งสื่อประสมออกเป็น
2 กลุ่ม
คือ
สื่อประสม (Multimedia 1) เป็นสื่อประสมที่ใช้โดยการนำสื่อหลายประเภทมาใช้ร่วม
กันในการเรียนการสอน เช่น
นำวีดิทัศน์มาสอนประกอบการบรรยายของผู้สอนโดยมีสื่อสิ่งพิมพ์ประกอบด้วย
หรือการใช้ชุดการเรียนหรือชุดการสอน
การใช้สื่อประสมประเภทนี้ผู้เรียนและสื่อจะไม่มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกัน
และจะมีลักษณะเป็น “สื่อหลายแบบ”
สื่อประสม (Multimedia 2) เป็นสื่อประสมที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเสนอสาร
สนเทศหรือการผลิตเพื่อเสนอข้อมูลประเภทต่าง ๆ
เชนภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ตัวอักษรและเสียงในลักษณะของสื่อหลายมิติ
โดยที่ผู้ใช้มีการโต้ตอบกับสื่อโดยตรง
การนำสื่อประสมมาใช้ในการศึกษา
สื่อประสมมีประโยชน์ในด้านการศึกษาหลาย ๆ ประการ เช่น เป็นการดึงดูดความสนใจ ของผู้เรียน เป็นการให้สารสนเทศที่หลากหลาย
สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบรายบุคคลได้เป็นอย่างดี
ที่สำคัญช่วยให้ผู้เรียนสามารถตรวจสอบยั้อนหลังและแก้ไขจุดอ่อนในการเรียนได้
ซึ่งเราสามารถใช้สื่อประสมเพื่อการศึกษาได้ในลักษณะต่าง ๆ เช่น
เป็นเกมเพื่อการศึกษา คือ การใช้เกมในลักษณะของสื่อประสมซึ่งจะเป็นสิ่งที่ดึงดูด
ความสนใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดีนอกเหนือไปจากความสนุกสนานจากการเล่นเกมตามปกติ
เกมต่าง ๆ จะมีการสอดแทรกความรู้ด้านต่าง ๆ
เช่น คำศัพท์ ความหมายของวัตถุ แผนที่ทางภูมิศาสตร์ การฝึกทักษะด้านความเร็วในการคิดคำนวณ ฯลฯ
เกมเพื่อการศึกษาเกมหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพื่อให้ความรู้ด้านภูมิศาสตร์และฝึกทักษะด้านการค้นหาได้แก่
เกม ชื่อ Where in the World is
Carmen Sandiago เป็นต้น
การสอนและการทบทวน คือ
การใช้สื่อประสมเพื่อการสอนและทบทวนซึ่งมีด้วยการ
หลายรูปแบบ เช่น การฝึกสะกดคำ การคิดคำนวณ
และการเรียนภาษา ผู้เรียนจะมีโอกาสเรียนรู้จากการสอนในเนื้อหา
และฝึกปฏิบัติเพื่อทบทวนไปด้วยในตัว
จนกว่าจะเรียนเนื้อหาในแต่ละตอนได้เป็นอย่างดีแล้วจึงเริ่มในบทใหม่ตามหลักของการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย เช่น การเรียนภาษาต่างๆ
สารสนเทศอ้างอิง คือ
สื่อประสมที่ใช้สำหรับสารสนเทศอ้างอิงเพื่อการศึกษามักจะ
บรรจุอยู่ในแผ่นซีดี – รอม เนื่องจากสามารถบรรจุข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก
โดยจะเป็นลักษณะเนื้อหานานาประเภทอาทิเช่น สารนุกรม พจนานุกรม แผนที่โลก ปฏิทินประจำปี
สารทางการแพทย์ ประวัติศาสตร์ ฯลฯ
สื่อหลายมิติ
(HyperMedia)
สื่อหลายมิติ
คือ
การเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ
ที่สื่อเสนอได้โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็ว
ซึ่ง “สื่อหลายมิติ” (Hypermedia) นี้ได้พัฒนามาจาก “ข้อความหลายมิติ” (Hypertext) ซึ่งเป็นการเสนอเพียงข้อความตัวอักษร
ภาพกราฟิกและเสียงที่มีมาแต่เดิม
สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสมอื่นๆ
ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบต่างๆ ได้ทั้ง ข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว (น้ำทิพย์ วิภาวิน, 2542 :
53) Hypermedia เป็นการขยายแนวความคิดจาก Hypertext อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน
(วิเศษศักดิ์
โคตรอาชา และคณะ , 2542 : 53)
จุดประสงค์ของการใช้สื่อหลายมิติ
(
Hypermedia)
ใช้เป็นเครื่องมือในการสืบค้น (Browsing) สืบไปในข้อมูลสารสนเทศหรือบทเรียนต่างๆ
ใช้เพื่อการการเชื่อมโยง (Linking) โดยผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงแฟ้มข้อมูลต่างๆ
ภายในระบบเดียวกัน ตลอดจนเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายภายนอก เช่น การเชื่อมต่อกับ Intranet Internet
เป็นต้น
ใช้ในการสร้างบทเรียน (Authoring) สร้างโปรแกรมนำเสนอรายงานสารสนเทศต่างๆ
ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมที่มีความน่าสนใจ เนื่องจากสามารถนำเสนอได้ทั้งภาพ เสียง
และภาพเคลื่อนไหว
(วิเศษศักดิ์ โคตรอาชา และคณะ ,
2542 : 56)
สื่อหลายมิติกับการเรียนการสอน
จากความสามารถของสื่อหลายมิติที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็วนี้เอง
ทำให้มีสถาบันการศึกษาหลายแห่งมีการใช้สื่อหลายมิติในการเรียนการสอนในระดับชั้นและวิชาเรียนต่าง
ๆ แล้วในปัจจุบัน
ตัวอย่างการใช้สื่อหลายมิติในการเรียนการสอน
เช่น โรงเรียนฟอเรสต์ฮิลล์ เมืองแกรนด์
แรพิดส์ มลรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ได้ใช้สื่อหลายมิติตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา
โดยใช้ในลักษณะบทเรียนสื่อหลายมิติ
โดยครูและนักเรียนได้ร่วมกันสร้างบทเรียนเกี่ยวกับการถูกทำลายของป่าฝนในเขตร้อน
โดยเริ่มต้นด้วยการค้นคว้าหาเนื้อหาข้อมูลจากห้องสมุดแล้วรวบรวมภาพถ่าย
ภาพเคลื่อนไหว และเสียงจากแหล่งค้นคว้าต่าง ๆ มาเป็นข้อมูล
แล้วทำการสร้างบทเรียนโดยการใช้ Hypercard และอุปกรณ์ต่าง ๆ
ในการบันทึกข้อมูลเช่น ใช้เครื่องกราดภาพในการบันทึกภาพถ่าย ส่วนภาพเคลื่อนไหวและเสียงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่อกับเครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์
และเนื้อหาบางส่วนบันทึกจากแผ่นซีดี – รอมด้วย เนื้อหาถูกเชื่อมโยงโดย “ปุ่ม”
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนโดยการเลือกเรียนและศึกษาเนื้อหาตามลำดับที่ตนต้องการ
นอกจากนี้
ยังมีการเขียนบทเรียนการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในลักษณะสื่อหลายมิติโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง
ๆ เช่น ToolBook และ AuthorWare ด้วย
ประโยชน์ของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน
