ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อก

หน่วยที่ 6

หน่วยที่ 6 นวัตกรรมการเรียนการสอน
หน่วยที่ 6
 ความหมาย
โรงเรียนภายในโรงเรียน  คือโรงเรียนสาธารณะขนาดใหญ่ที่มีการแบ่งเป็นขนาดเล็ก
หลายๆ โรงเรียน มีอิสระในระบบการจัดการและแยกเป็นนิติบุคคล ในแต่ละโรงเรียนจะมีการบริหารงบประมาณ และการวางแผนโปรแกรมต่างๆ เป็นของตนเอง  แต่การดำเนินการด้าน      ความปลอดภัย  และอาคารสถานที่ยังคงประสานกับโรงเรียนขนาดใหญ่และใช้พื้นที่สาธารณะร่วมกัน รูปแบบของการจัดโรงเรียน ภายในโรงเรียนเป็นลักษณะของการแสวงหาผล ประโยชน์และความสำเร็จร่วมกัน ของโรงเรียนทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก

ลักษณะองค์กรหลักของโรงเรียนภายในโรงเรียน
 คือ การกระจายอำนาจการบริหารการจัดการต่าง ไปสู่โรงเรียนขนาดเล็กที่ตั้งขึ้นในโรงเรียนและหลักสูตรในแต่ละชั้นเรียนจัดแบบโรงเรียนขนาดเล็ก
รูปแบบการจัดโรงเรียนภายในโรงเรียน
รูปแบบการจัดโรงเรียนภายในโรงเรียนที่ได้ผลก็คือ การนำหลักการจัดโรงเรียนขนาดเล็ก    มาจัด ซึ่งสรุปได้ 7 รูปแบบ ได้แก่ 
              รูปแบบที่ 1  การจัดการเรียนรู้แบบรวมชั้นเรียน ประกอบด้วยการจัดการเรียนรู้แบบช่วงชั้นและการเรียนรู้แบบคละชั้น โดยวิธีการยุบชั้นเรียน ให้โรงเรียนที่มีครูไม่ครบชั้นสามารถจัด         การเรียนการสอนได้โดยไม่ทิ้งห้องเรียน ซึ่งโรงเรียนสามารถปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่                 โรงเรียนบ้านย่านยาว อ.คีรีรัฐนิคม สพท.สุราษฎร์ธานี เขต 2, โรงเรียนบ้านโคกสว่าง อ.ตาคลี สพท.นครสวรรค์ เขต 3 และ โรงเรียน  บ้านทุ่งหัวพรหม อ.เมือง สพท. นครปฐม เขต 1
               รูปแบบที่ 2  การบูรณาการหลักสูตร เป็นการนำความรู้มารวบรวมประมวลไว้ในหน่วยเดียวกัน สำหรับโรงเรียนที่มีครูไม่ครบชั้นมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้อง        กับสภาพปัญหาที่เป็นอยู่รวมทั้งการนำหลักสูตรไปใช้ให้บังเกิดผลตามที่ต้องการ สำหรับ            การบูรณาการเนื้อหารายวิชา สามารถดำเนินการได้โดยศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตร จากนั้นนำวัตถุประสงค์ตลอดจนเนื้อหาการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มวิชาที่สอดคล้องกันมาเชื่อมโยง สู่การจัดทำหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ แล้วนำมากำหนดกิจกรรม เพื่อให้สามารถจัดการเรียนรู้                ได้ครั้งเดียวพร้อมกันในแต่ละช่วงชั้น โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่ สพท.ประจวบคีรีขันธ์      เขต 2, โรงเรียนบ้านเกาะลานและโรงเรียนบ้านคลองไม้แดง สพท.ตาก  เขต 1,                       โรงเรียนบ้านสายน้ำทิพย์ สพท.นครสวรรค์ เขต 3 และ โรงเรียนบ้านตะพุนทอง อ.เมือง สพท.ระยอง เขต 1
                 รูปแบบที่ 3  ความร่วมมือจากชุมชน เพื่อแก้ปัญหาที่สำคัญและเร่งด่วนของทุก สพท.        ในเรื่องการขาดแคลนครู งบประมาณไม่เพียงพอ และขาดสื่อเทคโนโลยี โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา องค์กรท้องถิ่น เครือข่ายสถานศึกษา ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ซึ่งเป็นแรงสนับสนุนให้โรงเรียนขนาดเล็กได้รับการพัฒนาต่อยอดทั้งในด้าน    การบริหารจัดการ งบประมาณ ตลอดจนทรัพยากรต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่ สพท.กาญจนบุรี เขต 1, โรงเรียนวัดสามทอง อ.เมือง สพท.สงขลา เขต 1,โรงเรียนบ้านลานคา อ.บ้านไร่ สพท.อุทัยธานี และโรงเรียนบ้านหนองหัวช้าง อ.ท่าหลวง สพท.ลพบุรี เขต 2 
                 รูปแบบที่ 4  การใช้ ICT ในการพัฒนาคุณภาพ โดย สพท. หลายแห่งได้นำเทคโนโลยี    มาใช้อย่างหลากหลาย เช่น รถคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ (Mobile unit) เพื่อให้บริการนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ห่างไกล การส่งเสริมการเรียนการสอนด้วยการรับสัญญาณ การสอนทางไกลจากโรงเรียนไกลกังวลหัวหิน เป็นต้น โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่ สพท.พิษณุโลก เขต 2, โรงเรียนวัดสายลำโพงกลาง     อ.ท่าตะโก สพท.นครสวรรค์ เขต 3, โรงเรียนบ้านห้วยไคร้   อ.คลองหาด สพท.สระแก้ว เขต 1 และโรงเรียนบ้านหนองจานใต้ อ.ลำทะเมนชัย สพท.นครราชสีมา เขต 7
                รูปแบบที่  รูปแบบโรงเรียนเครือข่าย เป็นการร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนหลัก และโรงเรียนเครือข่ายในการวางแผนการจัดการศึกษา ตลอดจนผู้บริหารและครูได้รับ การพัฒนาจนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่ สพท.เชียงใหม่ เขต 2, โรงเรียนวัดชัยสุวรรณ อ.เชียรใหญ่ สพท.นครศรีธรรมราช เขต 3, โรงเรียนวัดดอนหวาย อ.สว่างอารมณ์ สพท.อุทัยธานี และ โรงเรียนเก่าน้อยโนนรังวิทยาเสริม อ.กมลาไสย สพท.กาฬสินธุ์ เขต 1
                  รูปแบบที่ 6  ผสมผสานด้วยวิธีการหลากหลาย สพท. เป็นการผสมผสานรูปแบบ ที่ 1-5ดังกล่าวข้างต้นมาดำเนินงาน นับว่าเป็นรูปแบบที่ทำให้โรงเรียนจำนวนมาก ประสบผลสำเร็จ        โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่ สพท. นครปฐม เขต 1, โรงเรียน บ้านดอนน้ำครก อ.เมือง สพท.น่าน เขต 1, โรงเรียนบ้านโคกถาวร อ.วานรนิวาส สพท. สกลนคร เขต 3 และ โรงเรียนบ้านงอมมด อ.ท่าปลา สพท.อุตรดิตถ์ เขต 2
                   รูปแบบที่ 7  การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เป็นรูปแบบที่มีผู้บริหารใช้ความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการสถานศึกษา มีวิสัยทัศน์ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีความเป็นประชาธิปไตยยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นที่ยอมรับของทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาตลอดจนมุ่งมั่นสร้างเครือข่ายการทำงาน โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่ โรงเรียนวัดสุทธาวาส อ.อินทร์บุรี สพท.สิงห์บุรี, โรงเรียนบ้านหมื่นเทพ    อ.หันคา สพท.ชัยนาท, โรงเรียนบ้านสงยางดอนไม้คูณ อ.ม่วงสามสิบ สพท. อุบลราชธานี เขต 1 และโรงเรียนบ้านจรวย อ.ลำดวน สพท.สุรินทร์ เขต 1
ประโยชน์ของโรงเรียนขนาดเล็ก 

              ใน ปี 1996 มีรายงานการศึกษา จาก National Carnegie Foundation   เกี่ยวกับโรงเรียน    ขนาดเล็กการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโรงเรียนขนาดเล็กมีการจัดสภาพแวดล้อม ที่ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้    มีความสุข ความปลอดภัยสูง  และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงอย่างต่อเนื่อง
ทำให้มีการนำประโยชน์ของการจัดโรงเรียนขนาดเล็กมาจัดเป็นโรงเรียนภายในโรงเรียน เมื่อนำวิธีการจัดการมาใช้ทำให้เกิดประโยชน์ดังนี้
               1.   สามารถปฏิรูปหลักสูตรและการสอน กลยุทธ์  และวิธีการต่างๆ ให้เหมาะสมกับผู้เรียน               
               2.   การติดต่อระหว่างระหว่าง นักศึกษา และ อาจารย์   ในโรงเรียนขนาดเล็กทำได้ง่ายทำให้เกิดความเข้าใจกันมากขึ้น
               3.   ครูในโรงเรียนขนาดเล็ก สามารถดูแลนักเรียนได้ทั่วถึงมากกว่า โรงเรียนขนาดใหญ่
               4.   นักเรียนนักศึกษาจะมีความรู้สึกผูกพันกับโรงเรียนมากกว่า  และยังส่งเสริมทัศนคติ        ด้านบวกให้แก่นักเรียนด้วย
               5.   นักเรียนส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆของทางโรงเรียนมากขึ้น
               6.   โรงเรียนขนาด เล็กโดยทั่วไปมีปัญหาวินัยน้อยลงกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่.

ตัวอย่าง การจัดการศึกษาแบบโรงเรียนในโรงเรียนภายในประเทศไทยของโรงเรียนท่านางแนววิทยายน
ประสบการณ์จากการศึกษาเอกสารและจากประสบการณ์ตรงของโรงเรียนทำให้           กล่าวได้ว่า   การปฏิรูปการเรียนการสอนจะดำ เนินการอย่างราบรื่นและเป็นระบบไม่ได้ หากโรงเรียนไม่พัฒนาการบริหารจัดการให้เอื้อต่อการปฏิรูปดังกล่าว โรงเรียนมีความตระหนักในประเด็นดังกล่าว   จึงได้ร่วมกันคิดหาวิธีการบริหารจัดการที่เหมาะสมกับบริบทของตนเองมาพัฒนาขึ้นใช้ในโรงเรียนตามวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการแบบท่านางแนววิทยายนนั้น  ครูจะต้องร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ร่วมกันวางแผนการสอน ร่วมกันสอน และร่วมกันวัดผลประเมินผล ภายใต้การดำเนินงานที่ยืดหยุ่นมาก ดังนั้นครูแต่ละคนจึงจำ เป็นต้องสอนเพียงระดับ  ชั้นเดียว ทำ ให้เกิดกลุ่มครูขึ้น 4 กลุ่ม คือ    กลุ่มครู ม. 1 กลุ่มครู ม. 2 กลุ่มครู ม. 3 และกลุ่มครู      ม. ปลาย แต่ละกลุ่มมีการทำ งานเป็นทีมที่ค่อนข้างเหนียวแน่น มีอิสระและมีการปฏิบัติงาน             ที่ค่อนข้างเบ็ดเสร็จในระดับชั้นของตน โรงเรียน   จึงอาศัยแนวคิดการบริหารโรงเรียนแบบ โรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ ” (School within school)    ซึ่งน่าจะเหมาะสมที่สุดมาปรับรูปแบบ         การบริหารจัดการเสียใหม่ โดยปรับโครงสร้างการบริหารโรงเรียนให้มีโรงเรียนเล็ก  4 โรงเรียน    คือ โรงเรียน ม. 1 โรงเรียน ม. 2 โรงเรียน ม. 3และโรงเรียน ม. ปลาย แต่ละโรงเรียนมีครูประมาณ  6 - 7 คน ครูทุกคน ยกเว้นผู้บริหารและผู้ช่วยผู้บริหารจะต้องสังกัดโรงเรียนเลือกครู 1 คนเป็นหัวหน้า เรียกว่า ครูใหญ่  มีวาระ 2 ปี ครูในแต่ละโรงเรียน   จะได้รับอำนาจในการตัดสินใจ     ในเรื่องสำคัญ 2 ประการคือ งานวิชาการ ได้แก่ การจัดตารางเรียน การเลือกหนังสือเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียน อีกงานหนึ่งคือ งานบุคลากร ได้แก่ การพิจารณาการรับนักเรียนย้ายโอนมา   การพัฒนาครู การนิเทศติดตามงานครู การอนุญาตการลาของครู การควบคุมการปฏิบัติงานของครู การพิจารณาความชอบของครู และพิจารณารับย้ายครูจากโรงเรียนเล็กอื่น นอกจากนี้โรงเรียนท่านางแนววิทยายน ยังได้ส่งเสริมบทบาทของกรรมการบริหารสถานศึกษา โดยให้มีส่วนร่วมในการจัดทำ ธรรมนูญโรงเรียน อนุมัติแผนปฏิบัติการประจำ ปีของโรงเรียน รับทราบเกณฑ์ (เป้าหมาย) ในการทำ งานตามตัวบ่งชี้ของมาตรฐานการศึกษา รับทราบผลการดำ เนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียน                มีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพของโรงเรียนตามมาตรฐานการศึกษาและรับทราบผลการประเมินภายในสถานศึกษาสำ หรับผู้เรียนนั้น โรงเรียนได้ส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในรูปของคณะกรรมการนักเรียน โดยให้มีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกิจกรรม             ทุกกิจกรรมเคียงบ่าเคียงไหล่กับครู มอบหมายให้เป็นผู้นำ ของนักเรียนในการร่วมกิจกรรม และนักเรียนทุกคนมีโอกาสในการประเมินครู ผู้บริหารและสรุปผลการดำ เนินงานโครงการปฏิรูป    การเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ของโรงเรียนท่านางแนววิทยายนโรงเรียนในการประเมินผลภายในโรงเรียนทุกครั้งรูปแบบการบริหารจัดการแบบมี ส่วนร่วมตามแนวคิดการใช้โรงเรียนเป็นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ที่โรงเรียนท่านางแนววิทยายน  กำลังดำเนินการอยู่นี้ ได้รับการตอบรับจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างดี จากการสังเกต สัมภาษณ์พูดคุยกับครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่าส่วนใหญ่มีความรู้สึกพึงพอใจและเห็นว่าเป็นรูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสูง และการที่โรงเรียนให้กรรมการสถานศึกษาและกรรมการนักเรียนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการตามบทบาทหน้าที่และตามศักยภาพนั้นเป็นผลดีต่อการปฏิรูปการศึกษาในระยะยาวของโรงเรียนอีกด้วย
แนวคิด ทฤษฎี หลักการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาเรื่องการนิเทศเพื่อพัฒนาเป็นต้นแบบโรงเรียนในฝัน ผู้ศึกษาได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
หลักและกระบวนการบริหาร
การกระจายอำนาจการจัดการศึกษา
การมีส่วนร่วมของชุมชน
การจัดสภาพแวดล้อม
การนิเทศการศึกษา
การดำเนินงานของโรงเรียนในฝัน
ลักษณะและความสามารถที่พึงประสงค์ของครูโรงเรียนในฝัน
ความพึงพอใจ
การประเมินโครงการ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

หลักและกระบวนการบริหาร

ความหมายของการบริหาร (Administration)
เสนาะ ติเยาว์ (2543 : 1) ให้ความหมายของการบริหารว่า การบริหารเป็นกิจกรรมในการใช้ทรัพยากรขององค์กรให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ไซมอน (Simon. 1976 : 273) การบริหาร หมายถึง ศิลปะในการทำให้สิ่งต่าง ๆ ได้รับการกระทำจนเป็น ผลสำเร็จ ผู้บริหารไม่ใช่เป็นผู้ปฏิบัติ แต่เป็นผู้ใช้ศิลปะและเทคนิคทำให้ผู้ปฏิบัติทำงานจนสำเร็จบรรลุผลตามจุดมุ่งหมาย
เซอร์จีโอแวนนี (Sergiovanni. 1980: 5) การบริหาร คือ กระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
สรุป ความหมายของการบริหาร (Administration) มีผู้ให้ความหมายไว้ต่างๆ กัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และมุมมองที่มีต่อการบริหาร เป็นกระบวนการทำงานร่วมกันของคณะบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่ร่วมปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
ทฤษฎีการบริหารการศึกษา
ทฤษฎีการบริหาร มีอยู่หลายทฤษฎี มีผู้คิดค้นไว้เป็นหลักที่ใช้บริหารงานทั่วไป และ การบริหารเฉพาะเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการบริหารงานทางธุรกิจ ทางการทหารเรือหรือทางการศึกษา ผู้บริหารในวงการเหล่านั้น สามารถนำทฤษฎีการบริหารไปใช้ให้เหมาะสมกับงานที่ดำเนินการอยู่ สำหรับวงการศึกษามีทฤษฎีที่นิยมนำมาใช้และประยุกต์ใช้ที่สำคัญมีดังนี้
1.  ทฤษฎีการบริหารของอองริ ฟาโยล (Henri Fayol. อ้างถึงใน สมคิด บางโม. 2544 : 33-34) เป็นบุคคลแรกที่วิเคราะห์ถึงองค์ประกอบมูลฐานของการบริหารว่ามี 5 ประการ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า ทฤษฎีการบริหาร (Administrative Process) มีดังนี้
1.1 การวางแผน (Planning) การกำหนดจุดมุ่งหมายและการปฏิบัติไว้ล่วงหน้า
1.2 การจัดหน่วยงาน (Organizing) การจัดหน่วยงาน การจัดคนและแบ่งงานกันทำ
1.3    การบังคับบัญชา (Commanding) การตัดสินใจ การสั่งการ การอำนวยความสะดวก
1.4 การประสานงาน (Co-Ordination) การจัดให้ฝ่ายต่างๆ ทำงานไม่ซ้ำซ้อน
1.5 การควบคุม (Controlling) การควบคุมให้ทำงานตามแผนที่วางไว้
2. ทฤษฎีการบริหารการศึกษาของ เจสซี บี.เซียร์ (Jesse B. Sears. อ้างถึงในสุพจน์ อวยประเสริฐ.2542:8) เจสซี บี.เซียร์ เป็นบุคคลแรกที่นำเอาแนวความคิดของ อองริ ฟาโยล (Henri Fayol) มาประยุกต์ใช้กับการบริหารการศึกษา ทฤษฎีการบริหารของ เซียร์ มี 5 ขั้น
P         =     Planning หมายถึง การวางแผน
O        =     Organizing หมายถึง การจัดหน่วยงาน
D        =     Directing หมายถึง การอำนวยการ
Co      =     Co –Ordinating หมายถึง การประสานงาน
C         =     Controlling การควบคุมการปฏิบัติงาน
สรุป การนำหลักการบริหารการศึกษามาใช้ ต้องหาวิธีการบริหารในรูปแบบต่างๆ ทฤษฎีและหลักการบริหารการศึกษาต่างๆ มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียนโดยมุ่งเน้นสู่ความสำเร็จสูงสุด การบริหารโรงเรียนให้ประสบความสำเร็จบรรลุเป้าหมาย รูปแบบ การบริหารมีหลายรูปแบบทั้งที่เป็นรูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยตรงและรูปแบบการบริหารองค์กรธุรกิจ แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารการศึกษา

การบริหารแบบมีส่วนร่วม
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545 กำหนดหลักการจัดการศึกษายึดหลักให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา (กระทรวงศึกษาธิการ. 2546 : 5) หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมจึงเกิดขึ้น การบริหารแบบมีส่วนร่วมเป็นรูปแบบการบริหารที่เปิดโอกาสให้หลายบุคคลเข้ามามีส่วนร่วมเป็นกระบวนการของการให้ผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เน้นการมีส่วนร่วมของบุคคลอย่างเข้มแข็ง ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และความเชี่ยวชาญของกลุ่มบุคคลในการแก้ปัญหาของการบริหารอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดการแบ่งอำนาจหน้าที่ที่ถือว่า ผู้บริหารแบ่งอำนาจหน้าที่การบริหารให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา การบริหารแบบมีส่วนร่วมเป็นความพยายามที่จะจูงใจให้ผู้ร่วมปฏิบัติงานในองค์การได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ร่วมรับผิดชอบและร่วมมือในการพัฒนางานด้วยความเต็มใจเป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกของชุมชนและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมตัดสินใจ
โคเฮ็นและอัฟออฟ (Cohenand Uphf, อ้างถึงในอุทัย บุญประเสริฐ. 2545 :152) ให้ความหมายการบริหารแบบมีส่วนร่วมหมายถึง การจูงใจให้ผู้ร่วมปฏิบัติงานในองค์การได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ความรับผิดชอบ และร่วมมือในองค์กรพัฒนาปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจ
การบริหารแบบมีส่วนร่วมมีขั้นตอนในการบริหารตามแนวคิดของโคเฮ็นและอัฟออฟ มี 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1   การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจประการแรกที่จะต้องทำ คือ การกำหนดความ
ต้องการและการจัดลำดับความสำคัญ ต่อจากนั้นก็เลือกนโยบายและประชากรที่เกี่ยวข้อง การตัดสินใจในช่วงเริ่มต้น การตัดสินใจในช่วงดำเนินการวางแผน และ การตัดสินใจในช่วงการปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
ขั้นที่ 2   การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เป็นองค์ประกอบของการดำเนินงาน ได้มาจากคำถามที่ว่า ใครจะทำประโยชน์ให้แก่โครงการได้บ้างและจะทำประโยชน์ได้โดยวิธีใด เช่น การช่วยเหลือด้านทรัพยากร การบริหารงาน การประสานงาน และการขอความช่วยเหลือ
ขั้นที่ 3   การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และต้องพิจารณาถึงการกระจายผลประโยชน์ภายในด้วย ผลประโยชน์ของโครงการในทางบวกและผลเสียหายของโครงการที่เกิดขึ้นในทางลบ ซึ่งเป็นประโยชน์และเป็นโทษต่อบุคคลและสังคม
ขั้นที่ 4   การมีส่วนร่วมในการประเมินผล สิ่งสำคัญจะต้องสังเกต คือ ความเห็น (View) ความชอบ (Preference) และความคาดหวัง (Expectation) ซึ่งจะมีอิทธิพลและสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มต่าง ๆ ได้
การมีส่วนร่วมในการปฏิรูปการศึกษา ต้องให้ผู้เรียน ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และชุมชน มีส่วนร่วมอย่างจริงจัง ตั้งแต่การวางแผนพัฒนาสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาปรับปรุงสถานศึกษาและการติดตามประเมินผล ซึ่งคุรุสภากำหนดระดับคุณภาพผู้เชี่ยวชาญ เป็นการบริหารงานแบบผู้ร่วมงานทุกคนมีส่วนร่วมมุ่งเน้นให้ทุกคนร่วมวางแผน และปฏิบัติตามแผนได้จริง สามารถบ่งชี้ได้ชัดเจนว่า ผลงานส่วนใดเกิดจากผู้ร่วมงานคนใด ขยายผลสู่กลุ่มบุคคลใกล้เคียงกับผู้บริหารเป้าหมายปฏิบัติงานคำนึงถึงผลการพัฒนาที่เกิดขึ้นกับผู้รับบริการและร่วมงาน ซึ่งเป็นไปตามที่ตกลง (สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. 2541 : 4)

ประโยชน์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วม
1.       ช่วยสร้างความสามัคคี และการต่อต้านจากพนักงานระดับต่ำ
2.       ช่วยให้ทราบถึงความต้องการขององค์การทั้งหมด
3.       ช่วยเพิ่มพูนประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น ลดความเฉื่อยชาในการทำงาน การย้ายงานและการหยุดงาน
4.       ช่วยลดความขัดแย้ง และการต่อต้านจากพนักงานระดับต่ำ
5.       ช่วยสร้างบรรยากาศในการทำงาน และทำให้สุขภาพจิตในองค์การดีขึ้น
6.       ช่วยเพิ่มผลผลิตในองค์การ
7.       สร้างหลักประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในองค์การ
8.       ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและทะนุถนอม
9.       ทำให้พนักงานรู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ
10.เป็นการแบ่งเบาภาระหน้าที่ของผู้บังคับบัญชา ในด้านการควบคุมงานให้ลดน้อยลง และทำให้ผลงานดีขึ้น
สรุป การบริหารแบบมีส่วนร่วม หมายถึง การกระจายอำนาจและความรับผิดชอบของผู้บริหารไปยังผู้ใต้บังคับบัญชา หรือกลุ่มงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้กลุ่มมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ กำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมายและยุทธศาสตร์ขององค์การ พร้อมทั้งร่วมดำเนินการให้งานบรรลุเป้าหมายอย่างเต็มใจ และเกิดความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ

การกระจายอำนาจการจัดการศึกษา

                ความหมายของการกระจายอำนาจ
นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายการกระจายอำนาจไว้ดังนี้
ภาณุวัฒน์  ภักดีวงศ์  (2541, หน้า34-37); บุญลือ  ทองอยู่ (2536, หน้า13) ;บราว (Brown 1994, p.1407, อ้างถึงใน วันชัย  ดนัยตโมนุท 2543, หน้า3 – 4) ; เบรย์ (Bray 1984, อ้างถึงในภัทรนันท์  พัฒิยะ  2542, หน้า20 – 21) ;พรีซเคเดอร์ (Prescador 1985, p.1317, เคมเมฮเลอร์ (Kemmerer 1994, p.1421, อ้างถึงใน สำนักนโยบายและแผนการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 2543, หน้า10) ได้ให้ความหมายการกระจายอำนาจว่า หมายถึง การที่รัฐให้อำนาจในการตัดสินใจ (Decision Making Power)  การจัดสรรหรือการแบ่งอำนาจหน้าที่ในการบริหารระดับสูงของรัฐบาลไปสู่หน่วยงานระดับล่าง ในการที่จะสามารถดำเนินการจัดการและการบริหารการศึกษาในลักษณะที่องค์อำนาจหน้าที่ (Authority)  แก่ท้องถิ่นได้ร่วมกันให้บริการการศึกษาแก่ประชาชน ทุกเพศทุกวัยที่อาศัยอยู่ในอาณาบริเวณของท้องถิ่น  ต่าง ๆ มีอำนาจในการดูแลกิจการหลาย ๆ ด้านของตนเอง ไม่ใช่ปล่อยให้รัฐบาลกลางรวมศูนย์อำนาจในการจัดการแทบทุกอย่างในท้องถิ่น และสอดคล้องกับความหมายของการกระจายอำนาจทางการศึกษา ในเรื่องการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การเผยแพร่ สนับสนุน ส่งเสริมและทำนุบำรุงศาสนา ตลอดจนการจัดกิจกรรมไปสู่จังหวัด อำเภอ และหน่วยปฏิบัติ
พิณสุดา  สิริธรังสี (2541, หน้า35) ;เสริมศักดิ์  วิศาลาภรณ์ และคณะ (2541, หน้า17) และวันชัย  ดนัยตโมนุท และไกร  เกษทัน (2543, หน้า6)   กล่าวว่า การกระจายอำนาจการบริหารการศึกษาเป็นการถ่ายโอน (Transfer)  อำนาจ (Power) อำนาจหน้าที่ (Authority)  และความรับผิดชอบจากศูนย์หรือศูนย์รวมอำนาจ ไปสู่ส่วนต่าง ๆ ขององค์กร หรือตามระดับชั้นองค์กร โดยให้ทุกส่วนขององค์กรได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ไปยังพื้นที่หรืออาณาเขตรอบ ๆ จากระดับบนไปสู่ระดับล่าง หรือจากระดับชาติไปสู่ท้องถิ่น เป็นการถ่ายโอนอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้หน้าที่ความรับผิดชอบในการตัดสินใจทางการบริหารการศึกษาจากส่วนกลางไปสู่ระดับล่างหรือระดับปฏิบัติ ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ในท้องถิ่น หน่วยงานและสถานศึกษา
สรุปได้ว่า การกระจายอำนาจ หมายถึง การมอบอำนาจในการบริหารต่าง ๆ จากองค์กรปกครองส่วนกลางให้กับชุมชนหรือท้องถิ่นหรือหน่วยงานระดับล่างรับผิดชอบ รวมทั้งด้านการศึกษาผู้บริหารระดับล่างมีอิสระในการตัดสินใจ

การกระจายอำนาจทางการศึกษา
เสริมศักดิ์  วิศาลาภรณ์ (2541, หน้า23) ได้เสนอแนวคิดการกระจายอำนาจทางการศึกษาหลายลักษณะ
1. แนวคิดเกี่ยวกับการกระจายอำนาจทางการศึกษาแต่เดิมนั้นเป็นการถ่ายโอนอำนาจในการตัดสินใจในภารกิจด้านบุคลากร หลักสูตร และงบประมาณจากคณะกรรมการกลางไปให้ท้องถิ่น
2. เมื่อผู้บริหารระดับล่างหรือล่างสุดขององค์การมีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจและมีข้อมูล  ที่จำเป็นในการตัดสินใจ องค์การนั้นก็จะมีลักษณะเป็นการกระจายอำนาจ เมื่ออำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจมีศูนย์รวมอยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงขององค์การ องค์การนั้นจะมีลักษณะเป็นการรวมอำนาจ
3. การกระจายอำนาจเป็นวิธีการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ การตอบสนองตามความต้องการของท้องถิ่น คุณภาพของการให้บริการและการลดค่าใช้จ่าย
4. การกระจายอำนาจในองค์การเป็นการมอบอำนาจในการตัดสินใจเฉพาะเรื่องไปให้หน่วยงานย่อย
5. การกระจายอำนาจเป็นการที่อำนาจ (Power) กระจายไปยังบุคคลต่าง ๆ
6. การกระจายอำนาจเป็นที่ผู้บริหารแต่ละระดับในสายบังคับบัญชาที่มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจในองค์การแบบรวมอำนาจ ผู้บริหารระดับสูงจะตัดสินใจในองค์การแบบกระจายอำนาจ การตัดสินใจในเรื่องคล้ายกันนั้นจะกระทำในระดับล่าง
7. การกระจายอำนาจเป็นการที่อำนาจหน้าที่ (Authority) ในการตัดสินใจถูกแบ่งหรือจัดสรรให้ผู้มีบทบาทต่าง ๆ ในองค์การ
8. การกระจายอำนาจเป็นการแพร่กระจาย (Diffusion) ของอำนาจในการตัดสินใจเมื่ออำนาจทั้งหมดอยู่ ณ จุดใดจุดหนึ่งในองค์การ องค์การนั้นก็มีโครงสร้างแบบรวมอำนาจ ถ้าอำนาจกระจายไปยังบุคคลต่าง ๆ องค์การนั้นก็จะกระจายอำนาจ
9. การกระจายอำนาจเป็นการถ่ายโอน (Transfer) อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบจากส่วนกลางหรือส่วนรวมอำนาจไปสู่ส่วนต่าง ๆ ขององค์การ
จะเห็นได้ว่าการกระจายอำนาจทางการศึกษาเป็นการถ่ายโอนอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบจากส่วนกลางหรือศูนย์รวมอำนาจไปยังพื้นที่หรืออาณาเขตรอบ ๆ จากระดับบนไปสู่ระดับล่าง หรือจากระดับชาติไปสู่ท้องถิ่นเป็นการถ่ายโอนอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้
การจัดสภาพแวดล้อม
ความหมายของสภาพแวดล้อมโรงเรียน
สิ่งแวดล้อม หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และที่มนุษย์ สร้างขึ้น หรือจากการแสดงออกของมนุษย์ในสังคม ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและรูปแบบการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่ปรากฏทั้งที่สามารถเห็นได้และไม่สามารถมองเห็นได้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม สิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยสำคัญที่ตัดสินคุณภาพชีวิต พฤติกรรม เหตุการณ์ สถานที่ หรือลักษณะใด ๆ ที่ผู้เรียนรับรู้ก่อให้ เกิดผลดีหรือขัดขวางความก้าวหน้าของการพัฒนาความรู้ ความคิด เจตคติ และทักษะในวิชาที่ตน กำลังศึกษาเล่าเรียน และระบบการปกครองและกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง เกิดการ พัฒนาตนเอง เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทรรศนะหรือความสนใจ ยุพดี เสตพรรณ (2544 :6) ; จงกล เทิดประสิทธิกุล (2542 :12) กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม(2542 :9) เชอรี่ วิลเลี่ยมส์ (Shirley Williams อ้างถึงใน Philip Neal และ Joy Palmer, 1990 :2) นัยนา อ้างสันติกุล (อ้างถึงใน วัชชิรา ศักดิ์สนิท 2535 :10) ฮาโรลด์ (Harold, อ้างถึงใน ทัศนีย์ จารุรัตน์จามร 2536 :6) วัชชิรา ศักดิ์สนิท (2535 :7) ทัศนีย์ จารุรัตน์จามร (2536 :7) แอสติน (Astin, อ้างถึงใน จงกล เทิดประสิทธิกุล 2542 :14)
สรุปได้ว่า สภาพแวดล้อมโรงเรียน หมายถึง สภาพของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่และหรือเกิดขึ้นในโรงเรียน เป็นสิ่งเร้าที่มีศักยภาพและมีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมของผู้เรียน สภาพของสิ่งต่าง ๆ ใน โรงเรียน ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากบุคคล ชุมชน สังคมและธรรมชาติ ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน และมีอิทธิพลกับบุคลากรในโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียน ในการแสดงออกซึ่ง พฤติกรรมต่าง ๆ ทั้งในด้านบวกและด้านลบ