ในการเรียนบทเรียนที่เขียนในลักษณะสื่อหลายมิติผู้เรียนสามารถเรียนรู้ข้อมูลจาก
บทเรียนได้มากมายหลายประเภทในลักษณะต่าง ๆ กันดังนี้
เรียกดูความหมายของคำศัพท์
ที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจได้ทันที
ขยายความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนด้วยการ
ดูแผนภาพหรือภาพวาด
ดูภาพถ่าย ภาพนิ่ง
และภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกจากเครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์
ฟังเสียงคำอธิบายที่เป็นเสียงพูด
หรือฟังเสียงดนตรี เสียง special effect
ใช้สมุดบันทึกที่มีอยู่ในโปรแกรมเพื่อบันทึกใจความสำคัญของบทเรียน
ใช้เครื่องมือสำหรับการวาดภาพในโปรแกรมนั้นเพื่อวาด
แผนที่มโนทัศน์ (concept map) ของตนเพื่อให้เข้าใจบทเรียนได้ง่ายยิ่งขึ้น
สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ
ที่สนใจขึ้นมาอ่านหรือดูเพิ่มเติมได้โดยสะดวก
ใช้แผนที่ระบบ (system map) เพื่อดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ตรงส่วนใดของบทเรียนและเพื่อช่วยในการดูว่าจะเรียนในส่วนใดของบทเรียนต่อไป
ซีดี – รอม (Compact Disc – Read Only Memory : CD ROM)
ซีดี –รอม
เป็นสื่อบันทึกประเภทสื่อแสง (optical media) ที่ทำการบันทึกและอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ได้หลากหลายรูปแบบมีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกกลม
เส้นผ่าศูนย์กลาย 4.75 นิ้ว
ผิวหน้าด้วยโลหะสะท้อนแสงเพื่อป้องกันข้อมูลที่บันทึกไว้
สามารถบันทึกข้อมูลได้มากถึง 680 เมกะไบต์
ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นได้เพียงอย่างเดียวโดยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลเหล่านั้นได้
ซีดี – รอมนั้นก็คือ สื่อบันทึกที่เราเรียกกันว่า “แผ่นซีดี” ที่มาจากคำภาษาอังกฤษว่า
“Compact Disc” นั่นเอง
ประเภทของข้อมูลบนซีดี-รอม
ซีดี-รอมในปัจจุบันมีการบันทึกข้อมูลทุกประเภทลงบนแผ่นเพื่อการใช้ในลักษณะ
“สื่อประสม” ข้อมูลอาจมีอยู่เพียงลำพังหรือรวมอยู่กับข้อมูลประเภทอื่น
ๆ ก็ได้ ประเภทต่าง ๆ ของข้อมูลมีดังนี้
1. ตัวอักษร
ข้อมูลในลักษณะตัวอักษรเป็นประเภทของข้อมูลพื้นฐานที่นิยมบันทึกลงซีดี-รอมซึ่งบันทึกได้มากสุดถึง 680
ล้านอักขระ
เสียง
เสียงที่บันทึกลงซีดี-รอมมีอยู่มากมายหลายประเภท
โดยสามารถใช้บันทึกเสียง
แบบ ADPCM ได้มากสุดถึง 18
ชั่วโมง
นับตั้งแต่เสียบบี๊บจนถึงเสียงดนตรี
ภาพกราฟิก
ภาพกราฟิกที่บันทึกลงบนแผ่นซีดี-รอมเป็นได้ทั้งภาพถ่ายและภาพวาด
ลายเส้นที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวทำจากโปรแกรมต่าง
ๆ ซึ่งบันทึกอยู่ในสารบบย่อยแยกต่างหากจากแฟ้มข้อมูลที่เป็นตัวอักษรหรือเสียง
วีดีทัศน์
การบันทึกภาพวีดิทัศน์ที่ใช้เล่นในเวลา
1 วินาทีต้องใช้เนื้อที่บรรจุข้อมูลถึง
22 - 27 เมกะไบต์เลยทีเดียว จึงทำให้ซีดี-รอมแผ่นหนึ่งที่มีความจุ 680
เมกะไบต์สามารถบรรจุภาพวีดิทัศน์ได้เพียง 30
วินาทีเท่านั้น
ซีดี-รอม เพื่อการศึกษา
เนื่องจากซีดี-รอม เป็นสื่อที่สามารถบันทึกข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ
ทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพกราฟิกเคลื่อนไหว ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์และเสียง
จึงทำให้เหมาะในการบันทึกสารสนเทศนานาประเภทลงไว้ในแผ่นเพื่อความรู้และความบันเทิง
สำหรับด้านการศึกษานั้นได้มีการบันทึกเนื้อหาทั้งที่ให้ความรู้ทั่ว ๆ ไปและเพื่อการสอนโดยตรงได้ในลักษณะของการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
ซึ่งซีดีรอมที่สามารถนำมาใช้ในการให้ความรู้และการสอนมีตัวอย่างดังนี้
ใช้เพื่อสอนอ่าน
ใช้เพื่อเป็นเกมการศึกษา
ให้ความรู้/ฐานข้อมูล
กฤตศิลป์
ดนตรี
ท่องเทียว
ความจริงเสมือน (Virtual
Reality : VR)
ความจริงเสมือน (Virtual Reality) หรือที่เรียกกันย่อ
ๆ ว่า “ วีอาร์ ”
(VR) เป็นกลุ่มเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบที่ผลักดัน
ให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกของการเข้าร่วมอยู่ภายในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้มีอยู่จริงที่สร้างขึ้นโดยคอมพิวเตอร์
พัฒนาการของความเป็นจริงเสมือนได้รับอิทธิพลมาจากแนวความคิดง่าย ๆ
แต่มีอำนาจมากเกี่ยวกับการที่จะเสนอสารสนเทศอย่างไรให้ดีที่สุด คือ
ถ้าผู้ออกแบบสามารถให้ประสาทสัมผัสของมนุษย์มีความค่อยเป็นค่อยไปในปฏิสัมพันธ์กับโลกทางกายภาพซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ล้อมรอบตัวเราแล้ว
มนุษย์ก็จะสามารถรับและเข้าใจสารสนเทศได้ง่ายขึ้น
ถ้าสารสนเทศนั้นกระตุ้นการรับรู้สัมผัสของผู้รับ
เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนสามารถเลียนการรับรู้สัมผัสของโลกทางกายภาพได้โดยสร้างการรับรู้หลายทางในสิ่งแวดล้อมสามมิติขึ้นมา
ความเป็นจริงเสมือนได้สร้างเนื้อหาสาระของสิ่งที่แสดงให้เห็นโดยการรับรู้ซึ่งเป็นผลลัพธ์ของคอมพิวเตอร์
เพื่อสนองต่อการเคลื่อนไหวทางกายภาพของผู้ใช้ที่สืบหาด้วยเครื่องรับรู้ของคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์ในการทำงานของความเป็นจริงเสมือน
การทำงานของความเป็นจริงเสมือนประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญ 2
อย่าง คือ จอภาพสวมศีรษะและถุงมือรับรู้
โดยการทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์โปรแกรมคอมพิวเตอร์
1. จอภาพสวมศีรษะ (head-mounted display : HMD) หรือที่รู้จักกันว่า “ชุดแว่นตา” (goggles) ประกอบด้วยแว่นตาที่บรรจุจอมอนิเตอร์ขนาดเล็กซึ่งทำด้วยกระจก 3
มิติ เรียกว่า “stereoscopic glasses” ทำมุมกว้างประมาณ 140 องศา
เพื่อให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นสิ่งที่เป็นนามธรรมในลักษณะ 3 มิติ
ในโลกของความเป็นจริงเสมือนได้
ถุงมือรับรู้
(sensor
glove) เป็นถุงมือขนาดเบาที่มีเส้นใยนำแสงเรียงเป็นแนวอยู่ตาม
นิ้วและข้อมือเพื่อเป็นเครื่องรับรู้การเคลื่อนที่และส่งสัญญาณไปยังคอมพิวเตอร์
เมื่อสวมถุงมือนี้แล้วจะทำให้ผู้ใช้เข้าถึงสิ่งแวดล้อม 3 มิติ
ถุงมือรับรู้จะทำให้ผู้ใช้จับต้องและรู้สึกได้ถึงวัตถุสิ่งของซึ่งไม่มีอยู่ที่นั่นจริง ๆ
การใช้ความเป็นจริงเสมือนในวงการต่าง ๆ
กายศาสตร์
เนื่องจากเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนเป็นการนำร่างกายคนเราเข้าไป
อยู่ในโลกเสมือนจริงจึงสามารถนำมาใช้ทางด้านการศึกษาได้เป็นอย่างดี
เช่น
องค์การนาซาต้องการออกแบบอุปกรณ์ทางด้านอวกาศและดูว่านักบินอวกาศจะใช้อุปกรณ์เหล่านั้นได้อย่างไรนักวิจัยต้องใช้ความเป็นจริงเสมือนในการทำแบบจำลองอุปกรณ์นั้นและทดสอบว่าร่างกายมนุษย์จะสามารถเข้ากันได้และใช้อุปกรณ์นั้นอย่างไร
โบราณคดี
ความเป็นจริงเสมือนจะช่วยในการสำรวจซากโบราณสถานและโบราณ
วัตถุที่ค้นพบได้ว่าของเดิมเป็นอย่างไรและอยู่ในช่วงสมัยใด
สถาปัตยกรรม
ความเป็นจริงเสมือนสามารถนำมาใช้ในด้านการออกแบบอาคาร
โดยให้สถาปนิกและลูกค้าสำรวจภายในแบบจำลองและแก้ไขแบบการก่อนสร้างให้เป็นไปตามต้องการ
การแพทย์
แพทย์และศัลยแพทย์จะใช้ความเป็นจริงเสมือนในการดูระบบ 3 มิติใน
ร่างกายคนไข้
บันเทิง
มีการทดลองสร้างสถานบันเทิงแบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน
ในรูปแบบของโรงภาพยนตร์เดิมแต่จะมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกนานาชนิดสำรหับการแสดงประเภทต่าง
ๆ
ความเป็นจริงเสมือนเพื่อการศึกษา
ในวงการศึกษานั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าการสร้างจินตนาการเป็นวิธีการสนการเสนอข้อมูลและมโนทัศน์แก่ผู้เรียนเพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจและการปรับตัวให้เข้าได้ในสังคม
การนำความเป็นจริงเสมือนมาใช้ในการศึกษาสามารถใช้ได้ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. สำรวจสถานที่และสิ่งของที่มีอยู่ที่ผู้เรียนยังไม่อาจเข้าถึงได้
สำรวจของจริงซึ่งถ้าไม่มีการเปลี่ยนสัดส่วนขนาดและระยะเวลาแล้วจะไม่สามารถ
สำรวจได้อย่างมีประสิทธิผล
สร้างสถานที่และวัตถุด้วยคุณภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิม
มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นที่อยู่ในที่ห่างไกลออกไปโดยผ่านทางสมาคมที่มีความสนใจ
ในเรื่องเดียวกัน
มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลจริงในโลกความจริงเสมือน
มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งที่เป็นความเป็นจริงเสมือน
อินเทอร์เน็ต
(Internet)
อินเทอร์เน็ต
คือ
ระบบของการเชื่อมโยงข่ายงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มากครอบคลุมไปทั่วโลก
เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการสื่อสารข้อมูล เช่นการบันทึกเข้าระยะไกล
การถ่ายดอนแฟ้ม ฯลฯ
อินเทอร์เน็ต คือ ข่ายของข่ายงาน (network
of networks) เนื่องจากเป็นข่ายงานขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงข่ายงานทั้งหมดทั่วโลกเข้าด้วยกัน
โดยที่อินเทอร์เน็ตตั้งอยู่ในไซเบอร์สเปซ
ซึ่งเป็นจักรวาลที่สร้างขึ้นโดยระบบคอมพิวเตอร์
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าไปอยู่ในไซเบอร์สเปซได้
โดยใช้โมเด็มและติดต่อกับผู้ใช้คนอื่นได้
การใช้งานในอินเทอร์เน็ต
เราสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการทำงานได้มากมายหลากหลายประเภทดังนี้
1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Mail : E-Mail) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า อี-เมล์
เป็นการรับส่งข้อความผ่านขายงานคอมพิวเตอร์
ผู้ใช้สามารถส่งข้อความจากข่ายงานที่ตนใช้อยู่ไปยังผู้รับอื่น ๆ ได้ทั่วโลก
การถ่ายโอน (File Transfer
Protocol : FTP) เป็นการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลประเภท
ต่าง ๆ
จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นมาบรรจุลงไว้ในคอมพิวเตอร์ของเรา
การขอเข้าใช้ระบบจากระยะไกล
โปรแกรมที่ใช้ในอินเทอร์เน็ตเพื่อการขอเข้าไปใช้
ระบบจากระบบโปรแกรมหนึ่งที่รู้จักกันดี คือ
เทลเน็ต (Telnet) เป็นการให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปใช้ทรัพยากรหรือขอใช้บริการจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
การค้นหาแฟ้ม
เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นระบบขนาดใหญ่ที่ครอบคลลุมกว้างขวาง
ทั่วโลก โดยมีแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ
มากมายอยู่ในระบบผู้ใช้สามารถสืบค้นมาใช้งานได้
การค้นหาข้อมูลด้วยระบบเมนู
เป็นการใช้ในระบบยูนิกซ์เพื่อค้นหาข้อมูลและขอใช้
บริการข้อมูลด้วยระบบเมนู
กลุ่มอภิปรายหรือกลุ่มข่าว (Newsgroup) เป็นการรวมกลุ่มของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่
สนใจเรื่องเดียวกันแลกเปลี่ยนข่าวสารหรือแนวคิดกัน
บริการสารสนเทศบริเวณกว้าง (เวส) (Wide Area
Information Server : WAIS)
เป็นผลการใช้เวสเพื่อเชื่อมโยงศูนย์ข้อมูลที่อยู่ในข่ายงานอินเทอร์เน็ตเข้าด้วยกัน
การสนทนาในข่ายงาน (Internet
Relay Chat : IRC) เป็นการสนทนากันของผู้ใช้โดย
มีการโต้ตอบกันทันทีโดยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันผ่านเครือข่าย
สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic
Publisher) หนังสือพิมพ์
วารสาร และนิตยสาร
เช่น TIME,ELLE โดยบรรจุเนื้อหาลงไปในเว็บไซต์ของตน
เวิลด์ไวด์เว็บ (World
Wide Web : WWW) หรือที่เรียกสั้น
ๆ ว่า “เว็บ” เป็นการสืบค้น
สารสนเทศที่อยู่ในอินเทอร์เน็ตในระบบข้อความหลายมิติโดยคลิกที่จุดเชื่อมโยง
อินเทอร์เน็ตในการศึกษา
เราสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการศึกษาได้หลายรูปแบบ
ได้แก่
การค้นคว้า
เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นข่ายงานที่รวมข่ายงานต่าง ๆ มากมายไว้
ด้วยกันจึงทำให้สามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่าง
ๆ ทั่วโลก
การเรียนและติดต่อสื่อสาร
ผู้สอนและผู้เรียนสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการเรียนติด
ต่อสื่อการกันได้โดยที่ผู้สอนจะเสนอเนื้อหาบทเรียนโดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ผู้เรียนเปิดอ่านเรื่องราวและภาพประกอบที่เสนอในแต่ละบทเรียน
การศึกษาทางไกล
การใช้อินเทอร์เน็ตในการศึกษาทางไกลอาจจะใช้ในรูปแบบของ
แนวโนม้ของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง มีผลทำให้มีความเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมและเทคโนโลยีในระยะที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันพบว่าประเด็นที่น่าสนใจที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะต่าง
ๆ ก่อให้เกิดนวัตกรรมประเภทต่าง ๆ ได้ดัง
ต่อไปนี้
1. การรวมตัวของสื่อ เมื่อคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาท ทำให้มีการนำสื่อเข้ามาใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ในลักษณะสื่อประสม เช่น การใช้แผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ การใช้แผ่นซีดี-รอมบันทึก
ข้อมูล เป็นต้น
1. สื่อขนาดเล็ก สื่อหลายชนิดที่เป็นนวัตกรรมที่ใช้กันอยูในขณะนี้เป็นวัสดุและอุปกรณ์ ที่มีใช้กันมานานแล้วแต่ในปัจจุบันได้อาศัยเทคโนโลยีช่วยในการคิดค้นและพัฒนาให้มีขนาดเล็ก
ลงและใช้ได้สะดวกขึ้น เช่น กล้องถ่ายวีดิทัศน์ การผลิตแผ่นซีดี ฯลฯ
3. ความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนอกจากจะมีนาดเล็กลงแล้ว ยังมีสมรรถนะในการทำงานสูงกว่าเดิมมาก สามารถบรรจุเนื้อที่บันทึกข้อมูลได้มาก ทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีราคาถูกลง ทำให้โรงเรียนต่าง ๆ สามารถซื้อมาใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างทั่วถึง
2. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ปัจจุบันการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมทำให้ผู้เรียนในซึก โลกหนึ่งสามารถเรียนรู้ไปได้พร้อมกับผู้เรียนอีกซีกโลกหนึ่ง โดยที่ผุ้สอนและผู้เรียนไม่จำเป็นต้อง
อยู่สถานที่เดียวกันก็สามารถทำให้เกิดการเรียนการสอนร่วมกันได้โดยการสอนในลักษณะการประชุมทางไกลโดยวีดิทัศน์ (Video Teleconference)
3. อินเทอร์เน็ต และเวิร์ล ไวด์ เว็บ อินเทอร์เน็ตเป็นข่ายงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ มากครอบคลุมไปทั่วโลกและให้บริการแก่ผู้ใช้ได้หลายสิบล้านคนทั่วโลกในบริการต่าง ๆ กัน
6. ทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway) เป็นพื้นฐานโครงสร้างสารสนเทศที่เป็นแนวคิดในการที่จะนำข่ายงานคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงเชื่อมโยงบ้าน โรงเรียน และสถานที่ทำงานต่าง ๆ ด้วยการใช้สื่อที่สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
ต่อไปนี้
1. การรวมตัวของสื่อ เมื่อคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาท ทำให้มีการนำสื่อเข้ามาใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ในลักษณะสื่อประสม เช่น การใช้แผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ การใช้แผ่นซีดี-รอมบันทึก
ข้อมูล เป็นต้น
1. สื่อขนาดเล็ก สื่อหลายชนิดที่เป็นนวัตกรรมที่ใช้กันอยูในขณะนี้เป็นวัสดุและอุปกรณ์ ที่มีใช้กันมานานแล้วแต่ในปัจจุบันได้อาศัยเทคโนโลยีช่วยในการคิดค้นและพัฒนาให้มีขนาดเล็ก
ลงและใช้ได้สะดวกขึ้น เช่น กล้องถ่ายวีดิทัศน์ การผลิตแผ่นซีดี ฯลฯ
3. ความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนอกจากจะมีนาดเล็กลงแล้ว ยังมีสมรรถนะในการทำงานสูงกว่าเดิมมาก สามารถบรรจุเนื้อที่บันทึกข้อมูลได้มาก ทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีราคาถูกลง ทำให้โรงเรียนต่าง ๆ สามารถซื้อมาใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างทั่วถึง
2. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ปัจจุบันการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมทำให้ผู้เรียนในซึก โลกหนึ่งสามารถเรียนรู้ไปได้พร้อมกับผู้เรียนอีกซีกโลกหนึ่ง โดยที่ผุ้สอนและผู้เรียนไม่จำเป็นต้อง
อยู่สถานที่เดียวกันก็สามารถทำให้เกิดการเรียนการสอนร่วมกันได้โดยการสอนในลักษณะการประชุมทางไกลโดยวีดิทัศน์ (Video Teleconference)
3. อินเทอร์เน็ต และเวิร์ล ไวด์ เว็บ อินเทอร์เน็ตเป็นข่ายงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ มากครอบคลุมไปทั่วโลกและให้บริการแก่ผู้ใช้ได้หลายสิบล้านคนทั่วโลกในบริการต่าง ๆ กัน
6. ทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway) เป็นพื้นฐานโครงสร้างสารสนเทศที่เป็นแนวคิดในการที่จะนำข่ายงานคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงเชื่อมโยงบ้าน โรงเรียน และสถานที่ทำงานต่าง ๆ ด้วยการใช้สื่อที่สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
การประยุกต์ทฤษฎีมาใช้ในนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
การจัดการเรียนการสอนปัจจุบันได้นำทฤษฎีและหลักการแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะต่างๆมาใช้ร่วมกันอย่างผสมผสานเพื่อก่อให้เกิดคุณภาพของการสอนเทคโนโลยีทางการศึกษาการใช้วัสดุอุปกรณ์เข้าช่วยในการจัดการเรียนการสอนได้มีบทบาทอย่างมากในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการสอน
ให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดประสงค์ทำให้เกิดสภาพการณ์ที่มั่นใจได้ว่าจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ของบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ 4 ประการ คือ
1. ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแข็งขัน
ด้วยความพึงพอใจและเต็มใจที่จะเรียนรู้
2. ให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับอย่างฉับพลัน
ช่วยกระตุ้นผู้เรียนต้องการจะเรียนรู้ต่อไป
3. ให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงด้วยการให้ประสบการณ์แห่งความสำเร็จเรียนรู้ด้วยความพอใจ
4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เป็นขั้นตอนทีละน้อย
ไม่เกิดความคับข้องใจ เรียนด้วยความสนใจ พอใจ และไม่เบื่อหน่าย
จากหลักการและแนวคิดข้างต้นจะเห็นว่าการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน
การจัดทำแผนภาพแผนภูมิหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนซึ่งไม่เคยใช้มาก่อนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดให้มีการสร้างจัดหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการสอนเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนการจัดให้ครูทำบันทึกการสอนตามลำดับขั้นตอนการสอนของกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งครูไม่เคยทำการบันทึกมาก่อนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยสร้างบทเรียนสำเร็จรูปใช้ในการเรียนการสอนอย่างนี้เป็นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาขอเสนอแนวดำเนินการการจัดทำบทเรียนสำเร็จรูป
และบทเรียนโปรแกรม เพื่อใช้ในการเรียนการสอน
แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง
ๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม
และการเมือง มีผลทำให้มีความเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมและเทคโนโลยีในระยะที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันพบว่าประเด็นที่น่าสนใจที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะต่าง
ๆ ก่อให้เกิดนวัตกรรมประเภทต่าง ๆ ได้ดัง
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่21มีแนวโน้มที่จะพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์ เช่น
การเข้าภาษาสื่อสารของมนุษย์ โครงข่ายประสาทเทียม ระบบจำลอง ระบบเสมือนจริง
โดยพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้นลดข้อผิดพลาดและป้องกันไม่ให้นำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย
แนวโน้มใน ด้านบวก
แนวโน้มใน ด้านบวก
การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์
โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก
ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ช่องทางการดำเนินธุรกิจ เช่น
การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผ่อนคลายด้วยการดูหนัง
ฟังเพลง และบันเทิงต่างๆ เกมออนไลน์
การพัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถฟังและตอบเป็นภาษา
พูดได้ อ่านตัวอักษรหรือลายมือเขียนได้ การแสดงผลของคอมพิวเตอร์ได้เสมือนจริง
เป็นแบบสามมิติ และการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เสมือนว่าได้อยู่ในที่นั้นจริง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ
ฐานข้อมูล ฐานความรู้ เพื่อพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญและการจัดการความรู้
การศึกษาตามอัธยาศัยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
(e-learning) การเรียนการสอนด้วยระบบโทรศึกษา
(tele-education) การค้นคว้าหาความรู้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากห้องสมุดเสมือน (virtual library)
การพัฒนาเครือข่ายโทร
คมนาคม ระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย เครือข่ายดาวเทียม
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้สามารถค้นหาตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ
การบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่
โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ
ดำเนินการของภาครัฐที่เรียกว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) รวมทั้งระบบฐานข้อมูลประชาชน
หรือ e-citizen
แนวโน้มใน
ด้านลบ
ความผิดพลาดในการทำงานของระบบ
คอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบและพัฒนา
ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา
การละเมิดลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญา
การทำสำเนาและลอกเลียนแบบ
การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
การโจรกรรมข้อมูล การล่วงละเมิด การก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์
ระบบปัญญาประดิษฐ์
ปัญญาประดิษฐ์
(Artificial Intelligence) เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถในการตอบสนองกับความต้องการของ
มนุษย์ได้ ให้มีพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์ มีความเข้าใจภาษามนุษย์
รับรู้ได้และตอบสนองด้วยการแสดงออกทางพฤติกรรมและภาษามนุษย์
ปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วยสาขาวิชาต่างๆ ได้แก่
ปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วยสาขาวิชาต่างๆ ได้แก่
ภาษาธรรมชาติ (Natural
Language)
โครงข่าย
ประสาทเทียม (Artificial Neural Network)
ระบบผู้เชี่ยวชาญ
(Expert System)
ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์
(Robotics)
ภาษาธรรมชาติ (Natural Language)
ภาษาธรรมชาติกับการประยุกต์ใช้ภาษาไทยบน คอมพิวเตอร์
เป็นนำวิทยาการด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีด้านการประมวลผลภาษา ธรรมชาติมาพัฒนาโปรแกรมประมวลผลภาษาไทยบนคอมพิวเตอร์เพื่อให้ใช้งานได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย การประมวลผลตัวอักษร (Character)คำ
(Word) ข้อความ (Text) ภาพ (Image) และความรู้ด้านภาษาศาสตร์ (Linguistics)