ความสำคัญของสภาพแวดล้อมโรงเรียน
ในปี ค.ศ. 1992 สหประชาชาติได้จัดสัมมนาเรื่องสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา (The 1992 Conference on Environment and Development (UNCED) Environment 1991)เพื่อแสวงหาแนวร่วมระหว่างสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา โดยมุ่งเน้นประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาทาง เศรษฐกิจและการจัดการทรัพยากรโลก การผสมผสานนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมกับการ พัฒนาทางเศรษฐกิจ เพื่อนำไปสู่สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนจึงเกิดเป็นทางเลือกใหม่ คือ มองปฏิสัมพันธ์ โดยรวมระหว่างสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อน ไปสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ในทัศนะนี้ สิ่ง แวดล้อมจะต้องถือ เป็นเรื่องสำคัญมากกว่าเป็นเพียงปัจจัยการผลิต หากเป็นส่วนประกอบหลัก และแกนกลางของกระบวนการพัฒนา ปัญหาสิ่งแวดล้อมจะต้องถือว่าเป็นผล (Outcomes) ของ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ การเมือง แรงผลักดันทางสังคมและทรัพยากร แทนที่จะมองว่าเป็นปัญหาทาง กายภาพที่สามารถแก้ไขได้ด้วยกลไกทางเทคนิค (Technical Solutions)แท้ที่จริงปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาทางสังคม
กระทรวงศึกษาธิการ ตระหนักถึงความสำคัญของสภาพแวดล้อมโรงเรียนว่ามีอิทธิพลต่อ นักเรียนในการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมทั้งที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ อีกทั้งได้กำหนด นโยบายสิ่งแวดล้อมให้โรงเรียนในสังกัดนำไปปฏิบัติ จึงเป็นภารกิจที่สำคัญยิ่งของโรงเรียน ที่จะต้องศึกษาสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ตลอดจนความรู้สึกและความคิดเห็นของ นักเรียนที่มีต่อสภาพแวดล้อมของโรงเรียน เพื่อการวางแผนปรับปรุง พัฒนาและรักษาสภาพ แวดล้อมให้มีอิทธิพลในทางที่ดีต่อนักเรียน(กรมวิชาการ 2540 :6970)
 สภาพแวดล้อมโรงเรียนด้านบุคลากร
สภาพแวดล้อมด้านบุคลากร หมายถึง ลักษณะของผู้บริหาร ครู และนักเรียนการ ปฏิบัติต่อกันระหว่างครูกับนักเรียน นักเรียนกับเพื่อนนักเรียนร่วมชั้นและต่างระดับชั้น ซึ่งมี ความสัมพันธ์กัน เป็นผลต่อพฤติกรรมการแสดงออกของบุคลากรทุกคนในโรงเรียน โรงเรียน เป็นองค์กรที่มีชีวิต อันเกิดจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรต่าง ๆ องค์กรกับบุคลากรเป็นสิ่งที่ ต้องอยู่ควบคู่กัน และต่างก็เป็นตัวบ่งชี้ซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ถ้าองค์กรมีความเจริญก้าวหน้า แสดง ให้เห็นถึงลักษณะของบุคลากรในองค์กรนั้นว่าดี มีคุณภาพ และในทำนองเดียวกันถ้าบุคลากรใน องค์กรใดเป็นบุคลากรที่ได้พัฒนาแล้ว ทำงานอย่างดี มีประสิทธิภาพ สนองเป้าหมาย และจุดประ สงค์ขององค์กร ก็ย่อมทำนายได้ว่าองค์กรที่มีบุคลากรเหล่านั้น จะเป็นองค์กรที่เป็นปึกแผ่น มั่นคง และเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดเวลา (จำรัส นองมาก (2541  :9697) กรมวิชาการ (2540 :14)
สุรศักดิ์ หลาบมาลา (2539 :5859) ได้สังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณลักษณะของครู พบว่า
1. ครูแต่ละคนมีวิธีทำการสอนต่างกัน และความแตกต่างนี้ทำให้นักเรียนรู้ได้มากน้อย ต่างกัน
2. ครูที่มีประสิทธิผลสูง มักจะให้โอกาสนักเรียนได้เรียนมาก ได้รู้มากและรู้แหล่ง ความรู้มาก โดยดำเนินการดังนี้
3. ให้ความสำคัญของการเรียนรู้ตามหลักสูตรในขั้นรู้จริง ทำได้จริง ตั้งความหวัง ในผลสำเร็จของนักเรียนไว้สูง และให้นักเรียนทราบ พร้อมกับกำหนดบทบาทของครูและนักเรียน ไว้แน่นอน
4. วางแผนการสอน และดำเนินการสอนในลักษณะที่ใช้เวลาและส่งเสริมให้ นักเรียนเกิดการเรียนรู้มาก
5. เป็นผู้จัดการและจัดระเบียบห้องเรียนที่ดี ทำให้ห้องเรียนมีสภาพที่ส่งเสริมการ เรียนรู้เวลาส่วนมากในห้องเรียนใช้ในการเรียนการสอน เวลาที่ใช้ในการจัดระเบียบห้องเรียนหรือ แก้ปัญหาในห้องเรียนมีน้อย
6. ประเมินและติดตามความก้าวหน้าของนักเรียนอยู่เสมอ สามารถปรับการเรียน การสอนตามข้อมูลที่ได้จากการประเมิน รู้จักนักเรียนทุกคน และนักเรียนรู้จักครูเป็นอย่างดีด้วย เช่นกัน
จากการศึกษาสภาพแวดล้อมด้านบุคลากร สรุปได้ว่าบุคลากร 4 กลุ่ม คือผู้บริหาร ครู นักเรียน และเพื่อนของนักเรียน จะต้องมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

สภาพแวดล้อมโรงเรียนด้านการเรียนการสอน
สภาพแวดล้อมในโรงเรียนส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียน โรงเรียนจึงต้องทำให้เกิดสภาพที่เอื้ออำนวยสูงสุดต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกด้านทุกวัย ให้ความสนใจตัวผู้เรียนและเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมากขึ้น บรรยากาศการจัดการเรียนการสอนจึงต้อง เปลี่ยนแปลงไปด้วยสภาพแวดล้อมด้านการเรียนการสอน หมายถึง สภาพการจัดองค์ประกอบที่ เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ได้แก่ หลักสูตร สื่อการเรียน การสอนการจัดการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผลการเรียน ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา การศึกษาของโรงเรียนทุกฝ่าย จะต้องจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนทุกคนได้เรียนรู้ตามศักยภาพ ของตนเอง และมีพฤติกรรมที่ พึงประสงค์ตามหลักสูตร มีคุณลักษณะและคุณภาพตามความต้องการ ของสังคมสภาพแวดล้อมด้านการเรียนการสอน จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนสนับสนุนการเรียนรู้ ของผู้เรียนในห้องเรียน โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน หรือบรรยากาศในห้องเรียน ถ้าบรรยากาศของห้องเรียนดี จะเป็นส่วนสนับสนุนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ตรงกันข้าม ถ้าบรรยากาศของห้องเรียนไม่ดี จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำการจัดสภาพแวดล้อมการเรียน การสอนจึงมีความสำคัญและถือว่าครูมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดสภาพแวดล้อมเหล่านี้ นอกเหนือจากการสอน (สิริวรรณ ศรีพหล 2537 :35)
องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนมี ดังนี้
หลักสูตร
หลักสูตรเป็นหัวใจของการจัดการศึกษา ที่เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าเยาวชนไทยใน อนาคต ควรจะเป็นพลเมืองอย่างไรที่สังคมต้องการ และสามารถดำเนินชีวิตของตนได้อย่างมี ความสุข พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2542  :1213) ได้กำหนดหลักการสำคัญของการจัดกระบวนการเรียนการสอน มีสาระสำคัญพอสรุปได้ ประการหนึ่งว่า การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตาม อัธยาศัย จุดมุ่งหมายและเนื้อหาของหลักสูตรต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการ เรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้
1. ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชนและสังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและ ระบบการเมืองการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
3. ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ ใช้ภูมิปัญญา
4. ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์และด้านภาษาเน้นการใช้ภาษาไทย อย่างถูกต้อง
5. ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมี ความสุข
พนม พงษ์ไพบูลย์ (2536 :1416) กล่าวว่า การศึกษาที่ดีต้องจัดให้เหมาะสม กับผู้เรียนแต่ละคน หลักสูตรที่ดีก็ต้องเหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคนเช่นกัน หลักสำคัญของการจัด หลักสูตร คือ
1. การมีหลักสูตรที่ยืดหยุ่นและคล่องตัวต่อการปรับ เพื่อให้คนทั้งชาติได้ พัฒนาตามจุดประสงค์และหลักการที่ร่วมกันทั้งชาติ แต่อาการเฉพาะคน เฉพาะกลุ่มนั้นควรได้มี หลักสูตรเฉพาะที่มุ่งแก้และพัฒนาตามอาการเฉพาะนั้นต่างหากแตกต่างกันไป
2. ส่วนที่จำเป็นต้องสร้างหรือปรับให้เหมาะสมกับเฉพาะคน เฉพาะกลุ่มนั้น ต้องยึดหลักการของความสอดคล้อง ถ้าจะให้สอดคล้องกับเฉพาะกลุ่มคนก็ต้องคำนึงถึงขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ของคนกลุ่มนั้น ๆ ให้มากที่สุด
3. ถ้ายอมรับความยืดหยุ่น สอดคล้อง ก็ต้องยอมรับในความหลากหลายของ เนื้อหาสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะการเปรียบเทียบมาตรฐานของส่วนที่ ต่างกันนั้น เป็นไปไม่ได้เลย
4. การทำให้หลักสูตรการเรียนการสอนยืดหยุ่น สอดคล้องและหลากหลาย ได้นั้น จำเป็นจะต้องกระจายความรับผิดชอบในการปรับและพัฒนาหลักสูตรให้กับสถานศึกษาให้ มากที่สุดและต้องให้อำนาจการกำกับดูแลอยู่กับจังหวัด เพื่อให้ใกล้ชิดกับสถานศึกษาด้วย นี่คือที่มา เรื่องหลักสูตรท้องถิ่น คือให้ท้องถิ่นอันได้แก่ โรงเรียน ชุมชน จังหวัด มีส่วนร่วมให้มากที่สุด
5. การจัดหลักสูตรตามแนวที่กล่าวข้างต้นนั้น ถ้าจะใช้ให้เกิดผล ระบบการ เรียนการสอนต้องปรับให้เหมาะสมด้วย การเรียนเป็นระบบชั้นเรียนจะเป็นอุปสรรคต่อการเรียน ตามความเหมาะสมของแต่ละคนหรือคณะบุคคลมาก นี้จึงนำมาสู่ความคิดเรื่องระบบเรียนเป็น หน่วยวิชาถ้าจะให้ผู้เรียนได้เรียนตามหน่วยวิชาหรือหน่วยการเรียนที่สอดคล้องกับตน ก็จำเป็นต้อง แยกกันเรียนตาม กลุ่มที่มีความสนใจในหน่วยเดียวกัน มากกว่าการยึดถือระบบชั้นเรียนเป็นหลัก
กรมสามัญศึกษา (หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา, 2542  :80-81) ได้ กำหนดเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา ด้านปัจจัยว่า โรงเรียนต้องมีหลักสูตรที่ ยืดหยุ่น เหมาะสม เอื้อต่อการเรียนรู้ และตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น โดยมี หลักสูตรและสาระการเรียนรู้สอดคล้องกับเป้าหมายการศึกษาและเหมาะสมกับความต้องการของผู้ เรียนและท้องถิ่น มีเอกสารประกอบหลักสูตรครบถ้วน ทันสมัยและเพียงพอ
สื่อการเรียนการสอน
มาตรา 24 (5) แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กำหนดให้ สถานศึกษา ส่งเสริมให้ผู้สอนจัดสื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยา การประเภทต่างๆ จะเห็นว่าสื่อประกอบการเรียนการสอนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ช่วย เสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สื่อควรใช้คู่กับกระบวนการเรียน ของผู้เรียนและการสอนของครู และสื่อควรให้โอกาสกับผู้เรียนได้สัมผัส เรียนรู้ คิดวิเคราะห์ การ ทดลองการแก้ปัญหาในการปฏิบัติจริง ครูผู้สอนจะต้องสรรหาสื่อ อุปกรณ์ โดยศึกษาความต้องการ ของนักเรียน คำนึงถึงหลักสูตร เนื้อหาวิชาและลักษณะของสื่อที่หลากหลาย ควรเน้นสื่อ อุปกรณ์ที่ เป็นวัสดุธรรมชาติ และหาได้ง่ายในท้องถิ่น หากสามารถใช้แหล่งธรรมชาติเป็นแหล่งเรียนรู้ได้ครู ควรใช้ทันที ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริงให้มากที่สุด แต่การสอนในแต่ ละครั้งย่อมมีปัจจัยหรือสภาพการณ์ที่ ต่างกัน เพื่อให้การสอนเหมาะกับสถานการณ์ ในแต่ละครั้ง ครูผู้สอนจะต้องเตรียมการสอนมาล่วง หน้าอย่างดี และพร้อมเสมอที่จะปรับหรือยืดหยุ่นได้ตาม
การจัดการเรียนการสอน
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบรรยากาศในห้องเรียน ควรมีความสงบเงียบแต่ ไม่ควรเคร่งครัด ตึงเครียดจนรู้สึกอึดอัด จำนวนนักเรียนและโต๊ะเรียนต้องสะดวกในการจัด กิจกรรมใด ๆบริเวณโรงเรียน ความร่มรื่นเป็นจุดสร้างเสริมบรรยากาศได้เป็นอย่างดี พื้นที่สีเขียว จะเป็นจุดพักสายตาและคลายความตึงเครียด โรงเรียนจึงควรมีพื้นที่สีเขียวไว้บ้างจัดตำแหน่งให้ เหมาะสมให้ได้ร่มเงา สะอาด เรียบร้อย ปลอดภัย นอกจากนั้น ยังใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมนอก ห้องเรียนเป็นสนามเด็กเล่น และหรือสนามออกกำลังกาย นักเรียนควรมีโอกาสได้ไปเรียนรู้และ หาประสบการณ์จากแหล่งความรู้ในชุมชน ได้ออกไปสัมผัสกับบรรยากาศ ชีวิตจริงจากสิ่งแวดล้อม ภายนอกโรงเรียนที่นักเรียนสนใจ เช่น วัด ตลาด สวนสาธารณะ ป่าชุมชนหรือนาข้าว (มัลลิกา ยุวนะเตมีย, 2540 :59)
การเรียนรู ้จะเกิดขึ้นได้จากการที่ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้นั้นให้เกิดขึ้นกับ นักเรียน นักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีเพียงใด บรรยากาศมีส่วนช่วยอย่างมาก ทั้งที่มองเห็นเป็นรูปธรรม สัมผัสได้ และที่สัมผัสไม่ได้ แต่รับรู้ได้ด้วยอารมณ์ความรู้สึก ครูจึงควรให้ความสนใจกับองค์ ประกอบนี้ สร้างให้เป็นพลังเสริมทางบวกที่จะส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่ต้องการและ เรียนอย่างมีความสุข
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (สำนักนโยบายและแผนการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ 2543 :1620) ได้กำหนด หลักการสำคัญของการจัดกระบวนการเรียนการสอน มีสาระสำคัญพอสรุปได้ดังนี้ ยึดผู้เรียนเป็น สำคัญ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ประสบการณ์การเรียนรู้ยึดหลักดังนี้ ผู้เรียนทุกคนมี ความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ดังนั้นจึงต้องจัดสภาวะแวดล้อม บรรยากาศ รวมทั้งแหล่ง เรียนรู้ต่าง ๆ ให้หลากหลาย เพื่อเอื้อต่อความสามารถของแต่ละบุคคล เพื่อให้ผู ้เรียนสามารถพัฒนา ตามธรรมชาติ ที่สอดคล้องกับความถนัดและความสนใจ เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพของผู้เรียน เพื่อให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ และเป็นการเรียนรู้กันและกัน อันก่อให้เกิดการ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเองชุมชนสังคมและประเทศชาติ โดยประสานความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครอง บุคคลชุมชนและทุกส่วนของสังคม ผู้ เรียนมีความสำคัญที่สุด การเรียนการสอนมุ่งเน้นประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญจึงต้องจัดให้ผู้ เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็นทำเป็น มีนิสัยรักการเรียนรู้ และเกิด
มัลลิกา ยุวนะเตมีย์ (2540 :59) กล่าวว่า บรรยากาศที่สนับสนุนการเรียนรู้ที่เน้นให้ ผู้เรียนหรือนักเรียนเป็นศูนย์กลาง นักเรียนจะต้องมีโอกาสเรียนรู้จากการได้ลงมือกระทำจริงในสิ่ง ที่คิดและตัดสินใจด้วยตนเองแทนการทำตามคำสั่งของครูเพียงอย่างเดียว นักเรียนต้องได้รับ ประสบการณ์ตรงในสิ่งที่ใกล้เคียงกับชีวิตจริงของเขาทั้งในและนอกโรงเรียน กิจกรรมจึงต้องมีการ พูดคุยซักถาม คิด วิเคราะห์ ทำงานร่วมกัน นำเสนอผลงานตลอดจนมีการประเมินตนเองมาก ขึ้นเป็นหน้าที่ของครูที่จะ ต้องจัดเตรียม วางแผนทั้งกิจกรรมและสร้างบรรยากาศให้เหมาะสมที่ จะให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ ต้องทำให้นักเรียนรู้สึกเป็นกันเอง อบอุ่น เป็นมิตรกับเพื่อน ๆ มี การช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันมากกว่ามุ่งการแข่งขัน ครูจะต้องให้ความเชื่อถือ และความไว้ วางใจแก่นักเรียน จัดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น แสดงความรับผิดชอบและความเป็นผู้ นำ ภายใต้สภาพ แวดล้อมที่ไม่มีแรงกดดันให้นักเรียนต้องกลัวความผิดพลาด หรือกลัวสอบตก ทั้ง ครูและนักเรียนต้องตระหนักว่า ความผิดพลาด เป็นสิ่งที่แก้ไขได้ ต้องมุ่งเน้นที่ความสำเร็จ และ ศักยภาพที่เกิดขึ้นมากกว่าจะดูความล้มเหลวหรือผลที่เกิดในระยะสั้น ๆ
กระบวนการเรียนรู้
คณะอนุกรรมการการปฏิรูปการเรียนรู้ (สำนักนโยบายและแผนการศึกษาศาสนา และ วัฒนธรรม สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ 2543 :1620) ได้ให้ความหมายของ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด ไว้ว่า หมายถึง การกำหนดจุดหมาย สาระ กิจกรรม แหล่งเรียนรู้ สื่อการเรียน และการวัดประเมินผล ที่มุ่งพัฒนา คนและชีวิตให้เกิดประสบการณ์ การเรียนรู้เต็มตามความสามารถ สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจและความต้องการของผู้เรียน ซึ่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดแนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ของสถานศึกษาและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังนี้
1. จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้ เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
3. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
4. จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วน สมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
5. ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัย เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียน การสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ
6. จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับ บิดา มารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
จะเห็นได้ว่าเป้าหมายของการจัดการเรียนการสอนเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งการ จัดการเรียนการสอนจะมีประสิทธิภาพได้จะไม่ถือเอาหลักสูตรเป็นบรรทัดฐานแน่นอนตายตัว แต่ จะมีการ ยืดหยุ่นหลักสูตรให้เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมในปัจจุบัน จะต้องมีการเตรียมการ สอนไว้ล่วงหน้า คือ มีการศึกษาหลักสูตร จัดทำแผนการสอน จัดหาสื่อและอุปกรณ์การเรียนการ สอน ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ และต้องเหมาะสมกับวัยและสภาพแวดล้อม ทางสังคมที่เด็กอยู่ จะต้อง เป็นการสอนที่ให้เด็กได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง ครูจะต้อง คำนึงถึงความ เหมาะสมกับความความแตกต่างระหว่างบุคคลควรสอนจากสิ่งที่ง่ายไปหายาก สอน จากรูปธรรมไปหานามธรรม สอนจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไปหาสิ่งที่อยู่ไกลตัว สอนจากสิ่งที่รู้ไปหาสิ่ง ที่ยังไม่รู้ และสอนให้ผู้เรียนรู้จักสังเกตและ รู้จัดคิด มีจุดมุ่งหมายในการสอนที่ชัดเจน และการ สอนที่ดี ต้องประเมินผลตามสภาพจริงในทัศนะของครูต้นแบบ ปี 2541 และ 2542 (สถาบันแห่งชาติเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2542  :1 และ 12) ครูที่ดี ควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คือ เน้นกระบวนการกลุ่ม เน้นการ ปฏิบัติจริงทุกขั้นตอน จัดการเรียนการสอนตามสภาพจริงของผู้เรียนและสิ่งแวดล้อม ให้ผู้เรียนทำ โครงงานนำเสนอแนวคิดและขั้นตอนการดำเนินงาน การจัดกิจกรรม มุ่งเน้นให้ผู้เรียนใฝ่รู้ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น
การประเมินผลการเรียนรู้
จุดมุ่งหมายสำคัญของการสอน เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมไปในทางที่พึงปรารถนา ตามที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของการสอนผู้ สอนจะรู้ว่าผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปอย่างไรบ้างก็ต้องอาศัยการประเมินผล เพราะการ ประเมินผล เป็น กระบวนการตัดสินคุณค่าของสิ่งของหรือการกระทำใด ๆ โดยเปรียบเทียบกับ เกณฑ์มาตรฐาน เป็น การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีระบบ เพื่อบ่งชี้ถึงคุณค่าของสิ่งใด สิ่งหนึ่ง การวัดเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผล เพราะการวัด เป็นการกำหนดตัวเลขเพื่อแทน
1. การประเมินผลก่อนเรียน เป็นหน้าที่สำคัญที่ครูผู้สอนจะต้องประเมินเริ่มต้น การ เรียนการสอนในแต่ละรายวิชา แต่ละหน่วย แต่ละบทเรียนเพื่อดูว่านักเรียนแต่ละคนมีพื้นฐานความรู้ เดิมอยู่ในระดับใด ควรที่จะเริ่มต้นเรียนที่จุดใด จะได้ปรับกระบวนการเรียนการสอนให้เหมาะสม
2. การประเมินผลระหว่างเรียน เป็นการประเมินขณะจัดการเรียนการสอนเพื่อ ตรวจสอบ ว่านักเรียนมีความรู้ความสามารถตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ครูผู้สอนจะได้ทราบ ปัญหาและอุปสรรคในการจัดกระบวนการเรียนการสอน และจะได้เสริมหรือเพิ่มเติมให้แก่นักเรียน
3. หลังจากจัดกระบวนการเรี ยนการสอน ก็ต้องมีการวัดเพื่อได้ทราบจุดพัฒนา ของนักเรียนว่าป้าหมายซึ่งครูและนั กเรียนได้ร่วมกันกำหนดขึ้น นักเรียนได้พัฒนาไปมากน้อย เพียงใด การประเมินหลังจากจั ดกระบวนการเรี ยนการสอนนี้ รวมทั้งการประเมินผลปลายภาค เรียน ซึ่งเป็นการประเมินให้ครอบคลุมทุกจุดประสงค์ที่สำคัญ เพื่อสรุปว่าเรียนมาตลอดภาคเรียน แล้วมีผลเป็นอย่างไร ( กรมวิชาการ, 2543 :8)
สภาพแวดล้อมโรงเรียนด้านการบริหารจัดการ
การบริหารจัดการโรงเรียน หมายถึงหมายถึงการที่ผู้บริหารหรือหัวหน้าสถานศึกษา และครูทุกคนในโรงเรียนปฏิบัติงานทางการศึกษาเพื่อบริการแก่นักเรียนทุกคนในโรงเรียน เพื่อให้ เก่ง ดี มีสุข และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
สุรศักดิ์ หลาบมาลา (2539 :5758) ได้สังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับลักษณะของ โรงเรียนที่มีประสิทธิผล สรุปได้ดังต่อไปนี้
1. สถาบันมีผู้บริหารเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการเป็นวัตถุประสงค์อันดับแรก ของสถาบัน
2. บรรยากาศของโรงเรียนมีความปลอดภัย มั่นคงทางจิตใจ อารมณ์ สังคมและความ เป็นอยู่ของครูและนักเรียน ในด้านครู อาจารย์ มีความสามัคคีกันดี ผู้บริหารไม่บริหาร ในลักษณะที่ให้ บุคลากรในโรงเรียนขัดแย้งหรือทะเลาะกัน ด้านนักเรียนก็ไม่มีตัวโตรังแกตัวเล็ก
3. ครู อาจารย์ มีทรรศนะที่ดีต่อนักเรียน มีความเป็นกันเอง ทำให้นักเรียนรักและ อยากเรียน
4. ดำเนินการสอนตามหลักสูตร โดยใช้วิธีการสอนที่หลากหลายรูปแบบ 30
5. ติดตามความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนตลอดเวลา และให้นักเรียนทราบ ผลความก้าวหน้าในการเรียนของตน ในขณะเดียวกันก็มีการประเมินและพัฒนาบุคลากรของ สถาบันเป็นประจำ
6. ผู้ปกครองให้ความร่วมมือกับโรงเรียนอย่างเข้มแข็งทั้งกิจกรรมที่โรงเรียนและที่ บ้านอันจะช่วยให้นักเรียนมีผลการเรียนดีขึ้น
7. เน้นให้เห็นความสำคัญของความสำเร็จทางวิชาการเสมอ เช่น การชมเชย ให้ รางวัล โล่ เกียรติบัตร วุฒิบัตร ทุนการศึกษาและอื่น ๆ ทั้งสำหรับ นักเรียน ครู อาจารย์ และผู้ ปกครองของผู้เรียนยังอยู่ในระดับสูง
กรมสามัญศึกษา(หน่วยศึกษานิเทศก์, กรมสามัญศึกษา 2542  :60-61 และ 70-81)ได้ กำหนดเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา ด้านกระบวนการ เกี่ยวกับการบริหารและ การจัดการ ให้มีการจัดองค์กร โครงสร้างการบริหาร และกำหนดภารกิจของครูและบุคลากรอื่น อย่างชัดเจนเหมาะสม จัดทำธรรมนูญโรงเรียน แผนการดำเนินงานของโรงเรียน มีการปฏิบัติตาม แผนที่กำหนด มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง จัด ทำรายงานผลการประเมินและประชาสัมพันธ์เผยแพร่ นำผลการประเมินไปใช้ปรับปรุงและ พัฒนาการบริหารและการจัดการ มีการใช้ข้อมูลสารสนเทศที่เป็นปัจจุบันในการบริหารและการ จัดการ อีกทั้งมีความสะดวกรวดเร็วและตรวจสอบได้ มีการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน องค์ กรภาครัฐและเอกชน ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรภาครัฐและเอกชนในการจัดและพัฒนาการศึกษา โดยผู้บริหารและครู สร้างความสัมพันธ์ที่ ดีกับชุมชน ในการร่วมกันจัดและพัฒนาการศึกษา มีการกำหนดบทบาทในการมีส่วนร่วมของผู้ ปกครอง ชุมชน องค์กรภาครัฐและเอกชนในการจัดและพัฒนาการศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กร ภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย วางแผนดำเนินงาน และประเมินคุณภาพการ จัดการศึกษาของโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรภาครัฐและเอกชน มีส่วนสนับสนุนการเรียนรู้ ของผู้เรียนเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับทรัพยากร ให้มีงบประมาณสนับสนุนอย่างเพียงพอตามความ ต้องการจำเป็นมีระบบการบริหารงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ

ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน

ความหมายของความพึงพอใจ
ความพึงพอใจ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Satisfaction ซึ่งมีนักวิชาการหลายคนได้ศึกษาและให้ความหมายไว้สรุปได้ ดังนี้
คำว่า เจตคติ ของผู้ปฏิบัติงาน ความพึงพอใจในการทำงานสับสนกันและมีความหมายไม่เหมือนกันเพราะ เจตคติก่อให้เกิดความพึงพอใจในงาน ความพึงพอใจในงานก่อให้เกิดขวัญดี และได้ให้ความหมายของความพึงพอใจในการทำงานว่าเป็นผลรวมของเจตคติต่าง ๆ ของบุคคลที่มีต่อองค์ประกอบของงาน เจตคติต่องานมีทั้งบวกและทางลบ ทางบวก ก็คือ ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ส่วน ทางลบก็คือไม่พึงพอใจในการปฏิบัติงาน บลัม  และเนย์เลอร์ (Blum and Naylor. 1968 :365 Vroom. 1964 :99)
กิติมา  ปรีดีดิลก (2529 ,หน้า 21)  สมยศ  นาวีการ (2533  :224)  อาร์โนลด์ และเฟรดแมน (Arnold and Feldman. 1986  :86)  เดวิส และนิวสตรอม (Davis and Newstrom. 1985  :83) และกู๊ด (Good. 1973  :320)  ได้ให้ความหมายของความพึงพอใจในการทำงานไว้ว่าเป็นเรื่องของความรักหรือชอบงานที่ทำอยู่หรือความรู้สึกที่ดีที่ชอบหรือพอใจที่มีต่อองค์ประกอบและสิ่งจูงใจต่องานที่กำลังปฏิบัติอยู่และผู้ปฏิบัติงานนั้นได้รับการตอบสนองความต้องการ ส่วนความไม่พอใจในการทำงานนั้นจะมีผลต่อการปฏิบัติงานในทางตรงกันข้าม
สรุปได้ว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกหรือทัศนคติของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นไปในทางที่ดีและไม่ดี หรือในด้านบวกและในด้านลบ หรือไม่มีปฏิกิริยา ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสิ่งนั้นสามารถ ตอบสนองความต้องการแก่บุคคลนั้น




การดำเนินงานของโรงเรียนในฝัน
แผนการดำเนินงานโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน คือ การนำกลยุทธ์หลักและกลยุทธ์ริเริ่มในการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องตรงตามเป้าหมายของโครงการมากำหนดเป็นแผนการดำเนินงานหลัก 5 แผนงาน ซึ่งโรงเรียนควรได้ศึกษาวิเคราะห์นำไปพัฒนาปรับใช้ภายใต้บริบทของโรงเรียนเป็นรายด้านตามแผนการดำเนินงาน ดังนี้
1.     ด้านการพัฒนาระบบบริหารและการจัดการ
การบริหารจัดการโรงเรียนในฝัน มีการดำเนินงานด้านต่าง ๆ พอสรุปได้ดังนี้ (กระทรวงศึกษาธิการ.2546 : 26-35)
1.1 ปรับระบบการบริหารจัดการ
1.1.1 มีระบบการบริหารจัดการที่ดีโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนา
1.1.2 ผู้บริหารโรงเรียนปรับแผนการดำเนินงานได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
1.1.3 ปรับทิศทางการพัฒนาโรงเรียน ให้สอดคล้องกับเป้าหมายโรงเรียนในฝัน
1.1.4 ปรับบรรยากาศและวัฒนธรรมการปฏิบัติงานในโรงเรียนแบบกัลยาณมิตรผนึกพลังสร้างสรรค์และร่วมรับผิดชอบ
1.1.5 จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานของฝ่ายงานและบุคลากร
1.1.6 วางแผน กำกับ ติดตาม ประเมินผล และรายงาน
1.2 พัฒนาระบบประกันคุณภาพของโรงเรียน
1.2.1 ระบบประกันคุณภาพของโรงเรียนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
1.2.2 โรงเรียนจัดทำระบบเทียบเคียงมาตรฐาน
1.3 พัฒนาประสิทธิภาพระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
1.3.1 พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เกิดความเข้มแข็ง
1.3.2 ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายคุ้มครองเด็กและเยาวชน
1.3.3 จัดตั้งกองทุนอาหารกลางวัน
1.3.4 ผลิตและเผยแพร่นวัตกรรม เครื่องมือ พัฒนาประสิทธิภาพการบริหาร และการจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับครูและผู้บริหาร
1.3.5 ผลิตสื่อเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะวิธีการคัดกรองป้องกัน แก้ไข ส่งเสริม พัฒนาศักยภาพของนักเรียนสำหรับครูและผู้บริหาร   
1.3.6 ประสานความร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพ ร่วมเสริมสร้างศักยภาพ อัจฉริยภาพของผู้เรียน
1.3.7  ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเทียบเคียงมาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระหว่างสถานศึกษา
1.4  รายงานและประชาสัมพันธ์ สรุปผลการพัฒนาโรงเรียนโดยโรงเรียนจัดแสดงนิทรรศการแสดงผลงานโรงเรียนในฝัน
การดำเนินงานโรงเรียนในฝัน ด้านการพัฒนาระบบการบริหารจัดการ หมายถึง การดำเนินงานพัฒนาระบบการบริหารและการจัดการโรงเรียนในฝัน ด้านการบริหารจัดการที่ดี การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ การพัฒนาประสิทธิภาพการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และรายงานประชาสัมพันธ์สรุปผลการพัฒนาโรงเรียน
2.     ด้านการพัฒนาคุณภาพนักเรียนและกระบวนการจัดการเรียนรู้
2.1 การเสริมสร้างบุคคลแห่งการเรียนรู้
2.1.1 พัฒนาห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้
2.1.2 ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายยุวชนรักการอ่าน
2.1.3 ส่งเสริมการอ่านและการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
2.1.4 ส่งเสริมการใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้
2.1.5 ส่งเสริมการสร้างและนำเสนอผลงาน โดยการประยุกต์ใช้สื่อ ICT
2.1.6 ผลิตสื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรม พัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์และสร้างสรรค์
2.1.7 แสดงผลงานความสามารถของนักเรียน โดยเน้นทักษะการคิด วิเคราะห์ และสร้างสรรค์
2.2  เสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิต
2.2.1 ผลิตสื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิต
2.2.2 จัดกิจกรรมสร้างเสริมทักษะและประสบการณ์การจัดการสร้างงานอาชีพและการประกอบการ
2.2.3 จัดกิจกรรมส่งเสริมการแสดงออกของนักเรียน
2.2.4 จัดกิจกรรมส่งเสริมศิลปะ ดนตรีและกีฬา
2.2.5 จัดกิจกรรมปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม จัดกิจกรรมส่งเสริมจัดกิจกรรมส่งเสริมและค่านิยมที่พึงประสงค์
2.3 สืบสานศิลปวัฒนธรรมแลภูมิปัญญาไทย
2.3.1 ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
2.3.2 จัดกิจกรรมส่งเสริมศิลปะ ดนตรีและกีฬา
2.3.3 ส่งเสริมการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.4 การพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้
2.4.1 สร้างความเข้าใจการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
2.4.2 ส่งเสริมการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร
2.4.3 ส่งเสริมการผลิตและใช้สื่อนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้
2.4.4 จัดให้มีห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์
2.4.5 สร้างเครือข่ายการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้
2.4.6 ผลิตสื่อ ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการประเมินผลการเรียนรู้ที่เน้นคุณภาพและกระบวนการทำงาน
2.4.7 ปรับกระบวนทัศน์ การวัดผลประเมินผลเน้นสภาพจริง และการสอบวัดการคิดวิเคราะห์จากแบบเรียน
2.4.8 ส่งเสริมการวิจัยพัฒนาหลักสูตร
                     การพัฒนาคุณภาพนักเรียนและกระบวนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง การดำเนินงานพัฒนาคุณภาพนักเรียนและกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีการเสริมสร้างบุคคลแห่งการเรียนรู้ การเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิต การสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้
3.     ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
3.1 พัฒนาผู้บริหาร
3.1.1 ฝึกทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
3.1.2 สัมมนาการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ
3.2 พัฒนาครู
3.2.1 สัมมนาการปฏิรูปการเรียนรู้
3.2.2 ฝึกอบรมทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ
3.2.3 ส่งครูฝึกอบรม เชื่อมต่อข้อมูล และฝึกอบรมระหว่างปฏิบัติงาน (On the job training)
3.2.4 พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้จากตัวอย่างผลงานและรูปแบบ การจัดการเรียนรู้ที่ดี
3.2.5  การดำเนินการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา หมายถึง การพัฒนาครูและบุคลากรที่มีการพัฒนาครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาให้มีผลงานพัฒนาคุณภาพการศึกษา
4.     ด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
4.1 การพัฒนาระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร (ICT) เพื่อการจัดการเรียนรู้
4.1.1 เชื่อมต่อระบบเครือข่ายทางการศึกษา (Ed.Net)
4.1.2 พัฒนาระบบอุปกรณ์ขั้นพื้นฐานเพื่อใช้งาน
4.1.3 จัดหาสื่อมัลติมีเดียการจัดการเรียนรู้
4.2 พัฒนาศักยภาพสถานศึกษาและครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ ICT
4.2.1 พัฒนาระบบศูนย์การเรียนรู้ทางไกลแบบสื่อสารสองทางที่ทันสมัย มีการนำเสนอข้อมูล ICT รายวัน
4.2.2 รวบรวมและพัฒนาสื่อประเภทดิจิตอลพร้อมจัดระบบศูนย์การเรียน e-Library, e-Book, e-Learning
4.2.3 ส่งเสริมซอฟแวร์ (ที่มีลิขสิทธิ์) เพื่อพัฒนาระบบ ICT
4.2.4 อบรมการผลิตและพัฒนาสื่อผ่านเครือข่าย (WBIX และ CAI)
4.2.5 อบรมการใช้ Software Pro/Desktop
4.2.6 อบรมการดูแลระบบเครือข่ายและซ่อมบำรุง
4.3 การพัฒนาระบบบริหารจัดการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
4.3.1 จัดทำระบบบริหารสารสนเทศ (MIS)
4.3.2 พัฒนาคู่มือการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษา
การดำเนินงาน ด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง การดำเนินงานพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีการพัฒนาระบบเครือข่าย ICT เพื่อการจัดการเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพสถานศึกษาและครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ ICT และการพัฒนาระบบริหารจัดการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
5.     ด้านการพัฒนาระบบภาคีเครือข่ายอุปถัมภ์และทรัพยากรทางการศึกษา
5.1 พัฒนาระบบภาคีเครือข่ายอุปถัมภ์ทางการศึกษา
5.1.1 รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ขอรับการสนับสนุนจากองค์กร ภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจ
5.1.2 ประชุมสัมมนาพี่เลี้ยง เพื่อมีแนวทางในการพัฒนาโรงเรียน
5.1.3 ประชุมปฏิบัติการครูและพี่เลี้ยง เพื่อกำหนดกลยุทธ์ร่วมกันในการพัฒนาโรงเรียน
5.2 ส่งเสริมการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน
5.2.1 โรงเรียนบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน
5.2.2  โรงเรียนใช้ทรัพยากรและงบประมาณมีประสิทธิภาพเกิดคุณภาพเป็นไปตามแผนพัฒนาโรงเรียน
5.2.3  สนับสนุน กำกับ ติดตาม ประเมินผลประสิทธิภาพและคุณภาพ การบริหารงบประมาณ
5.2.4 ผลิตสื่อส่งเสริมให้โรงเรียนบริหารจัดการบุคลากรให้เพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การดำเนินงาน ด้านการพัฒนาระบบภาคีเครือข่ายอุปถัมภ์และทรัพยากรทางการศึกษา หมายถึง การดำเนินงาน ด้านการพัฒนาระบบภาคีเครือข่ายอุปถัมภ์และทรัพยากรทางการศึกษาที่มีการพัฒนาระบบภาคีเครือข่ายอุปถัมภ์ทางการศึกษาและการส่งเสริมการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน
                    ลักษณะและความสามารถที่พึงประสงค์ของครูโรงเรียนในฝัน
ลักษณะและความสามารถที่พึงประสงค์ หมายถึง ลักษณะและความสามารถที่สอดคล้องกับภาพครูโรงเรียนในฝัน 3 ด้าน ได้แก่
1.    ด้านจิตวิญญาณของความเป็นครู
2.    ด้านความสามารถในการจัดการเรียนรู้
3.    ด้านความสามารถเฉพาะด้าน
1.     ด้านจิตวิญญาณของความเป็นครู
1.1 มีความรักและเมตตาต่อศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
พฤติกรรมที่พึงประสงค์
1)    ให้ความรู้สึกเป็นมิตร เป็นที่พึ่งพาและไว้วางใจแก่ศิษย์ทุกคน
2)    ตอบสนองข้อเสนอและการกระทำของศิษย์ในทางสร้างสรรค์ตามสภาพปัญหาและความต้องการตามศักยภาพของศิษย์แต่ละคน
3)    เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาศิษย์แต่ละคนและทุกคนตามความถนัด ความสนใจ และศักยภาพของศิษย์ แสดงผลงานที่ภาคภูมิใจของศิษย์แต่ละคนและทุกคนทั้งในและนอกสถานที่
1.2 ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งกาย วาจา ใจ
พฤติกรรมที่พึงประสงค์
1)    มีกิริยามารยาทและการแสดงออกเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์
2)    พูดจาสุภาพและสร้างสรรค์โดยคำนึงผลที่เกิดขึ้นกับศิษย์และสังคม
3)    กระทำตนเป็นแบบอย่างที่ดีสอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณี
1.3 รักศรัทธาในอาชีพครูและองค์กรวิชาชีพ
พฤติกรรมที่พึงประสงค์
1.    แสดงออกถึงความเชื่อมั่นและชื่นชมภูมิใจในความเป็นครู ตลอดจนองค์กรวิชาชีพครูว่าเป็นอาชีพที่สำคัญและจำเป็นต่อสังคม
2.    เป็นสมาชิกองค์กรวิชาชีพครูสนับสนุนหรือเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพ
2.     ด้านความสามารถในการจัดการเรียนรู้
2.1 ความสามารถในการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
พฤติกรรมที่พึงประสงค์
1)    ความสามารถในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ พัฒนานักเรียนอย่างเป็นระบบ
2)    พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อตอบสนองการพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวมหรือบูรณาการ
3)    ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ จัดกิจกรรมส่วนใหญ่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ลักษณะการจัดกิจกรรมที่ยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องและสนองความต้องการพัฒนานักเรียนเป็นรายบุคคล และเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงออกอย่างอิสระ ประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงเป็นรายบุคคล
2.2 ความสามารถในการคิดค้น พัฒนาผลิตสื่อ และใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
พฤติกรรมที่พึงประสงค์
1)    คิด ค้น ผลิตสื่อ ปรับปรุงการเรียนการสอนที่มีผลต่อการเรียนรู้ รวมถึงได้เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินการ
2)    เลือกใช้ ICT เพื่อการจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม
2.3 ความสามารถที่ปรากฏต่อผู้เรียน
พฤติกรรมที่พึงประสงค์
1)    นักเรียนสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
2)    นักเรียนสามารถวางแผนการเรียนรู้และเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
3)    นักเรียนสรุปและเผยแพร่ความรู้ได้
4)    ผลงานนักเรียนมีคุณภาพ
2.4 มีความสามารถในการพัฒนาผู้เรียนด้วยกระบวนการวิจัย
พฤติกรรมที่พึงประสงค์
1)    นำผลการประเมิน ผลการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคนมาเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญในการคิดค้นหาวิธีพัฒนาและปรับปรุงนักเรียนอย่างเป็นระบบน่าเชื่อถือ
2)    นำเสนอผลการพัฒนาและปรับปรุงนักเรียนอย่างเป็นระบบและสามารถพัฒนาเป็นผลงานวิชาการได้
3.     ด้านความสามารถเฉพาะด้าน
3.1  มีความรู้และความเชี่ยวชาญตรงกับงานที่ปฏิบัติ
พฤติกรรมที่พึงประสงค์
มีความรู้และความเชี่ยวชาญในเนื้อหาสาระและทักษะตรงกับงานที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี
3.2 มีทักษะในการใช้เครื่องมือในการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง
พฤติกรรมที่พึงประสงค์
1)    มีความสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารแสวงหาความรู้ในการพัฒนา
2)    มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี แสวงหาความรู้และพัฒนาตนเอง

รูปแบบการประเมินโครงการ
การประเมินแบ่งได้หลายประเภท ตามแต่จะใช้เกณฑ์ใดเป็นหลักในการแบ่ง เช่น แบ่งโดยยึดจุดมุ่งหมายของการประเมิน ยึดหลักในการประเมิน ลำดับเวลาในการประเมิน เป็นต้น
รูปแบบการประเมิน จะเป็นกรอบหรือแนวความคิดที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการหรือรายการประเมิน การจะใช้รูปแบบการประเมินใด จึงอยู่ที่จุดเน้นและจุดมุ่งหมายของการประเมิน ซึ่งโดยทั่วไปนิยมแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ (ธเนศ ขำเกิด, 2551)
1. รูปแบบการประเมินที่เน้นจุดมุ่งหมาย เป็นรูปแบบที่เน้นการตรวจสอบผลที่คาดหวังว่าเกิดขึ้นหรือไม่ หรือประเมินโดยตรวจสอบผลที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมายเป็นหลัก โดยดูว่าผลที่เกิดจากการปฏิบัติงานบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ เช่น รูปแบบการประเมินของไทเลอร์ (Tyler) ครอนบาค (Cronbach) เคิร์กแพตทริค (Kirkpatrick) (Kirkpatrick) เป็นต้น
2. รูปแบบการประเมินที่เน้นการตัดสินคุณค่า เป็นรูปแบบการประเมินที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศสำหรับกำหนดและวินิจฉัยคุณค่าของโครงการนั้น เช่น รูปแบบการประเมินของ สเตค (Stake) สคริฟเว่น (Scriven) โพรวัส (Provus) เป็นต้น
3. รูปแบบการประเมินที่เน้นการตัดสินใจ เป็นรูปแบบการประเมินที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล และข่าวสารต่างๆ เพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเลือกทางเลือกต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง เช่น รูปแบบการประเมินของเวลช์ (Welch) สตัฟเฟิลบีม(Stufflebeam) อัลคิน (Alkin) เป็นต้น
ซึ่งสอดคล้องกับ สมประสงค์ วิทยาเกียรติ (2543: 190) ได้กล่าวไว้ว่า การประเมินมีหลายรูปแบบ ซึ่งผู้ประเมินผลโครงการสามารถพิจารณาเลือกรูปแบบการประเมินที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่มุ่งประเมิน เช่น
1.รูปแบบการประเมินที่เน้นจุดมุ่งหมาย เป็นรูปแบบที่มุ่งดูผลที่เกิดจากการปฏิบัติงานว่าบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ ได้แก่ รูปแบบการประเมินของไทเลอร์ (Tyler) ครอนบาด (Cronbach) และเคิร์กแพตทริค (Kirkpatrick) (Kirkpatrick) เป็นต้น
2.รูปแบบการประเมินตัดสินคุณค่า เป็นรูปแบบที่มุ่งให้ได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศสำหรับกำหนดคุณค่าของโครงการได้แก่ รูปแบบการประเมินของ สเตค (Stake) สคริฟเว่น (Seriven) โพรวัส (Provus) เป็นต้น
3. รูปแบบการประเมินที่เน้นการตัดสินใจ เป็นรูปแบบที่มุ่งให้ได้มาซึ่งข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกทางเลือกต่าง ๆได้อย่างถูกต้อง ได้แก่รูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) เวลซ์ (Welch) อัลคิน (Alkin) เป็นต้น
นักทฤษฎีการประเมิน ได้เสนอรูปแบบการประเมินการไว้มากมาย ซึ่งแต่ละรูปแบบก็จะมีความแตกต่างกันบ้าง คล้ายคลึงกันบ้าง ตามแต่ลักษณะของโครงการที่ทำการประเมิน ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับโครงการของแต่ละหน่วยงาน ฟิลลิปส์ เจ ได้รวบรวมรูปแบบการประเมินไว้ 7 รูปแบบ ได้แก่ 1) The Kirkpatrick Approach 2) The Bell System Approach 3) The CIRO Approach 4) Saratoga Institute Approach 5) The IBM Approach 6) Xerox Approach 7) CIPP Model (อดิศักดิ์ จินดานุกูล, 2545 : 28)โดยทั้ง 7 รูปแบบดังกล่าว เป็นรูปแบบการประเมินที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้มีความเหมาะสมที่จะใช้ในการประเมินโครงการโดยเฉพาะ ซึ่งแต่ละรูปแบบต่างมีปรัชญาที่แตกต่างกันบ้าง คล้ายกันบ้างตามความเชื่อของนักทฤษฎีที่พัฒนารูปแบบนั้นๆ เป็นผลให้แต่ละรูปแบบมีข้อเด่น และข้อด้อยในการใช้ที่แตกต่างกันไป ใน 7 รูปแบบ มีอยู่ 2 รูปแบบที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมในการนำไปประยุกต์ใช้กับการประเมินในหน่วยงานต่างๆ อย่างมาก ได้แก่ The Kirkpatrick Approach และCIPP Model ทั้งนี้เป็นผลสรุปจากโครงการศึกษาวิจัยของ ASTD (American Society for Training and Development) (อดิศักดิ์ จินดานุกูล,2545 : 27) พบว่า มีผู้ปฏิบัติการด้านการประเมินผล เลือกใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model มากร้อยละ 56 และเลือกใช้รูปแบบการประเมิน The Kirkpatrick Approach เป็นอันดับรองลงมา คือ ร้อยละ 36 และอีกร้อยละ 8 ไม่ระบุการเลือกใช้รูปแบบการประเมินใดๆ
สรุปได้ว่า การประเมินโดยยึดวัตถุประสงค์ มี 3 รูปแบบ คือ รูปแบบการประเมินที่เน้นจุดมุ่งหมาย รูปแบบการประเมินตัดสินคุณค่า และรูปแบบการประเมินที่เน้นการตัดสินใจ
บทบาทของผู้บริหารในการสร้างหรือพัฒนาวัฒนธรรมในการทำงานร่วมกันของคณะครู
1.             ให้คณะครูร่วมกันกำหนดเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของโรงเรียน โดยคำนึงถึงนักเรียนเป็นเป้าหมายสำคัญ การที่ครูได้ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของโรงเรียน จะทำให้ครูมองภาพในอนาคตของโรงเรียนได้อย่างชัดเจน และหาวิธีการที่จะทำให้โรงเรียนเจริญก้าวหน้ามากขึ้นให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ โดยภาพที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องคำนึงถึงนักเรียนเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุด ผู้บริหารจะคอยเป็นพี่เลี้ยงคอยขัดเกลาให้เป้าหมาย วิธีการให้ชัดเจนขึ้นและมีความเป็นไปได้ตามสภาพความเป็นจริง
2.             ผู้บริหารวางระบบการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ เป้าหมายวิธีการและการปฏิบัติต่าง ๆให้รู้ ทั่วกัน คอยกระตุ้นและย้ำเตือนทุกครั้งที่มีโอกาส
3.             พยายามจัดเวลา และหาโอกาสให้คณะครูได้ร่วมทำงานวางแผนร่วมกันเท่าที่โอกาสจะอำนวย
4.             ดกิจกรรม ให้สมาชิกมีความคุ้นเคยกัน เพื่อความไว้วางใจยอมรับ และเห็นคุณค่าของการ ทำงานร่วมกัน
5.             ประชาสัมพันธ์ และมอบหมายให้คณะผู้ทำงานซึ่งรู้งาน รู้ปัญหา ในเรื่องนั้น ๆ เป็นผู้รับผิดชอบ ตัดสินใจ วางแผนการพัฒนางาน โดยผู้บริหารคอยสนับสนุนให้บริการเท่าที่จำเป็นและคอยให้กำลังอย่างสม่ำเสมอ
6.             ใช้การประชุมให้เป็นประโยชน์ในการระดมความคิด ร่วมมือ ร่วมใจ ในการทำงาน มิใช่เป็น เพียงการแจ้งให้ทราบเพียงอย่างเดียว โดยเน้นการสื่อสารสองทางเปิดโอกาสให้รู้ได้แสดงความคิดเห็น อย่างเต็มที่ เพื่อนำไปสู้ความเข้าใจอันดีต่อกัน
7.             คอยกระตุ้น และให้กำลังใจ ให้ครูตระหนักเสมอว่า โรงเรียนของเราจะดี เจริญก้าวหน้าและ พัฒนาได้ เพราะครูของเราเท่านั้นเพราะไม่มีใครจะรักโรงเรียนของเราเท่ากับพวกเรากันเอง เราจะไม่หยุดนิ่ง อยู่กับที่เพื่อความภาคภูมิใจของเราเอง และนักเรียนในความรับผิดชอบของเรา จากการสัมภาษณ์ นายสันติ ทะเดช ตำแหน่ง ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดกาโห่ใต้ (20 เมษายน 2553)
8.             ความมุ่งมั่นในการทำงานเป็นเรื่องที่ไม่อาจใช้อำนาจบังคับได้ โดยปกติจะพัฒนาจากความรู้สึกที่เขามีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายในการแก้ปัญหาและในความสำเร็จของงาน ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันดีอยู่แล้ว
ความมุ่งมั่นและความสามารถของครู

ผู้บริหารจะช่วยส่งเสริมสนับสนุนได้อย่างไร โดยปกติคนเราจะมีความมุ่งมั่นและความพยายามอยู่ในการทำงานอยู่ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าต้องการให้มีความก้าวหน้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผู้บริหารสามารถส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูเกิดความมุ่งมั่นและความพยายามมากยิ่งขึ้น ดังนี้
1.             ผู้บริหารต้องสร้างแรงจูงใจในการทำงาน
2.             กระตุ้นให้เกิดความต้องการที่จะไปสู่จุดหมายสูงสุดให้ได้
3.             พัฒนาศักยภาพของครู อาจารย์ให้เต็มที่เท่าที่มีอยู่
4.             สนับสนุนเป้าหมายของครูให้เป็นเป้าหมายเดียวกันของโรงเรียน
5.             ส่งเสริมให้ครูรู้ถึงศักยภาพของตนเองและพัฒนาให้ถึงขีดสูงสุด
6.             ให้ครูเกิดความรู้สึกรัก ศรัทธาและนับถือตัวเอง
การพัฒนางานในหน้าที่ของตนเองของครู

ผู้บริหารจะช่วยส่งเสริมสนับสนุนได้อย่างไร โดยธรรมชาติแล้วคนเราทุกคนย่อมต้องการพัฒนางานในหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้นตามลำดับ ให้มีความแปลกใหม่ จะได้สนุกกับการทำงาน เพลิดเพลินกับการสอน แต่หากสถานการณ์ไม่เอื้ออำนวย การริเริ่มงานมีอุปสรรค ขาดการสนับสนุนที่ดีจากผู้บริหาร ครูจะเกิดความเบื่อหน่าย ทำงานไปวัน ๆ แบบเช้าชามเย็นชาม โดยไม่สนใจปรับปรุงงานให้ดีขึ้น ผลเสียโดยตรงย่อมตกอยู่กับนักเรียนที่อยู่ในความรับผิดชอบ เป็นแนวคิดจากการสัมภาษณ์ ว่าที่ร้อยตรี ชาคริต คีรีเพชร ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านควนชิง ( 25 เมษายน 2553)
1.             สนับสนุนการประเมินตนเองของคณะครูตามสภาพความเป็นจริง
2.             ให้มีการแสดงความคิดเห็นภายในโรงเรียน ภายในกลุ่ม ระหว่างกลุ่มโดยให้มีข้อมูลย้อนกลับ ด้วยเพื่อจะได้นำข้อมูลมาปรับปรุงและพัฒนางานในโอกาสต่อไป
3.             ให้การดูแล ให้ความสนใจ เอาใจใส่ ลดภาระหน้าที่และเวลาของครูในเรื่องอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับ การเรียนการสอนให้น้อยลง ให้ครูได้ใช้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างเต็มที่