โครงข่ายประสาทเทียม (Artificial Neural Network) การสร้างคอมพิวเตอร์ที่จำลองเอาวิธีการทำงานของสมองมนุษย์ หรือทำให้คอมพิวเตอร์รู้จักคิดและจดจำในแนวเดียวกับโครงข่ายประสาทของมนุษย์ เพื่อช่วยให้คอมพิวเตอร์ฟังภาษามนุษย์ได้เข้าใจ อ่านออก และรู้จำได้ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น สมองกล
เทคโนโลยีการสื่อสาร ทุกที่ ทุกเวลา
ยูบิควิตัสเทคโนโลยี (Ubiquitous technology) สังคมยูบิควิตัส (Ubiquitous society) หรือ ยูบิคอมบ์ (Ubicomp) เป็นทำให้เกิดสภาพแวดล้อมของการสื่อสารใหม่และเป็นแนวโน้มของสังคมสารสนเทศ ยูบิควิตัส เป็นภาษาลาติน มีความหมายว่า อยู่ในทุกแห่ง หรือ มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง มาร์ค ไวเซอร์ (Mark Weiser)แห่งศูนย์วิจัย Palo Alto ของบริษัท Xerox ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำนิยาม "ยูบิควิตัสคอมพิวติง" ไว้ว่า เราสามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้ทุกหนทุกแห่ง-สภาพแวดล้อมที่สามารถใช้ คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับเครือข่าย ไม่ว่าจะอยู่ในที่แห่งใด ฃ
โครงข่ายประสาทเทียม (Artificial Neural Network) การสร้างคอมพิวเตอร์ที่จำลองเอาวิธีการทำงานของสมองมนุษย์ หรือทำให้คอมพิวเตอร์รู้จักคิดและจดจำในแนวเดียวกับโครงข่ายประสาทของมนุษย์ เพื่อช่วยให้คอมพิวเตอร์ฟังภาษามนุษย์ได้เข้าใจ อ่านออก และรู้จำได้ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น สมองกล
เทคโนโลยีการสื่อสาร ทุกที่ ทุกเวลา
ยูบิควิตัสเทคโนโลยี (Ubiquitous technology) สังคมยูบิควิตัส (Ubiquitous society) หรือ ยูบิคอมบ์ (Ubicomp) เป็นทำให้เกิดสภาพแวดล้อมของการสื่อสารใหม่และเป็นแนวโน้มของสังคมสารสนเทศ ยูบิควิตัส เป็นภาษาลาติน มีความหมายว่า อยู่ในทุกแห่ง หรือ มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง มาร์ค ไวเซอร์ (Mark Weiser)แห่งศูนย์วิจัย Palo Alto ของบริษัท Xerox ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำนิยาม "ยูบิควิตัสคอมพิวติง" ไว้ว่า เราสามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้ทุกหนทุกแห่ง-สภาพแวดล้อมที่สามารถใช้ คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับเครือข่าย ไม่ว่าจะอยู่ในที่แห่งใด ฃ
จุดเด่นของยูบิควิตัส
ได้แก่
การเชื่อมต่อกับเครือข่ายไม่ว่าผู้ใช้งาน
จะเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ต่างๆ
การ
สร้างสภาพการใช้งานโดยผู้ใช้ไม่รู้สึกว่ากำลังใช้คอมพิวเตอร์อยู่
การให้บริการที่สามารถเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ทั้ง
สถานที่ อุปกรณ์ ปัจจัยทางกายภาพอื่นๆ
สารสนเทศ
กับการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้กับการศึกษาได้แก่ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI
(Computer Aided Instruction) เทคโนโลยีการสื่อสารที่ก้าวหน้าขึ้นทำให้รูปการเรียนที่จำกัดด้วยชั้นเรียน
ขนาดเล็กกลายเป็นการเรียนด้วยระบบการสื่อสารทางไกลหรือโทรศึกษา (tele-education) เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาและแก้ปัญหาการขาดแคลนอาจารย์ผู้สอน
ต่อมาเมื่ออินเทอร์เน็ตได้พัฒนาอย่างรวดเร็วและได้รับความนิยมมากขึ้นจึงได้
พัฒนาเป็น การเรียนการสอนผ่านเว็บเพจ WBI (Web Based
Instruction) หรือWBL (Web Based Learning) และได้มีการพัฒนาปรับปรุงเป็นสื่อการเรียนการสอนแบบ e-Learning
(Electronics Learning)
e-Learning คือ การนำเอาเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ การอบรม การ
e-Learning คือ การนำเอาเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ การอบรม การ
ทดสอบและประเมินผลผ่านเว็บเพจ
Virtual
Library Virtual Library หรือห้องสมุดเสมือน
เป็นรูปแบบการให้บริการอีกช่องทางหนึ่งของห้องสมุดในปัจจุบัน
โดยให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นข้อมูลและเข้าถึงข้อมูลที่มีอยู่ในห้องสมุดเสมือน ได้
ข้อมูลที่ให้บริการจะอยู่ในรูปของข้อมูลดิจิทัล ทำให้เปิดโอกาสในการเรียนรู้
เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดเวลา สามารถเข้าสู่ข้อมูลที่ให้บริการได้จากทุกแห่ง
บริการของ Virtual Library ได้แก่ บริการสืบค้นข้อมูลรายการทรัพยากรสารสนเทศ (Online Public Access Catalog-OPAC) บริการฐานข้อมูลออนไลน์ บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ บริการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ บริการแนะนำสารสนเทศที่น่าสนใจ
นาโนเทคโนโลยี อาณาจักรจิ๋ว นวัตกรรมแห่งอนาคต
นาโทเทคโนโลยี กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งกับชีวิตประจำวันของเราและเป็นที่กล่าวขานกัน อย่างมากในขณะนี้ คำว่า "นาโน (nano)" แปลว่า 1 ในพันล้านส่วน เช่น นาโนวินาที เท่ากับ 10ยกกำลัง-9หรือ 0.000000001วินาที 1 นาโนเมตร เท่ากับ 1/1,000,000,000 เมตร หรือ 0.000000001 เมตร
นาโนเทคโนโลยี คือ การทำให้โครงสร้างพื้นฐานของโมเลกุลขนาดระดับ 1 ถึง 100 นาโนเมตร กลายเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์นาโนที่มีประโยชน์ สามารถนำมาใช้สอยได้ ซึ่งต้องอาศัยคุณสมบัติทางฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา ของระบบที่อยู่กึ่งกลางระหว่างอะตอม โมเลกุล กับวัตถุขนาดใหญ่ และสามารถควบคุมคุณสมบัติทั้งหลายได้
ตัวอย่างของความก้าวหน้าด้านนาโนเทคโนโลยี
บริการของ Virtual Library ได้แก่ บริการสืบค้นข้อมูลรายการทรัพยากรสารสนเทศ (Online Public Access Catalog-OPAC) บริการฐานข้อมูลออนไลน์ บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ บริการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ บริการแนะนำสารสนเทศที่น่าสนใจ
นาโนเทคโนโลยี อาณาจักรจิ๋ว นวัตกรรมแห่งอนาคต