ทักษะการเป็นผู้นำ

สรุปเนื้อหาโดย นางศรีธารา แหยมคง เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนชลบุรี สถาบันการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
 ความเป็นผู้นำเคยถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิด ด้วยความที่มันถูกแสดงให้เห็นเด่นชัดโดยบุคคลที่เป็นวีรบุรุษ ความเป็นผู้นำจึงถูกมองว่าเป็นการผสมผสานระหว่างความกล้า บารมี และความสามารถพิเศษอื่นๆ อีกมากมาย ความเป็นผู้นำยังรวมถึงการตัดสินใจที่เด็ดเดี่ยวในยามที่ต้องเผชิญกับความขัดแย้งกัน 

บันไดสู่ความเป็นผู้นำ

บทความจาก GovLeaders.org 
เรียบเรียงโดย กนกวรรณ แก้วฟ้า APM Group ประสานข้อมูลโดย กพร.ทบ.
1.ต้องรู้จักตนเองเป็นอย่างดี 
ผู้นำที่ดีจำเป็นต้องรู้จักตนเอง รู้ว่าผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชามีความคาดหวังอะไร และคิดอย่างไรกับตนเอง ผู้นำที่พยายามสอบถามข้อมูลป้อนกลับในการทำงานตนจากแหล่งต่างๆจะเป็นผู้ที่เข้าใจและสามารถปรับปรุงพฤติกรรมต่างๆ ของตนเองและจะกลายเป็นผู้นำที่ดีในที่สุด 

2.พัฒนาจิตใจให้เข้มแข็ง 
ผู้นำที่ดีต้องซื่อสัตย์ต่อตนเอง เมื่อทำผิดหรือเกิดความผิดพลาดขึ้นก็ต้องยอมรับในความเป็นจริง เพราะแม้แต่ผู้นำที่ดีที่สุดก็เคยทำผิดพลาด สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ผู้นำที่ดีจะเผชิญหน้ากับความผิดพลาดในครั้งนั้น และแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นโดยเร็วที่สุดพร้อมกับหาหนทางป้องกันไม่ไห้เกิดการผิดพลาดซ้ำขึ้นอีก 

3.ต้องใจกว้างและไม่เห็นแก่ตัว 
การที่จะเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องรู้จักใช้อำนาจอย่างถูกวิธี รู้วิธีในการกระจายอำนาจของตนให้แก่ผู้อื่นรวมถึงให้เวลาในการทำงานร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาของตนเองด้วย 

4.ฟังให้เป็น...เป็นผู้ฟังที่ดี 
โดยปกติแล้วผู้นำส่วนใหญ่มักจะคิดว่า ตนจะพูดอะไรต่อไปมากกว่า ตั้งใจฟังอย่างจดจ่อ (Deep Lisining)” ซึ่งนั้นจะทำให้ผู้นำไม่สามารถเป็นผู้นำที่ดีและมีศักยภาพได้ เพราะ การฟังแตกต่างจาก การได้ยินดังนั้น ทักษะที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งของผู้นำคือ ฟังอย่างไรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ผู้นำจะต้องพยายามทำความเข้าใจในสิ่งที่ฟังจับประเด็นในสิ่งที่ฟังให้ดีและให้ถูกจุดนอกจากนั้นต้องไม่ขัดจังหวะในขณะที่ผู้อื่นกำลังพูดอยู่ 

5.เชื่อในสัญชาตญาณของตน 
เมื่อผู้นำรู้สึกถึงความไม่ชอบมาพากลหรือมีอะไรทำให้รู้สึกไม่สบายใจเกี่ยวกับโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ ผู้นำต้องเชื่อในสัญชาตญาณของตนเอง หยุดแล้วลองย้อนกลับมาดูในเรื่องที่กังวลนั้นอย่างใส่ใจเพื่อความสมบูรณ์ถูกต้อง สัญชาตญาณของผู้นำนับเป็นสิ่งพิเศษที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างประสบการณ์และทักษะความรู้ของตัวผู้นำ ซึ่งหลายต่อหลายครั้งที่สัญชาตญาณของผู้นำช่วยให้องค์กรผ่านพ้นวิกฤตไปได้ 

6.เรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาด 
ผู้นำที่ดีต้องเรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาดมากกว่ายึดติดกับความสำเร็จของตนในอดีต เพราะนี่คือสิ่งที่ผู้นำควรต้องเรียนรู้เพื่อไม่ก่อให้เกิดข้อผิดพลาดซ้ำ 

7.รู้จักเปิดรับแนวคิดใหม่ ๆ 
ผู้นำจะต้องเปิดรับผู้ที่เสนอแนวคิดใหม่ๆ ให้แก่องค์กร เพราะแนวคิดของคนเหล่านี้จะนำความก้าวหน้ามาสู่องค์กรหรือหน่วยงานได้อย่างแท้จริง ในปัจจุบันสิ่งที่องค์กรต้องการคือความคิดดีๆจากพนักงาน มีคนเคยกล่าวไว้ว่าใน 50 ความคิด ถ้ามีเพียง 1 ความคิดที่สามารถนำมาต่อยอดเพื่อสร้างรายได้ให้กับองค์กรหรือหน่วยงานได้ก็นับได้ว่าคุ้มค่าที่สุดแล้ว 

8.ต้องมีความเด็ดขาดและเด็ดเดี่ยว 
โดยปกติผู้นำในระดับสูงที่มีศักยภาพที่ดีต้องการข้อมูลที่จำเป็นและสำคัญเพียงแค่ 60% เท่านั้น ก็เพียงพอต่อการตัดสินใจอย่างรอบคอบของเขา ดังนั้นการตัดสินใจโดยที่ต้องใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจมากเกินไปไม่ได้หมายความว่าเป็นการตัดสินในที่ดีและถูกต้องเสมอไป ซึ่งในทางกลับกันนั่นอาจจะทำให้การตัดสินใจล่าช้าและไม่ทันการณ์ก็เป็นได้ 

9.กล้าหาญ 
มีผู้นำมากมายที่ไม่กล้าที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้องหรือควรทำ ไม่กล้าแม้แต่จะคัดค้านผู้อื่นในสิ่งที่รู้ว่าผิด ผู้นำที่มีศักยภาพต้องมีความกล้า กล้าพูด กล้าตัดสินใจ ต้องเป็นคนนำเสนอแนวคิด และกระตุ้นให้ผู้ใต้บังคับบัญชาแสดงความคิด รวมทั้งกล้าจะรับผิด และกล้าที่จะลงโทษผู้กระทำผิด 

10.ยืนหยัดรับคำวิจารณ์ 
ต้องยอมรับคำวิจารณ์ ผู้นำต้องเข้าใจว่า คำวิจารณ์เป็นเรื่องธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่ต้องเกิดขึ้นในองค์กร เงยหน้ารับคำวิจารณ์และหลีกเลี่ยงการต่อต้านหรือปกป้องตนเองจากคำวิจารณ์เหล่านั้น ต้องไม่คิดเครียดแค้นหรือแก้แค้นเพื่อตอบโต้กับผู้ที่มาวิจารณ์ เพราะจะส่งผลเสียต่อผลการปฏิบัติงานทางที่ดีควรปรับทัศนคติโดยคิดว่าคำวิจารณ์เหล่านั้นเป็นการติเพื่อก่อแล้วนำปรับปรุงพัฒนาการทำงานให้ดียิ่งขึ้น 

11.ปฏิบัติงานโดยมีเป้าหมายที่ชัดเจน 
ผู้นำไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน ต้องตั้งเป้าหมายในระยะยาว เพื่อสร้างแนวทางการดำเนินงานให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาและหน่วยงานหรือองค์กรของตน เพราะไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนทำงานในระดับใดย่อมต้องการที่จะทราบว่าพวกเขากำลังทำอะไร กำลังเดินไปในทิศทางใด และทำไปเพื่อเป้าหมายหรือผลลัพธ์ใด 

12.อย่าทำให้ผู้อื่นเสียเวลาโดยไร้ประโยชน์ 
โดยปกติแล้วสิ่งที่ผู้นำควรใส่ใจเป็นอันดับต้นๆ คือ ต้องคำนึงว่านโยบายที่ออกมาจากผู้นำนั้นต้องไม่เป็นสิ่งที่ทำให้ขั้นตอนการทำงานเพิ่มขึ้นหรือไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ที่คุ้มค่ากับสิ่งที่ลงมือไป ดังนั้นในระหว่างการทำงานผู้นำควรใส่ใจที่จะถามคำถามกับผู้ใต้บังคับบัญชาของตนว่า มีนโยบายหรือขั้นตอนที่ผม/ดิฉันกำหนดมาและทำให้พวกคุณเสียเวลาหรือทำงานล่าช้าลงไปหรือไม่ซึ่งแน่นอนว่าผู้ใต้บังคับบัญชาส่วนใหญ่คงไม่กล้าที่จะตอบคำถามนี้ แต่หากมีเพียงสักคนที่ตอบคำถามด้วยความจริงใจนั่นจะเป็นเสมือนแนวทางที่ช่วยให้ผู้นำสามารถเรียนรู้และเติบโตเพื่อก้าวไปสู่การเป็นผู้นำที่ดีได้ต่อไป 

13.ให้ความสำคัญกับทุกคนที่ทำงานเพื่อเรา 
ผู้นำจำเป็นต้องให้ความใส่ใจกับทีมงานทุกคน ต้องรู้ว่าผู้ใต้บังคับบัญชาคนใดบ้างที่เป็นผู้สร้างความสำเร็จให้เกิดขึ้น และเลือกที่จะยกย่องชื่นชมพวกเขาอย่างจริงใจ อย่าละเลยคนที่ทำงานปิดทองหลังพระ 

14.อย่าส่งสัญญาณว่า กำลังไม่ไว้ใจ 
ผู้นำที่ชอบพูดว่า ผม/ดิฉันไม่ต้องการเรื่องเซอร์ไพรส์หรือ แจ้งให้ผม/ดิฉันทราบก่อนที่คุณจะลงมือทำอะไรหรือ ในช่วงที่ผม/ดิฉันไปพักร้อน ผม/ดิฉันจะโทรหาคุณทุกเช้าเพื่อจะได้ทราบความเคลื่อนไหวของงานที่คุณทำคำพูดต่างๆเหล่านี้กำลังทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาของคุณรู้สึกว่า ผู้นำกำลังไม่ไว้ใจในศักยภาพของผู้ใต้บังคับบัญชาของตนอยู่ข้อความเหล่านี้อาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลกับความรู้สึกของผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งทำให้พวกเขากังวล ขาดความมั่นใจในความสามารถของตนเอง และอาจส่งผลให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 

15.ใส่ใจกับความล้มเหลว 
ผู้นำส่วนใหญ่จะพยายามพูดถึงแต่ผลงานที่ประสบผลสำเร็จเพื่อทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชารู้สึกดีใจและชื่นชม ในขณะที่พยายามซ่อนหรือปกปิดปัญหาหรือข้อขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นการกระทำเหล่านี้ไม่ใช่พฤติกรรมที่ถูกต้องในการเป็นผู้นำที่ดี เพราะการซ่อนหรือปกปิดปัญหาอาจทำให้เกิดข้อขัดแย้งที่รุนแรงและนำมาซึ่งความล้มเหลวในการบริหารงานในอนาคตได้ 

16.พัฒนาทักษะการเป็นผู้นำให้แข็งแกร่ง 
คุณไม่ควรหยุดการพัฒนาแม้แต่วินาทีเดียว การหยุดพัฒนาเปรียบเสมือนการก้าวถอยหลัง ดังนั้น ผู้นำที่ดีจึงควรที่จะพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆ รวมถึงทักษะการจัดการและการบริหารงานใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ การที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้นั้น คุณต้องเป็นผู้ที่สามารถบริหารเวลาได้ดี ต้องมีความรอบคอบ ตัดสินใจได้อย่างเด็ดขาดแม่ยำ และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกจุด 

17.ทำความเข้าใจกันระหว่างผู้นำและผู้ใต้บังคับบัญชา 
การเป็นผู้นำที่ดีคุณต้องเข้าใจสไตล์ที่แตกต่างกันของผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคน พร้อมทั้งปรับสไตล์ของตนเองให้เข้ากับผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละสไตล์ ในทางกลับกัน คุณต้องเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้เรียนรู้และเข้าใจในตัวตนของคุณด้วยเช่นกัน คุณต้องบอกพวกเข้าในสิ่งสำคัญที่คุณเป็น รวมทั้งชี้แจงในสิ่งต่างๆ ที่จะทำให้คุณชอบหรือไม่ชอบผู้ใต้บังคับบัญชาจำเป็นที่จะต้องเข้าใจและรู้จักตัวตนของผู้นำตั้งแต่เริ่มต้น 

18.ต้องไม่มุ่งเน้นแต่เรื่องของผลลัพธ์เพียงอย่างเดียว 
ผลลัพธ์ที่ดีถือเป็นเรื่องสำคัญก็จริง แต่อย่างไรก็ตาม ผู้นำที่ไม่ใส่ใจกับระบบขั้นตอนต่างๆ หรือแนวทางการปฏิบัติงานระหว่างทางเลยอาจจะนำมาซึ่งความผิดพลาดอันใหญ่หลวงได้ ดังนั้นผู้นำที่ดีควรจะให้ความสำคัญกับขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินการในระหว่างทางอย่างสม่ำเสมอ หากเกิดปัญหาขึ้นจะได้สามารถแก้ไขได้ทันการณ์ ซึ่งแนวทางและขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพจะส่งผลโดยตรงต่อผลลัพธ์ที่ดีให้อนาคตแล้วทีมงานของคุณจะรักในความจริงใจ และความตรงไปตรงมาของคุณ 

19.รู้จักปล่อยวาง 
มีผู้นำมากมายที่กังวลมากจนเกินไปและเคร่งเครียดตลอดเวลาเพื่อที่จะทำให้ได้ผลงานที่ดีและเป็นที่ยอมรับของผู้บังคับบัญชา พวกเขาไม่เคยคิดที่จะปล่อยวาง ซึ่งสิ่งนี้มักจะทำให้เกิดบรรยากาศในการทำงานที่ตึงเครียดซึ่งจะส่งผลโดยตรงไปยังบุคคลรอบข้างและผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้นำที่ดีสามารถแสดงความโกรธและความเครียดได้บ้างเป็นครั้งคราว แต่ในขณะเดียวกันพวกเขาก็ต้องสามารถควบคุมอารมณ์ของตนและปล่อยวางบ้างในเรื่องที่อยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่และความสามารถที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ 

20.ระวังเรื่องของ การขู่ 
ผู้นำที่กระตุ้นผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยการขู่จะไม่สามารถเป็นผู้นำที่ดีได้ ไม่ว่าผู้นำจะอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตามการเป็นผู้นำที่ดีย่อมต้องสัมพันธ์กับการเป็นนักวางแผน นักการบริหาร นักจิตวิทยา และในขณะเดียวกันก็ต้องเป็นผู้สนับสนุนและเป็นที่ปรึกษาที่ดีด้วย ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ผู้นำต้องหมั่นฝึกฝนและรู้จักพัฒนาตนให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงไปของสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายใน เพื่อให้พร้อมสำหรับอนาคตของคุณ

 ภาวะผู้นำปริวรรต

จารุนันท์ เอียด :  โรงเรียนบ้านทุ่งใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 

      ผู้บริหารจะทำหน้าที่บริหารงานต่างๆ ให้ดำเนินไปด้วยความพร้อมเพรียงมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว เรียบร้อย ประหยัดกำลังคน กำลังทรัพย์ และบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ การบริหารองค์กรให้เจริญก้าวหน้าย่อมขึ้นอยู่กับการแสดงพฤติกรรมของผู้บริหาร เพราะผู้บริหารเป็นผู้แสดงพฤติกรรม ที่จะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคนปฏิบัติงานเต็มความสามารถด้วยความพึงพอใจ มีความสุขกับหมู่คณะและอาชีพของตน ผู้บริหารจึงเป็นบุคคลที่สำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กรและผู้ใต้บังคับบัญชา ( เบญจพร แก้วมีศรี, 2545 : 1) การที่ผู้ใต้บังคับบัญชาจะปฏิบัติอย่างเต็มความสามารถได้นั้นขึ้นอยู่กับสมรรถภาพในการทำงานของผู้บริหารและการแสดงพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหาร ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าผู้บริหารและผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นองค์ประกอบสำคัญขององค์การที่มีประสิทธิภาพ (Reddim , 1970:66) 

รัตติภรณ์ จงวิศาล ( 2543:5-6) ให้ความหมายผู้นำปริวรรตว่า หมายถึง กระบวนการที่ผู้นำมีอิทธิพลต่อผู้ร่วมงาน โดยการเปลี่ยนแปลงความพยายามของผู้ร่วมงาน ให้สูงขึ้นกว่าความพยายามที่คาดหวังพัฒนา ความสามารถของผู้ร่วมงานไปสู่ระดับที่สูงขึ้นและมีศักยภาพมากขึ้น ทำให้ตระหนักรู้ในภารกิจ จูงใจให้ผู้ร่วมงานมองไกลจากความสนใจของตน ซึ่งจะนำไปสู่ประโยชน์ของกลุ่มหรือสังคม 

เบส และอโวลิโอ (Bess & Avolio , 1994 : 2) ให้ความหมายผู้นำปริวรรตว่า สามารถเห็นได้จากผู้นำที่มีลักษณะ ดังนี้ คือ มีการกระตุ้นให้เกิดความสนใจในระหว่างผู้ร่วมงานและผู้ตามให้มองงานของเขาในแง่มุมใหม่ ๆ ทำให้เกิดความตระหนักรู้ในเรื่องภารกิจ และวิสัยทัศน์ของทีมและขององค์การ มีการพัฒนาความสามารถของผู้ร่วมงาน และผู้ตามไปสู่ระดับความสามารถที่สูงขึ้น มีศักยภาพมากขึ้น ชักนำให้ผู้ร่วมงานและผู้ตามมองไกลเกินกว่าความสนใจของพวกเขาเองไปสู่ที่จะทำให้กลุ่มได้ประโยชน์ ผู้นำปริวรรตจะชักนำผู้อื่นให้ทำมากกว่าที่เขาตั้งใจตั้งแต่ต้น และบ่อยครั้งมากที่พวกเขาคิดว่ามันจะเป็นไปได้ ผู้นำจะมีการท้าทายความคาดหวัง และมักนำไปสู่การบรรลุถึงผลงานซึ่งสูงขึ้น และสอดคล้องกับลิทวูด และคนอื่น ๆ ( Leithwood and others , 1999: 9) ให้ความหมายผู้นำปริวรรตไว้ว่า หมายถึง รูปแบบผู้นำที่ตัวผู้นำมีความสามารถพิเศษ มีวิสัยทัศน์ คำนึงถึงวัฒนธรรมขององค์การปรับเปลี่ยนองค์การและมอบอำนาจในการทำงานต่าง ๆให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาโดยมุ่งเน้นให้ ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความมุ่งมั่นผูกพันต่อองค์การและความมีสมรรถภาพของสมาชิกในองค์การ 

จากความหมายที่กล่าวมาทั้งหมดที่กล่าวมา ผู้เขียนสรุปได้ว่า ภาวะผู้นำปริวรรต (Transformational leadership) หมายถึง ภาวะผู้นำที่สามารถทำให้องค์การเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลโดยเกิดจากการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน และใช้สมรรถภาพของสมาชิกในองค์การอย่างเต็มที่ในการพัฒนางาน โดยที่สมาชิกทุกคนมีความตั้งใจและเต็มใจที่จะอุทิศตนเพื่อความก้าวหน้าของตนเองและงานในองค์การ 

ในองค์การทางการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดการศึกษาของสถานศึกษานั้นๆ ผู้บริหารจะต้องดำเนินการและจัดการศึกษาของสถานศึกษานั้นๆ ผู้บริหารจะต้องดำเนินการและจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายทำให้สถานศึกษาดำรงอยู่และก้าวหน้า 

สถานศึกษาเป็นองค์การที่ต้องการผู้บริหารที่เข้มแข็ง ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนเรียนการสอน ความต้องการภาวะผู้นำของผู้บริหารขึ้นกับคุณภาพ ในการเป็นผู้นำของผู้บริหาร ในการทำให้สถานศึกษามีความก้าวหน้าภาวะนำที่มีคุณภาพของผู้บริหารจะมีผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษาภาวะนำถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารเป็นการนำหรือเป็นการทำให้ผู้อื่นประพฤติปฏิบัติตามที่ประสงค์ ตามเป้าหมายขององค์การ ภาวะผู้นำเป็นเรื่องสำคัญมากในการบริหาร ซึ่งมีทฤษฏีเกี่ยวกับภาวะผู้นำที่นักวิชาการศึกษาไว้หลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีคุณลักษณะ ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์ ซึ่งภาวะผู้นำมีความสำคัญต่อความสำเร็จแห่งเป้าหมายขององค์การ อย่างเห็นได้ชัดเพราะมี คำกล่าวว่า ถ้าองค์การที่มีแต่จะเลวร้ายลงทุกๆวันนั้นเป็นเพราะผู้บริหารไม่มีภาวะผู้นำที่ดี หรือขาดภาวะผู้นำ 

ในปัจจุบันเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง ภาวะผู้นำปริวรรตเป็นผู้นำที่สร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่และทำให้เกิดการจูงใจอย่างมากต่อตัวผู้ตาม เป็นความสามารถของผู้บริหารที่สามารถทำให้สมาชิกในองค์การเพิ่มภาวะผู้นำเพื่อพัฒนางานในขอบเขตของแต่ละคนให้บรรลุเป้าหมายขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำปริวรรต จะมีบทบาทเป็นผู้ริเริ่ม ผู้ตัดสินใจ ผู้สั่งการน้อยที่สุด แต่จะมีบทบาทค่อนข้างมาก ในการเป็นผู้รับรู้ ผู้ประสานงาน ผู้สนับสนุน และผู้อำนวยความสะดวก ( รัชนี วิเศษสังข์ , 2537 : 15 ) เพื่อให้สมาชิกในหน่วยงานมีโอกาสใช้ความสามารถของตนอย่างเต็มที่ ในการริเริ่มงาน ตัดสินใจ แก้ปัญหาต่าง ๆ และพัฒนางานในหน้าที่ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด อาจกล่าวได้ว่าภาวะผู้นำปริวรรต เป็นผู้นำที่ดีและเหมาะกับสภาวการณ์ปฏิรูปการศึกษา จากผลการวิจัยและการพัฒนาภาวะผู้นำปริวรรตในทุกระดับองค์การของประเทศต่าง ๆ จำนวนมากพบว่า ผู้บริหารหรือผู้นำที่มีภาวะผู้นำปริวรรต สามารถทำให้ประสิทธิผลของงาน และองค์การสูงขึ้น แม้ว่าสภาพขององค์การจะมีข้อจำกัด ผู้บริหารที่มีที่มีลักษณะเป็นผู้นำของผู้นำ เป็นการให้อำนาจแก่สมาชิกเพื่อพัฒนางาน ในหน้าที่ให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ ให้อำนาจการตัดสินใจแก่สมาชิก ในบทความนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงภาวะผู้นำปริวรรต ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 

ความสำคัญของภาวะผู้นำ ความหมายของภาวะผู้นำปริวรรต ผู้นำปริวรรตแตกต่างจากผู้นำอื่น ๆ อย่างไร อะไรคือเป้าหมายของผู้นำปริวรรต ยุทธวิธีของภาวะผู้นำปริวรรต คุณลักษณะของผู้นำปริวรรต ภาวะผู้นำปริวรรตกับการปฏิบัติ ปัจจัยสำคัญในการใช้ภาวะผู้นำปริวรรตอย่างมีประสิทธิภาพความสำคัญของภาวะผู้นำ 

กล่าวได้ว่าประสิทธิผลของโรงเรียนขึ้นอยู่กับภาวะผู้นำของผู้บริหาร ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพการศึกษาโดยรวมประสิทธิผลของการบริหารการศึกษาจะวัดได้ดีที่สุดที่โรงเรียน เพราะเป็นที่ให้บริการการศึกษา ซึ่งทรัพยากรถูกใช้โดยครูและบุคลากรอื่น ๆ สู่การเรียนรู้ของนักเรียน ผู้บริหารเป็นผู้นำทางการศึกษาและผู้บริหาร ทีมบริหารจะนำโดยผู้บริหารที่จะทำให้ครูสอนดี นักเรียนเรียนดี มีการนำนวัตกรรมมาใช้ในโรงเรียน ซึ่งต้องใช้ภาวะผู้นำและความสามารถในจัดการเป็นพิเศษของผู้บริหาร แม้ว่า ทุกคนจะเห็นด้วยว่าผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเป็นผู้นำด้วยแต่ที่ยังเห็นแตกต่างกันคือผู้บริหารสถานศึกษา ควรเป็นผู้นำแบบใด ทฤษฎีภาวะผู้นำก็มุ่งแสวงหาภาวะผู้นำหรือแบบผู้นำที่ดีที่สุด แต่ก็ยังไม่มีข้อสรุปว่าผู้นำแบบใดดีที่สุด ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาการศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีภาวะผู้นำก็มุ่งแสวงหาผู้นำหรือผู้นำแบบปัจจุบันมีการศึกษาแนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำปริวรรต (Transformational leadership) ซึ่งนักวิชาการหลายท่านเห็นว่าผู้นำที่เหมาสมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาและจะเป็นหัวใจในปัจจุบัน และจะเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารการศึกษา คือ ภาวะผู้นำปริวรรต (Transformational leadership) แต่มีการเรียกชื่อเป็นภาษาไทยที่แตกต่างกันมากมาย เช่น ภาวะผู้นำการเปลี่ยนสภาพ ( เสริมศักดิ์ วิสาลาภรณ์) ภาวะผู้นำปฏิรูป ( รังสรรค์ ประเสริฐศรี) ภาวะผู้นำปริวรรต ( รัชนี วิเศษสังข์ ) และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (ประเสริฐ สมพงษ์ธรรม , รัตติภรณ์ จงวิศาล) แต่สำหรับบทความนี้ผู้เขียนขอใช้คำว่า ภาวะผู้นำปริวรรตซึ่ง หมายถึง ภาวะผู้นำที่สามารถทำให้องค์กรเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลโดยเกิดจากวิสัยทัศน์รวมกันและใช้สมรรถภาพของสมาชิกองค์การ อย่างเต็มที่ในการพัฒนางานโดยที่สมาชิกทุกคนมีความตั้งใจและเต็มใจที่จะอุทิศตนเพื่อความก้าวหน้าของตนเองและงานในองค์การ 

เมื่อศึกษาเกี่ยวกับภาวะผู้นำปริวรรต จะเห็นได้ว่าเป็นภาวะผู้นำที่สามารถทำให้องค์การเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นยุคปฏิรูปการศึกษา ซึ่งจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องค่าง ๆ มากมาย ผู้บริหารโรงเรียน จึงควรศึกษาภาวะผู้นำปริวรรตให้มากยิ่งขึ้น และนำรูปแบบภาวะผู้นำนี้ไปใช้ในการบริหารงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิผลต่อไป ผู้เขียนได้รวบรวมรายละเอียดที่สำคัญ ๆ และนำเสนอแนวคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาวะผู้นำปริวรรต จาการศึกษาเอกสาร สอบถาม สัมภาษณ์ผู้บริหารที่มีประสบการณ์ด้านการบริหารงานและประสบผลสำเร็จมาแล้วในการบริหารสถานศึกษา เพื่อให้ผู้บริหารและผู้สนใจได้นำภาวะผู้นำปริวรรต ไปใช้ประกอบการทำงาน ดังนี้ 

สิ่งที่ทำให้ภาวะผู้นำปริวรรต แตกต่างจากรูปแบบผู้นำแบบอื่น ๆ จากการสัมภาษณ์ นายบุญธรรม เอียดแก้ว ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดเขาลำปะ ( 10 เมษายน 2553 ) กล่าวว่า

1.             ไม่มีการบริหารแบบ up down ซึ่งผู้บริหารสั่งงานจากเบื้องบนแต่เพียงผู้เดียว
2.             ผู้นำปริวรรตเป็นพี่เลี้ยงอย่างใกล้ชิดของครูและนักเรียน เพื่อให้ครูได้ทำงานอย่างมั่นใจ และมี กำลังใจในการทำงาน นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเองมากยิ่งขึ้น
3.             คำนึงถึงความก้าวหน้าของครูไปพร้อม ๆ กับความก้าวหน้าของนักเรียน ส่วนใหญ่โรงเรียนและผู้บริหารจะมุ่งไปที่ผลงานของโรงเรียนและเน้นไปที่ตัวเด็ก แต่ไม่ได้สนใจที่จะพัฒนาครูให้มีความก้าวหน้า หรือได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ทำให้ส่งผลกระทำต่อการทำงานของครูและการพัฒนาคุณภาพนักเรียน
4.             ผู้นำปริวรรตจะดูแลให้วิสัยทัศน์ของโรงเรียนดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง การนำวิสัยทัศน์ที่กำหนดร่วมกันมาทำให้เป็นผลงานที่เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้งานของโรงเรียนเกิดขึ้นอย่างชัดเจนและตรงกับความต้องการของทุกคน
5.             ผู้นำปริวรรตมีแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงงานต่าง ๆ ไประยะหนึ่งก็จะเกิดภาวะชะงักงันของงาน ดังนั้นผู้บริหารต้องมีแนวคิดใหม่ที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงงานอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สมาชิกขององค์การเกิดความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน
6.             ผู้นำปริวรรต เหมาะที่จะใช้กับการดำเนินงานในขั้นตอนแรกของงานทุกงานของทุก ๆ วันให้ลุล่วง ไปด้วยดี เพราะการที่ผู้บริหารมีแนวคิดในการเปลี่ยนแปลง การมอบอาจในการตัดสินใจ การให้ทุกคนได้ร่วมกันแก้ปัญหา ทำให้สมาชิกมีความรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าขององค์การนั้นๆ จะทำงานด้วยความมุ่งมั่นและ พยายามมากยิ่งขึ้น จากการสัมภาษณ์ นายอาคม จันทร์นวล ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งใหญ่ ( 31 มีนาคม 2553 )
กล่าวได้ว่า ลักษณะผู้นำปริวรรตคำนึงถึงความก้าวหน้าของครู เป็นพี่เลี้ยงอย่างใกล้ชิดของครูและนักเรียน มีแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การนำวิสัยทัศน์ที่กำหนดร่วมกันมาทำให้เป็นผลงานที่เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช้การบริหารแบบ up down มีการมอบอาจในการตัดสินใจ การให้ทุกคนได้ร่วมกันแก้ปัญหา
ยุทธวิธีที่ผู้นำปริวรรตควรใช้ในการพัฒนาโรงเรียน
จากการสัมภาษณ์ นายสันติ ทะเดช ตำแหน่ง ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดกาโห่ใต้ (20 เมษายน 2553) ถึงยุทธวิธีที่ทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จ ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน โดยการสร้างชุมชนให้เกิดความรัก ศรัทธา ในตัวผู้นำ ผู้ตาม ดังนี้
1.             ไปตรวจเยี่ยมห้องเรียนทุก ๆ วัน ให้ความช่วยเหลือครู กระตุ้นให้ครูไปเยี่ยมชมการทำงานของ เพื่อนครูด้วยกันในโรงเรียน และเยี่ยมชมความก้าวหน้าทางวิชาการและด้านอื่น ๆ จากเพื่อนครูต่างโรงเรียน
2.             ผู้นำร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ความเชื่อของโรงเรียน ร่วมกับผู้ตาม กรรมการสถานศึกษา ฯ และผู้นำในชุมชน เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ก่อนที่เปิดภาคเรียน
3.             สร้างข้อตกลงร่วมกันเบื้องต้นในเรื่องต่าง ๆ ร่วมกัน ช่วยให้ครูทำงานอย่างชาญฉลาดเป็นมืออาชีพ
4.             มีทีมงานพัฒนาโรงเรียนเป็นคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการฝ่ายอื่น ๆ ส่งเสริมให้ครูจัดทำวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
5.             สำรวจความต้องการจำเป็นของผู้ร่วมงาน พร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มความสามารถ
6.             ให้ครูได้นำความคิดใหม่ ๆ มาทดลองใช้ในการทำงาน เพราะผู้นำเชื่อว่าครูทุก ๆ คน มีความสามารถ จึงเปิดโอกาสให้นำความคิดใหม่ ๆ มาใช้ในการทำงาน
7.             จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในโรงเรียนให้ครูได้ร่วมแสดงความสามารถกับผู้อื่นได้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้นำ และผู้ร่วมงาน พร้อมเชิญชวนผู้สนใจมาร่วมงานได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
8.             ให้ผู้ร่วมงานที่เข้ามาใหม่ได้รับทราบสิ่งที่โรงเรียนต้องการให้เขามีส่วนร่วมในการตัดสินใจงานของโรงเรียน ถ้าเขามีความมุ่งมั่นน้อยต้องพัฒนาให้เกิดความมุ่งมั่นตามจุดประสงค์ของโรงเรียน
9.             ให้ครูและนักเรียนมีความคาดหวังสูงในการทำงาน และบอกกับครูว่าให้ทำงานให้ดีที่สุดเท่าที่ความสามารถของแต่ละคนทำได้ เพราะผู้นำเชื่อมั่นในความสามารถของครูเสมอว่ามีศักยภาพมากมาย
10.      ใช้กลไกของทางราชการในการสนับสนุนครู และดูแลส่งเสริมให้ขวัญกำลังใจ เช่น การเพิ่มเงินเดือน ป้องกันครูจากปัญหาต่าง ๆ สร้างจิตสำนึกให้ครูรู้สึกว่าทุกคนต้องรับผิดชอบต่อนักเรียนทุกคนเป็นสิ่งแรก เพราะถ้าไม่มีนักเรียนย่อมไม่มีครูในวันนี้ นักเรียนคือลูกค้าชั้นดีของครู ไม่ใช่ดูแลเฉพาะตนเอง
(จากการสัมภาษณ์ นายอาคม จันทร์นวล ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งใหญ่ ( 31 มีนาคม 2553 )

โดยสรุป ผู้นำปริวรรตต้องมียุทธวิธี ผู้นำร่วมกันกำหนดเป้าหมาย สร้างข้อตกลงร่วมกัน ให้ครูนำความคิดใหม่ ๆมาใช้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ สร้างขวัญกำลังใจให้ครูและให้เขามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 