นาโทเทคโนโลยี กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งกับชีวิตประจำวันของเราและเป็นที่กล่าวขานกัน อย่างมากในขณะนี้ คำว่า "นาโน (nano)" แปลว่า 1 ในพันล้านส่วน เช่น นาโนวินาที เท่ากับ 10ยกกำลัง-9หรือ 0.000000001วินาที 1 นาโนเมตร เท่ากับ 1/1,000,000,000 เมตร หรือ 0.000000001 เมตร
นาโนเทคโนโลยี คือ การทำให้โครงสร้างพื้นฐานของโมเลกุลขนาดระดับ 1 ถึง 100 นาโนเมตร กลายเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์นาโนที่มีประโยชน์ สามารถนำมาใช้สอยได้ ซึ่งต้องอาศัยคุณสมบัติทางฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา ของระบบที่อยู่กึ่งกลางระหว่างอะตอม โมเลกุล กับวัตถุขนาดใหญ่ และสามารถควบคุมคุณสมบัติทั้งหลายได้
ตัวอย่างของความก้าวหน้าด้านนาโนเทคโนโลยี
วัสดุ ฉลาด (Smart materials)
ตัวรับรู้
หรือเซ็นเซอร์ (Sensors)
โครงสร้างชีวภาพขนาดนาโน
(Nanoscale Biostructures)
คอมพิวเตอร์แบบควอนตัม
คอมพิวเตอร์ดีเอ็นเอ
รัฐบาล
อิเล็กทรอนิกส์
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) คือ วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่อข่ายสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินการของภาครัฐ ปรับปรุงการให้บริการแก่ประชาชน บริการข้อมูลและสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ประชาชนได้รับการบริการจากภาครัฐที่ดีขึ้น มีความใกล้ชิดกับภาครัฐมากขึ้น อีกทั้งทำให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศได้ดีขึ้นด้วย
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) คือ วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่อข่ายสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินการของภาครัฐ ปรับปรุงการให้บริการแก่ประชาชน บริการข้อมูลและสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ประชาชนได้รับการบริการจากภาครัฐที่ดีขึ้น มีความใกล้ชิดกับภาครัฐมากขึ้น อีกทั้งทำให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศได้ดีขึ้นด้วย
ที่มารัฐบาล
อิเล็กทรอนิกส์ของไทย โครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ดำเนินการโดยดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อมุ่งให้เห็นผลเป็นรูปธรรมในระยะ 2 ปี ดังนี้
1.การให้บริการต่อสาธารณะ โดยจะผลักดันเพื่อให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการ
การ
ให้บริการข้อมูลที่ดี มีมาตรฐาน และคุณภาพแก่สาธารณะ อันได้แก่ ประชาชน ภาคธุรกิจ
และ ภาครัฐ
การให้
บริการที่ดีผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็น 4 ท. คือ ที่เดียว ทันใด ทั่วไทย ทุกเวลา
2.การบริหารจัดการของรัฐ
การ บริหารจัดการด้านการเงินระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจ
การจัดซื้อจัดจ้างผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่รวด
เร็ว โปร่งใส ยุติธรรม
การ
บริหารข้อมูลและทรัพยากรภาครัฐ
3.การติดต่อสื่อสาร
และประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐ
ภายในและระหว่าง
กระทรวง
ระหว่างส่วนกลาง
ส่วนภูมิภาค และองค์กรส่วนท้องถิ่น
ตัวอย่างของรัฐบาล
อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย
การติดตามแกะรอยคนร้าย ปัจจุบันมี 3 ระบบงานที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
คือ (1) ระบบฐานข้อมูลประวัติอาชญากร หรือ CDOS
(Criminals Database Operating System) (2) ระบบตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมืออัตโนมัติ
หรือ AFIS (Automated Fingerprint Identification System) และ (3) ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบภาพใบหน้าคนร้าย
หรือ PICASSO (police Identikit: Computer Assisted Suspect Sketching
Outfit)
ระบบสารสนเทศสำหรับงานประปา
บริการเบ็ดเสร็จภายในคราวเดียว คือ จดมาตรจำนวนการใช้น้ำ พิมพ์ใบแจ้งหนี้
และส่งให้ลูกค้าได้ทันที โดยใช้เวลาทั้งสิ้นไม่เกิน 10 นาที ผู้ใช้บริการสามารถนำใบแจ้งหนี้ไปชำระเงินที่สาขาของการประปานครหลวง
หรือที่ทำการไปรษณีย์ หรือที่ Counter Service หรือชำระผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยบัตรเครดิต
การยื่นแบบแสดงและชำระภาษีผ่านทางอินเทอร์เน็ต
เข้าสู่ระบบได้ที่ www.rd.go.th มีบริการ 2 แบบ คือ 1.การบริการแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมโปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้ และ 2. การยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต
จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
การประมูลแบบออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต
เว็บไวต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ คือ www.gprocurement.go.th หรือเว็บไซต์ของหน่วยงานที่จัดประมูล
ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริการสาธารณะผ่านอิน
เทอร์เน็ต บริการด้านงานทะเบียนราษฎรผ่านทางอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ www.dopa.go.th และ www.khonthai.com ของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง
เทคโนโลยีข้อมูลและการสื่อสารแบบใหม่
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีข้อมูลและการสื่อสารแบบใหม่ (ICT) จะยังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
อินเตอร์เนตจึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยปฏิวัติวิธีที่จะสื่อสารความรู้
ผ่านอีเมลล์ สื่อสังคมออนไลน์ ทำให้ความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ
สื่อสารได้ในอาณาบริเวณที่กว้างขึ้น
วารสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์จะสามารถเผยแพร่ได้ในทุกมุมของโลก