รูปแบบการปฏิบัติงานของภาวะผู้นำปริวรรต
จากการสัมภาษณ์ นายวิเชียร คงเทพ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบางน้อย ( 25 เมษายน 2553 )ถึงรูปแบบการปฏิบัติงานของภาวะผู้นำปริวรรต ที่ทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จ ตามเป้าหมายที่วางไว้ กล่าวว่า
1.             ผู้นำปริวรรต ต้องมีความสามารถที่จะเข้าใจช่องว่างที่เหมาะสมระหว่างองค์การกับสิ่งแวดล้อมและบริบทอื่น ๆ
2.             มีความสามารถที่จะทำให้เห็นภาพองค์กรในอนาคตได้อย่างเป็นรูปธรรม ไม่ใช่เพ้อฝัน
3.             มีความสามารถที่จะนำทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง และเลือกวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดเหมาะสมกับการเปลี่ยนตามสถานการณ์มาใช้กับบริบทของโรงเรียนตนเอง
4.             มีอำนาจ บารมี และอิทธิพลเพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของสมาชิกในองค์การได้
5.             มีความสามารถ อดทน อดกลั้น ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์การ
6.             มีความมั่นใจในตนเอง กล้าตัดสินใจ ไม่โลเล
7.             มีความสามารถที่จะกลับมาใช้วิธีการที่มีประโยชน์อื่น ๆ ที่เหมาะสมถ้าหากเป็นความต้องการของสิ่งแวดล้อม ไม่ยึดติดอยู่กับวิธีการหนึ่งวิธีการใดแต่เพียงอย่างเดียว
จากการสัมภาษณ์ นายอาคม จันทร์นวล ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งใหญ่ ( 31 มีนาคม 2553 ) ได้ให้แนวคิดว่า การที่ตนเองเป็นผู้บริหารและได้ใช้ภาวะผู้นำปริวรรตให้เกิดอย่างมีประสิทธิภาพจริง ๆ ย่อมต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
1.             ความพร้อมของผู้บริหาร
2.             วัฒนธรรมในการทำงานของครู อาจารย์ ในองค์การ
3.             การพัฒนางานในหน้าที่ของตนเองของครู
4.             ความมุ่งมั่นและความสามารถของครู
5.             การพัฒนางานในหน้าที่ของตนเองของครู
6.             ความสามารถในการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการกลุ่ม
7.             ระดับการตัดสินใจในโรงเรียน จากปัจจัยทั้ง 7 ข้อ ทำให้มีคำถามดังต่อไปนี้ตามมา
ความพร้อมของผู้บริหาร

ผู้บริหารมีความพร้อมในเรื่องใดบ้าง ความพร้อมของผู้บริหารแม้จะเป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ ปัจจัย ที่จะทำให้การใช้ภาวะผู้นำปริวรรตของผู้บริหารประสบผลสำเร็จ แต่ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดและต้องการปัจจัยอื่น ๆ สนับสนุนด้วย ความพร้อมที่ผู้บริหารควรจะมี คือ
1.             ต้องมีความเชื่อมั่น มั่นใจในความรู้ ความสามารถของคณะครู และเชื่อว่าการตัดสินใจโดยคณะครูดีกว่าการตัดสินใจของผู้บริหารคนเดียว
2.             ต้องลดบทบาทการเป็นผู้นำของตนเองในลักษณะการเป็นผู้ริเริ่มให้มีน้อยที่สุด และให้ครูมีบทบาทในส่วนนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับ
3.             มีความเชื่อมั่นว่า การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาที่มั่นคงแน่นอน ต้องเริ่มมาจากคณะครู ซึ่งมีเห็นความสำคัญและตระหนักในคุณค่า
4.             มีความอดทนต่อกระบวนการในการพัฒนาบุคลากรให้มีภาวะผู้นำที่เหมาะสม เพราะแม้จะเห็นผลช้าแต่ผลประโยชน์ของการศึกษา จะคุ้มค่าต่อความพยายาม และเกิดความยั่งยืนเป็นวัฒนธรรมองค์การ ติดตัวครูสืบไป
5.             มีความจริงใจและแสดงเจตนารมณ์อย่างชัดแจ้ง ให้คณะครูมีความเชื่อมั่นในการปรับบทบาทของตนเองพัฒนาตนเองด้วยความมั่นใจ เพราะผู้บริหารคอยส่งเสริมและให้กำลังอยู่ตลอดเวลา
ความสามารถในการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการกลุ่ม

วิธีการที่ผู้บริหารจะช่วยทำให้การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการกลุ่มของคณะกลุ่มของคณะครูมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมี ดังนี้
1.             ในการแก้ปัญหาเรื่องใด ๆ ก็ตามผู้บริหารควรมีบทบาท ดังต่อไปนี้
2.             เปิดโอกาสให้ครูได้แสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง พยายามกระตุ้นให้แสดงออก ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ให้มองต่างมุมมาก ๆ และทำความกระจ่างในแนวคิดข้อเสนอดังกล่าวได้
3.             คอยช่วยให้กลุ่มอภิปรายทางเลือกหรือถ้าใช้ข้อสรุปต้องเข้าใจว่า ได้มีการอภิปรายอย่างทั่วถึง และหลีกเลี่ยงการรวบรัดหรือสรุปความ
4.             ไม่เสนอความคิดเห็นตนเองก่อน และยินดีที่จะเปลี่ยนแนวความคิดเมื่อมีการอภิปรายกันอย่างชัดแจ้งแล้ว ผู้บริหารต้องสงบ เชื่อมั่นไม่หวั่นไหว เมื่อแนวคิดของตนไม่ได้รับการยอมรับ
5.             คุมเกมการอภิปรายไม่ให้มีการยอมตามเกิดขึ้น เมื่อมีกรณีต้องตัดสินใจ
6.             แก้ไขปัญหาขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นให้คลี่คลายก่อนที่จะรุนแรงในการทำลายและผิดใจกัน ด้วยการวางหลักการอภิปรายที่ใช้ข้อมูล ให้หลีกเลี่ยงและใช้ความรู้สึกในการอภิปราย
ผู้บริหารพยายามเสนอประเด็นปัญหาให้ครูได้อภิปรายในระดับที่นอกเหนือจากงานในหน้าที่ มากขึ้น และให้ประเด็นปัญหายากขึ้นเรื่อย ๆ จากการสัมภาษณ์ นายปัญญา พงศ์เพ็ชร์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดรักขิตวัน ( 10 เมษายน 2553 ) ตัวอย่าง เช่น
1.             มีนักเรียนคนใดบ้างที่ครูทุกคนต้องร่วมมือกันช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ
2.             ครูเราจะเปลี่ยนแปลงปรับปรุงอะไรบ้าง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของ นักเรียน
3.             เราจะแก้ปัญหานักเรียนออกกลางคันได้อย่างไร
4.             เราจะสามารถทำให้ไม่มีนักเรียน ไม่มีสิทธิ์สอบได้อย่างไร ในการหาคำตอบครูและผู้บริหารจะต้องตั้งเป้าหมายร่วมกัน คิดโครงการเพื่อพัฒนาบุคลากรและโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการสอนร่วมกัน ผู้บริหารจะต้องพยายามทำให้ครูทำงานกับนักเรียนเหมือนกับนักเรียนทุกคนเป็นลูกศิษย์ของตนเอง ต้องให้ครูช่วยกันวางแนวปฏิบัติ ทำให้ครูทุกคนรู้สึกว่านักเรียนทุกคนคือนักเรียนของเรา
ระดับการตัดสินใจในโรงเรียน

ผู้บริหารจะเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจได้อย่างไร ผู้บริหารจะต้องมีบทบาท ดังนี้
1.             ให้ครูได้ร่วมกันพิจารณางานของโรงเรียน กำหนดงานและขอบเขตการตัดสินใจให้ชัดเจน ทั้งนี้ต้องไม่ขัดแย้งกับระเบียบปฏิบัติของทางราชการ
2.             ให้การยอมรับการตัดสินใจของคณะครู
3.             สนับสนุนให้มีการปรับปรุงแนวทางในการตัดสินใจเร็วขึ้น
4.             สนับสนุนให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่คณะครู เพื่อประกอบในการตัดสินใจในทุกๆ เรื่อง
ลักษณะผู้นำปริวรรต

ผู้นำปริวรรตมีลักษณะ มีบทบาทเป็นผู้ริเริ่ม ผู้ตัดสินใจ และผู้สั่งการน้อยที่สุด แต่จะมีบทบาทมาก ในฐานะเป็นผู้รับรู้ ผู้ ประสานงาน ผู้สนับสนุนและผู้อำนวยความสะดวก เพื่อให้สมาชิกในหน่วยงานมีโอกาสใช้ความสามารถของตนอย่างเต็มที่ในการริ เริ่มงาน ตัดสินใจแก้ปัญหาต่าง ๆ และพัฒนางานในหน้าที่ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผู้บริหารแบบนี้จะมีลักษณะผู้นำของผู้นำ(Leader of Leader) มากกว่าจะเป็นผู้นำแบบมีผู้ตาม

จากการสัมภาษณ์ นายบุญธรรม เอียดแก้ว ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดเขาลำปะ (10 เมษายน 2553 ) ฉะนั้น ลักษณะผู้นำแบบปริวรรต มีบทบาทเป็นผู้ชักนำให้สมาชิกในองค์กรเพิ่มภาระการเป็นผู้นำ เพื่อพัฒนางานในขอบเขตหน้าที่การงานของตนให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรอย่างมี ประสิทธิภาพ

การใช้ อำนาจของผู้นำปริวรรต 
การใช้อำนาจ ของผู้นำปริวรรต มีลักษณะการใช้อำนาจดังนี้
1.             ผู้นำปริวรรตมีอำนาจในการตัดสินใจในการปฏิบัติการ แต่ใช้วิธีการสนับสนุนให้สมาชิก หรือผู้ใต้บังคับบัญชามีอำนาจในการตัดสินใจ แก้ปัญหา หรือพัฒนางานในระดับต่าง ๆ อย่างเต็มความสามารถ
2.             เน้นการให้อำนาจแก่สมาชิกในการตัดสินใจและดำเนินการในขอบเขต ภารกิจของตน เพื่อ พัฒนางานในหน้าที่ให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ
3.             เน้นการทำงานแบบฉันเพื่อน มีความไว้วางใจกัน ยึดหลักประชาธิปไตย
การนำรูปแบบผู้นำแบบปริวรรตมาใช้ใน ประเทศไทย ในภาวะการปัจจุบันถือว่ามีความเหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะมีความสอดคล้องกับการกระจายอำนาจในการบริหารงาน เป็นการกระจายอำนาจให้กับผู้ร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับ บัญชา ได้ใช้ความสามารถในการบริหารงานอย่างเต็มศักยภาพ ให้อิสระแก่ผู้ร่วมงานได้แสดงความคิดเห็น ได้มีส่วนร่วมในการวางแผน ในการตัดสินใจดำเนินงานในหน้าที่ของตน เพราะการที่ให้ผู้ร่วมงานได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ จะนำมาซึ่งความก้าวหน้าของหน่วยงาน และประการสำคัญเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้พัฒนาภาวะผู้ นำให้เกิดขึ้นกับผู้ร่วมงานมากที่สุด

แบบผู้นำปริวรรต ควรนำมาปรับใช้ในการบริหารองค์การหน่วยงานและสถานศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เป็นการกระจายอำนาจในการบริหารงาน เปิดโอกาสให้สมาชิกได้แสดงความคิดเห็น ได้มีส่วนร่วมมีส่วนตัดสินใจในการวางแผนและการปฏิบัติงาน ส่งผลให้การปฏิบัติงานเกิดศักยภาพสูงสุด และเป็นการส่งเสริม

พัฒนาภาวะผู้นำให้เกิดขึ้นโดยเฉพาะสถานศึกษาเป็นการเพิ่มภาวะผู้นำทางวิชาการของ ครูในสถานศึกษา ส่งผลโดยตรงถึงการพัฒนาคุณภาพของนักเรียน อันเป็นเป้าหมายในการพัฒนาเยาวชนของชาติจากการสัมภาษณ์ นายอาคม จันทร์นวล ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งใหญ่ ( 31 มีนาคม 2553 )

การปฏิรูปการศึกษาจะดำเนินไปด้วยดี ถ้าหากว่าการดำเนินการปฏิรูปในระดับสถานศึกษาเป็นไปอย่างเป็นรูปธรรม และเกิดผลอย่างต่อเนื่องผู้บริหารจึงจำเป็นต้องพัฒนาตนเองให้มีภาวะผู้นำที่เหมาะกับการเปลี่ยนแปลงเพราะการปฏิรูปการศึกษาจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง ภาวะผู้นำปริวรรตเป็นแบบผู้นำที่สร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่และทำให้เกิดการจูงใจอย่างมากในตัวผู้นำ เป็นความสามารถของผู้บริหารที่จะสามารถทำให้สมาชิกในองค์การเพิ่มภาวะผู้นำเพื่อพัฒนางานในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ภาวะผู้นำปริวรรตเป็นภาวะผู้นำที่ผู้นำหลายองค์การนำมาใช้แล้วประสบความสำเร็จในการบริหารให้เกิดการ

เปลี่ยนแปลง ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้บุคลากรได้ใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ในการริเริ่มงาน ตัดสินใจแก้ปัญหาต่าง ๆ และพัฒนางานในหน้าที่โดยมีประโยชน์คือเป้าหมายขององค์การแต่ในส่วนของโรงเรียน ตัวผู้เรียนเป็นเป้าหมายที่ทุกคนในโรงเรียนต้องนำมาเป็นตัวตั้งในการกำหนดเป้าหมายต่าง ๆ และเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้โรงเรียนมีเป้าหมายร่วมกันชัดเจน โดยที่เป้าหมายนั้นเกิดจากความคิดเห็นของบุคลากรทุกฝ่ายนำไปสู่การปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถด้วยความพึงพอใจ มีความสุขกับหมู่คณะและอาชีพของตน ดังนั้นในทางการศึกษา จึงน่าจะนำภาวะผู้นำปริวรรตมาใช้อย่างจริงจังมากยิ่งขึ้น และผู้บริหารควรพัฒนาตนเองให้มีระดับภาวะผู้นำที่สูงขึ้น เพื่อความสำเร็จขององค์การโดยเฉพาะโรงเรียนในการปฏิรูปสถานศึกษา ซึ่งส่งผลต่อการปฏิรูปการศึกษาของทุกสถานศึกษาตลอดจนการปฏิรูปการศึกษาของชาติต่อไป 
การบริหารและการจัดการโรงเรียนมัธยมศึกษา
การบริหารและการจัดการโรงเรียนมัธยมศึกษา 
             โรงเรียนเป็นหน่วยงานที่ประกอบด้วยอาคารสถานที่และบุคลากรหลายฝ่าย มีภาระน่าที่ที่สำคัญในการผลิตกำลังคนให้มีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร ดังนั้นการบริหารและการจัดการโรงเรียนมัธยมศึกษาจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะจัดระบบการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะสามารถสร้างคนให้มีคุณภาพได้ เพื่อไปพัฒนาประเทศชาติ 
            ก่อนที่เราจะมาเรียนรู้หลักการของ การบริหารและการจัดการโรงเรียนมัธยมศึกษานั้นเราต้องรู้จุดมุ่งหมายของโรงเรียนก่อนว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งโรงเรียนมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญดังนี้ 

 จุดมุ่งหมายของโรงเรียน 

            เมื่อรู้จุดมุ่งหมายแล้วก็คงจะเรียนรู้หลักการบริหารและการจัดการโรงเรียนมัธยมได้เข้าใจง่ายขึ้นเพราะการที่เราจะจัดการและบริหารได้นั้นก็ต้องมีจุดมุ่งหมายก่อนเสมอจึงจะทำได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ และที่สำคัญโรงเรียนนั้นจะขาดบุคลากรในการดำเนินงานและกิจกรรมต่าง ๆ เสียมิได้ ซึ่งในโรงเรียนจะประกอบไปด้วยบุคลากรฝ่ายต่าง ๆ ดังนี้ 

บุคลากรในโรงเรียนมัธยมศึกษา 
โรงเรียนเป็นสถานที่พัฒนาเยาวชน ผู้เข้ามาสู่ในระบบโรงเรียนย่อมได้รับการพัฒนา 4 ประการคือ ความรู้ สังคม อารมณ์ และทางร่างกาย บุคคลที่ได้รับการพัฒนาดีแล้วย่อมเป็นคนดี มีความสามาถในด้านต่าง ๆ จะทำการสิ่งใดก็จะทำได้ดี มีคุณภาพ และมีคุณธรรม เมื่อคนในชาติดีประเทศก็เกิดการพัฒนา โรงดรียนจึงเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญ ครู-อาจารย์ที่อยู๋ในโรงเรียนจึงต้องจัดดำเนินการให้บรรลุจุดมุ่งหมายเพื่อเกิดประโยชน์แก่นักเรียนอย่างแท้จริง ดังนั้นเราจึงจำเป็นที่จะเรียนรู้หลักการจัดการและการบริหารโรงเรียน ซึ่งความหมายของคำสองคำนี้คือ 

      การจัดการ หมายถึง การจัดระบบ จัดหมวดหมู่งาน จัดวิธีทำงาน ขั้นตอนของการทำงาน งานในโรงเรียนมัธยมได้จัดหมวดหมู่งานไว้ 4 ประการ คือ งานด้านวิชาการ, งานด้านบริหาร, งานด้านบริการ, งานด้านธุรการ 
      การบริหาร หมายถึง การจัดการให้โรงเรียนดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ทั้งนี้ต้องอาศัยคน งบประมาณ การจัดการ และเครื่องมืออุปกรณ์มาสนับสนุนการบริหาร 

            ต่อไปก็จะได้อธิบายถึงรายละเอียดของงานในด้านต่าง ๆที่จัดขึ้นภายในโรงเรียนมัธยม เริ่มต้นศึกษาที่ งานด้านวิชาการ งานธุรการ งานปกครอง และงานบริการ 


งานด้านต่าง ๆในโรงเรียน 
โรงเรียนเป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ มีภาระกิจมากมาย มีภาระกิจประจำหลายประการ บางครั้งมีภาระกิจเฉพาะเข้ามาเป็นครั้งคราว ซึ่งเกิดจากความคิดริเริ่มหรือความจำเป็นให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันหรือผู้บริหารระดับสูงสั่งการให้ปฏิบัติ การปฏิบัติภาระกิจทุกอย่างให้เกิดประสิทธิผลต้องใช้หลักการบริหารเข้ามาช่วยจัดการจึงจะทำให้เกิดประสิทธิผลของงาน ฉะนั้นการบริหารเรื่องใด ๆนั้นต้องใช้หลักการบริหาร





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น