จนทำให้ความรู้กลายเป็นทรัพยากรที่เคลื่อนที่ได้ผ่านระบบอินเตอร์เนต
และไม่ได้ติดอยู่กับสถานศึกษาและท้องถิ่นอีกต่อไป
ทำให้การศึกษาในระดับอุดมศึกษาทำงาน ประสานงาน แลกเปลี่ยนความรู้ กิจกรรม
ได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้ในประเด็นเฉพาะต่างๆ
มากยิ่งขึ้น
ความเข้มข้นของเนื้อหาสาระแต่ละประเด็นจะถูกตีความจากความร่วมมือของเครือข่าย
และก่อให้เกิดสถาบันในท้องถิ่นต่างๆ ที่จะทำงานเป็นเครือข่ายมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามกระบวนการเหล่านี้ ต้องการทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ การช่วยเหลือด้านเทคนิค การฝึกอบรม และการอัพเกรดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแม้ว่าแนวโน้มราคาในการเข้าถึงจะต่ำลงเรื่อยๆ แต่ในปัจจุบัน ก็ยังมีราคาในภาพรวมสูง ซึ่งจะส่งผลต่อบางประเทศและสถาบันการศึกษาที่ขาดความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยี เช่น อินเตอร์เนตพื้นฐาน ความเร็วอินเตอร์เนต ก็จะทำให้ความสามารถในการแข่งขันน้อยลง ในทางกลับกัน ประเทศที่มีปัจจัยด้านเทคโนโลยี ICT ที่เอื้อก็จะช่วยยกระดับความสามารถการแข่งขันมากขึ้นด้วย
แต่อย่างไรก็ตามกระบวนการเหล่านี้ ต้องการทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ การช่วยเหลือด้านเทคนิค การฝึกอบรม และการอัพเกรดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแม้ว่าแนวโน้มราคาในการเข้าถึงจะต่ำลงเรื่อยๆ แต่ในปัจจุบัน ก็ยังมีราคาในภาพรวมสูง ซึ่งจะส่งผลต่อบางประเทศและสถาบันการศึกษาที่ขาดความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยี เช่น อินเตอร์เนตพื้นฐาน ความเร็วอินเตอร์เนต ก็จะทำให้ความสามารถในการแข่งขันน้อยลง ในทางกลับกัน ประเทศที่มีปัจจัยด้านเทคโนโลยี ICT ที่เอื้อก็จะช่วยยกระดับความสามารถการแข่งขันมากขึ้นด้วย
การก่อตัวของเครือข่ายความรู้ระดับนานาชาติ
จากกระแสความเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์และความก้าวหน้าทาง ICT ทำให้การตอบสนองจากความต้องการของตลาดโลกหลังยุคอุตสาหกรรม
เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางของอุตสาหกรรมการบริการและเศรษฐกิจฐานความรู้
ภาครัฐในหลายประเทศจึงให้ความสำคัญในเรื่องของการลงทุนด้านการศึกษา
ประกอบการเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการด้านการศึกษา
พร้อมทั้งปรับนโยบายเรื่องวีซ่า
หลักเกณท์เข้าประเทศที่จะช่วยชักจูงนักศึกษาเข้าสู่สถาบันและประเทศ
ซึ่งประเทศก็ได้ประโยชน์จากการเข้ามาของนักศึกษา ทำให้นักศึกษา
ผู้ปกครองกลายสภาพเป็นลูกค้า
เกิดการแข่งขันของสถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัยที่สูงขึ้น
แต่ละสถาบันจึงต้องพยายามสร้างความเป็นนานาชาติให้กับมหาวิทยาลัยและสถาบัน
โดยการสร้างโครงการพิเศษและหลักสูตรต่างๆ เพื่อตอบสนองการต้องการ ซึ่งจะเห็นได้ชัดจากแนวโน้มของการเคลื่อนที่ของนักศึกษา
โดยปัจจุบันมีนักศึกษามากกว่า 2.5 ล้านคนที่กำลังเรียนอยู่นอกประเทศบ้านเกิดและคาดว่าน่าจะเพิ่มขึ้นถึง 7 ล้านคนในปี 2020 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาจากเอเชียที่เข้าสู่มหาวิทยาลัยและสถาบันชั้นนำของอเมริกาเหนือ
ยุโรป และ ออสเตเรียที่มีชื่อเสียง
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยและสถาบันเหล่านี้ พยายามที่จะสร้างเครือข่าย แฟรนไชส์ และความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆ ของโลกเพื่อยกระดับมาตรฐานของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่ต้องการของท้องถิ่นในภูมิภาคต่างๆ ผ่านรับรองการศึกษาและวุฒิปริญญา ทำให้เกิดหลักสูตรใหม่ๆ ในท้องถิ่น และนำมาชึ่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทั้งความรู้และบุคลากรทางการศึกษาอย่าง อาจารย์ที่เดินทางอย่างเสรีมากขึ้น หรือทำผ่านเครือข่ายและเทคโนโลยีสมัยใหม่
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยและสถาบันเหล่านี้ พยายามที่จะสร้างเครือข่าย แฟรนไชส์ และความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆ ของโลกเพื่อยกระดับมาตรฐานของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่ต้องการของท้องถิ่นในภูมิภาคต่างๆ ผ่านรับรองการศึกษาและวุฒิปริญญา ทำให้เกิดหลักสูตรใหม่ๆ ในท้องถิ่น และนำมาชึ่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทั้งความรู้และบุคลากรทางการศึกษาอย่าง อาจารย์ที่เดินทางอย่างเสรีมากขึ้น หรือทำผ่านเครือข่ายและเทคโนโลยีสมัยใหม่
ซึ่งในเรื่องเครือข่ายความรู้ก็ไม่ได้จำกัดวงอยู่ในภาคการศึกษาเท่านั้น
ความร่วมมือด้านวิชาการก็เริ่มเกิดจากความต้องการของภาคอุตสาหกรรมธุรกิจที่เข้ามามีบทบาทในการสร้างแรงงานที่มีทักษะตามที่ต้องการ
เช่น กรณีที่ภาคธุรกิจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สร้างความร่วมมือในการผลิตบัณทิตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีมากขึ้น
และตรงความต้องการ เพราะสัดส่วนของผู้เรียนในระดับมหาวิทยาลัยด้าน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีความต้องการมากขึ้นในตลาดโลก
เพราะมีผลทางตรงกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ในหลายพื้นที่ขาดนักศึกษาด้านนี้ (เช่น
จีนมีนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 37
%เกาหลี 39 % สิงคโปร์ 31 อินโด 26 ญี่ปุ่น 23 % ส่วนไทย 19 %)
แต่อย่างไรก็ตาม
ในอีกด้านของความร่วมมือระดับโลกนั้น
ภายในแต่ละภูมิภาคก็พยายามที่จะสร้างบทบาทนำด้านการศึกษา ตัวอย่างที่น่าสนใจ คือ
กาตาร์ สิงค์โปร์ และสหรัฐอาหรับเอมมิเรตท์
ภาครัฐและมหาวิทยาลัยมีนโยบายและเป้าหมายที่ชัดเจนในการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค (Hubs) ด้านการศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น